การปรับวงเครื่องสายไทย กรณีศึกษารองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับวงเครื่องสายไทย กรณีศึกษารองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ จากเพลงถอนสมอ เถา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพของศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช ผลการวิจัย พบว่า 1) ลีลาของสำนวนกลอนยังคงไว้ซึ่งตามต้นแบบอย่างครูเฉลิม ม่วงแพรศรี (ศิลปินแห่งชาติ) และมีการปรับปรุงสำนวนกลอนไปตามบริบท 2) กลวิธีการปรับวงเป็นไปตามแนวทางอย่างครูประสิทธิ์ ถาวร (ศิลปินแห่งชาติ) โดยบรรเลงด้วยแนวบรรเลงเรียวเป็นหางหนู การรับร้องใช้เม็ดพรายลดแนวเสียง และส่งร้องใช้กลวิธีการทอดลงและบูรณาการกับเม็ดพรายบัวไว้ใย และการเตรียมความพร้อมเพรียงในการบรรเลง กล่าวคือ การจัดระเบียบร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมในการวางตำแหน่งมือให้เกิดความพร้อมเพรียงและเป็นระเบียบสวยงาม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ขำคม พรประสิทธิ์. (2556). การผูกสำนวนกลอนของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายไทย. ใน สูจิบัตรงานส่งเสริมดนตรีไทยภาคใต้ ครั้งที่ 16. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2522). นาฏศิลป์และดนตรีไทย. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].
ธรณัส หินอ่อน. (2561). เดี่ยวซอด้วง. ขอนแก่น: คลังนานา.
บุญช่วย โสวัตร, และคนอื่น ๆ. (2539). การปรับวงดนตรีไทยขั้นสูง. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
บุญช่วย โสวัตร. (2524). การปรับวง (วิทยานิพนธ์ศิลปะ). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร.
บุษกร สำโรงทอง. (2539). การดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีดำเนินทำนองประเภทเครื่องตี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชากร ศรีสาคร. (2560). การร้อยเรียงสอดทำนองซออู้. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 7(1), 1-20.
ประชากร ศรีสาคร. (2564). ทำนองซออู้. กรุงเทพฯ: สายส่งดวงแก้ว.
พิชิต ชัยเสรี. (2557). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ชัยเสรี. (2559). สังคีตลักษณ์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ชัยเสรี. สัมภาษณ์. 12 กรกฎาคม 2564.
ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์. (2561). ดนตรีศึกษา: ว่าด้วยการปรับวงดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์. สัมภาษณ์. 4 มกราคม 2565.
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.