สัตว์เดรัจฉานในปัญญาสชาดก: บทบาทและความสำคัญต่อการสื่อสารแนวคิดทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

สายหยุด บัวทุม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของสัตว์เดรัจฉานที่ปรากฏในปัญญาสชาดก และ 2) ศึกษาความสำคัญของตัวละครสัตว์เดรัจฉานต่อการสื่อสารแนวคิดทางพระพุทธศาสนาจากปัญญาสชาดก ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องตัวละครขององค์ประกอบเรื่องเล่า และกรอบแนวคิดทางพระพุทธศาสนาในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของตัวละครสัตว์เดรัจฉานจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ บทบาทด้านบวกและบทบาทด้านลบ บทบาทด้านบวก ได้แก่ ตัวละครสัตว์เดรัจฉานมีลักษณะเป็นผู้มีคุณธรรม ส่วนบทบาทด้านลบ ได้แก่ ตัวละครสัตว์เดรัจฉานมีสถานะที่ต่ำต้อยกว่ามนุษย์ เป็นผู้ไม่มีเหตุผล ไม่มีปัญญาแยกผิดชอบชั่วดีได้ ขาดคุณธรรม เห็นแก่ตัว และการกล่าวโทษผู้อื่น บทบาทของสัตว์เดรัจฉานในปัญญาสชาดกดังกล่าวได้สื่อสารแนวคิดทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา อุดมการณ์พระโพธิสัตว์ แนวคิดเรื่องกรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และความเป็นจริงของมนุษย์และโลก ปัญญาสชาดกจึงเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกลวิธีการแต่งที่มุ่งนำเสนอตัวละครสัตว์เดรัจฉานในการดำเนินเรื่องอย่างโดดเด่นและตัวละครเดรัจฉานเป็นองค์ประกอบที่ยังคงเน้นย้ำแนวคิดสำคัญของพระพุทธศาสนาดังเช่นนิบาตชาดกในพระไตรปิฎก

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2549). ปัญญาสชาดก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

กรมศิลปากร. (2549). ปัญญาสชาดก ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

ขุนวิจิตรมาตรา. (2541). สำนวนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สังคมส่งเสริมทางเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

ณัฐา ค้ำชู. (2561). มโนทัศน์เรื่องพระโพธิสัตว์ในปัญญาสชาดก (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดินาร์ บุญธรรม. (2555). พระมหากษัตริย์ไทยกับพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นิยะดา เหล่าสุนทร. (2558). ปัญญาสชาดก: ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย. กรุงเทพฯ: ลายคำ.

ประทุม อังกูรโรหิต. (ม.ป.ป.). รายงานวิจัยพระมหาประณิธานของพระโพธิสัตว์กับปัญหาเสรีภาพของมนุษย์ในบทนิพนธ์ของฌินรัน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา นันตาภิวัฒน์. (2546). ศัพทานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด.

พญาลิไทย. (2551). ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: องค์การค้า สกสค.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).

พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2554). กฎแห่งกรรม. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

พัชรินทร์ บูรณะกร. (2551). ความโศกในปัญญาสชาดก: อารมณ์สะเทือนใจกับการสอนคติธรรมทางพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชนี ซอโสตถิกุล. (2549). สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยของไทยที่นำสัตว์มาเปรียบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2554: เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ศิราณี แพทอง, สนิท สัตโยภาส, และ ยุพิน อินทะยะ. (2557). คุณธรรมในปัญญาสชาดกฉบับล้านนา. พิฆเนศวร์สาร, 10(2), 51-65.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554, 12 มกราคม). ตาย (2). สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จาก http://legacy.orst.go.th

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554, 20 กันยายน). ม้าอารี. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จาก http://legacy.orst.go.th

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2556, 11 กันยายน). หงส์. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564, จาก http://legacy.orst.go.th

อิราวดี ไตลังคะ. (2546). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอื้อนทิพย์ พีระเสถียร. (2529). การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเรื่องและอนุภาคในปัญญาสชาดก (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.