บทเพลงหลายเวอร์ชัน: กรณีศึกษา “รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา” เพลงประกอบละครชุดสุภาพบุรุษจุฑาเทพ

Main Article Content

ธรรศ อัมโร

บทคัดย่อ

การดัดแปลงหรือทำให้เกิดความหลากหลายทางดนตรีจากแนวคิดเดิม อาจไม่จำเป็นต้องถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ของการคัดลอกผลงานหรือทำซ้ำเสมอไป ในทางตรงข้ามอาจใช้เป็นเครื่องชี้วัดความสำเร็จของการสร้างชิ้นงานนวัตกรรมทางดนตรีในแง่สุนทรียศาสตร์ และส่งเสริมความได้เปรียบเชิงธุรกิจ บทความฉบับนี้ผู้วิจัยได้หยิบยกบทเพลงหลายเวอร์ชันประกอบละครชุดสุภาพบุรุษจุฑาเทพ “รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา” เพื่อศึกษาถึงปรากฏการณ์ทางดนตรีที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมเพลงป็อป ผู้วิจัยวิเคราะห์และนำเสนอกระบวนความคิดที่สะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ของการเรียบเรียงดนตรีหลายมิติ ผ่านองค์ประกอบดนตรี ลักษณะที่โดดเด่น และการศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของเพลง 5 เวอร์ชัน เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงของกระบวนการแปรรูปผลงานทางดนตรี สามารถอธิบายมุมมองใหม่ของกระบวนการหยิบยืมทางดนตรีที่อยู่นอกขอบข่ายวรรณกรรมดนตรีคลาสสิก และถึงแม้ว่าบทเพลงรักแท้อยู่เหนือกาลเวลาแต่ละเวอร์ชันมีความหลากหลายเชิงพื้นที่ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานรวมทั้งอรรถรสของเสียง แต่กระนั้นยังคงมีเป้าหมายหนึ่งเดียวกันในการดึงความสนใจกลุ่มผู้ฟังได้อย่างลงตัว

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

แข เมตติชวลิต. (2562). ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : “นาก” ไทยเมโลดราม่า. วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 37-50.

พงศ์พูน พิบูลย์เกษตรกิจ, และวีรชาติ เปรมานนท์. (2562). ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล. วารสารศิลป์ปริทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7(1), 12-22.

รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา. (2563, 15 เมษายน). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รักแท้อยู่เหนือกาลเวลา

สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์). (2564‎, 29 เมษายน). ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สุภาพบุรุษจุฑาเทพ_(ละครโทรทัศน์)

Bicknell, J. (2003). The Problem of Reference in Musical Quotation: A Phenomenological Approach. The Journal of Aesthetics and Art Criticism, 59(2), 185-191.

Brown, E. D. (1994). The Guitar and the "mbira": Resilience, Assimilation, and Pan-Africanism in Zimbabwean Music. The World of Music, 36(2), 73-117.

Burt, K. (2020). Mulan’s 2020 Soundtrack & The Many Versions of Christina Aguilera’s Reflection. Retrieved 5 May 2021, from https://www.denofgeek.com/movies/mulan-soundtrack-2020-christina-aguilera-reflection/

Green, J. (2010). Understanding the Score: Film Music Communicating to and Influencing the Audience. The Journal of Aesthetic Education, 44(4), 81-94.

Grey, T. (2000). Text, action, and music. In Richard Wagner, Der fliegende Hollander (pp. 36-64). Cambridge: Cambridge University Press.

Hoyt, C. (2018). The Work of the Bee Musical Borrowings & Trinitarian Echoes. Touchstone: A Journal of Mere Christianity, 31(2), 46-49.

Paulus, I. (2000). Williams versus Wagner or an Attempt at Linking Musical Epics. International Review of the Aesthetics and Sociology of Music, 31(2), 153-184.

Plasketes, G. (1992). Like A Version: Cover Songs and the Tribute Trend in Popular Music. Studies in Popular Culture, 15(1), 1-18.

Siôn, P. a., & Redhead, L. (2014). Musical Borrowing and Quotation in the Twentieth and Twenty-First Centuries. Contemporary Music Review, 33(2), 125-127.

Siu-Lan, T., Peter, P., & Rom, H. (2018). Psychology of Music: From Sound to Significance (2nd ed.). Abingdon, Oxon: Routledge.

Vaishnav, A. M. (2013). Multiple Version Songs (3): Both versions by male playback singers – Different Moods. Retrieved 5 May 2021, from https://www.songsofyore.com/multiple-version-songs-3-both-versions-by-male-playback-singers-different-moods/