พหุความเป็นชายและความเป็นชายอำนาจนำในนวนิยายเรื่องชายแพศยา ของ ว.วินิจฉัยกุล
Main Article Content
บทคัดย่อ
นวนิยายเรื่อง “ชายแพศยา” ของ ว.วินิจฉัยกุล นำเสนอให้เห็นถึงพหุความเป็นชายระหว่างความเป็นชายแพศยาและความเป็นชายแบบสุภาพบุรุษ บทความนี้มุ่งศึกษาถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในพหุความเป็นชายผ่านกรอบคิดความเป็นชายอำนาจนำด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายได้ประกอบสร้างให้สุภาพบุรุษเป็นรูปแบบความเป็นชายอำนาจนำซึ่งยึดโยงอยู่กับการซื่อสัตย์ ให้เกียรติผู้หญิง และมีความสามารถในทางเศรษฐกิจ ส่วนชายแพศยาถูกประกอบสร้างในลักษณะตรงกันข้ามที่ด้อยกว่าและพยายามที่จะกระทำตนให้เข้าใกล้กับความเป็นชายแบบสุภาพบุรุษที่สุด โดยที่ความเป็นชายทั้งสองแบบปฏิบัติการอำนาจความเป็นชายผ่านตัวละครหญิง นวนิยายเรื่องนี้จึงนำเสนอความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศสถานะใน 2 มิติ ได้แก่ ความสัมพันธ์เชิงอำนาจภายในความเป็นชาย และความสัมพันธ์ที่ความเป็นชายมีเหนือกว่าความป็นหญิง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ไทวิกา อิงสันเทียะ. (2555). บริโภคนิยมและวิกฤตความเป็นชายในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 2 ว่าด้วยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ: อ่าน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2560). ชายแพศยา นวนิยายที่ลบมายาคติของวาทกรรมประณามผู้หญิง. ออลแม็กกาซีน, 11(11), 46-47.
ว.วินิจฉัยกุล. (2560). ชายแพศยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.
สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ. (2551). “สุภาพบุรุษ” ในพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับวรรณกรรมศรีบูรพา (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2559). ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธเนศ เวศร์ภาดา. (2560, 20 มีนาคม). นาง แพศยา และโสเภณี: การแปรของภาษาทางสังคมที่ขอบเขตชายกับหญิงเลือนลาง. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/notes/375016320345840/
Connell, R. W. (1987). Gender and power. Sydney: Allen & Unwin.
Connell, R. W. & Messerschmidt, J. M. (2005). Hegemonic masculinity: Rethinking the concept. Gender & Society, 19(6), 829-859.