เมืองหาง: สถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามคำให้การของคนไทยใหญ่

Main Article Content

จุฑารัตน์ เกตุปาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความจริงเกี่ยวกับเรื่องสถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามคำให้การของคนไทยใหญ่ ผู้วิจัยมุ่งตอบคำถามว่าพระเจดีย์สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เมืองหางจะมีจริงหรือไม่และความสัมพันธ์ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับเจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าแสนหวีจะมีข้อเท็จจริงเพียงใด พื้นที่แหล่งข้อมูลประกอบด้วยคนไทยใหญ่ที่อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง และคนไทยใหญ่เมืองแสนหวีที่มาทำงาน ณ กรุงเทพฯ โดยวิธีสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีแนวคิดตามทฤษฎีคนไทยอยู่ทางตอนใต้ของจีน สรุปผลการวิจัย คือ เมืองแหน คือ เมืองหาง ไม่ใช่เวียงแหง ความจริงก็คือ สถานที่สวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตามคำให้การของคนไทยใหญ่อยู่ที่เมืองหางซึ่งตรงกับประวัติศาสตร์ไทย พม่าและไทยใหญ่ เจ้าคำก่ายน้อย เจ้าฟ้าแสนหวีทรงเป็นพระสหายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ความสัมพันธ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับคนไทยใหญ่ได้สืบทอดกันมายาวนานจนถึงปัจจุบันนี้

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

จุฑารัตน์ เกตุปาน, และ สิทธิโชค เชาวกุล. (2542). การศึกษาวิเคราะห์ร่องรอยภาษาสมัยสุโขทัยจากคำโบราณในจารึกสมัยกรุงสุโขทัยที่ไม่ปรากฎในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (รายงานการวิจัย). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยยง ไชยศรี. (2546). ข้อมูลใหม่พื้นที่สวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. เชียงใหม่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

นราธิปประพันธ์พงศ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. (2561). พงศาวดารไทใหญ่. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

นายต่อ. (ผู้แปล). (2562). มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้.

นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว. (2563). แผนที่รัฐฉาหน้า [รูปภาพ]. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/NipatpornP/photos/แผนที่รัฐฉาน/2059397964205684/?_rdr

ประพต เศรษฐกานนท์. (2559). พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา: ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ, คำให้การชาวกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ปราณี ศิริธร. (2528). สารัตถคดีเหนือแคว้นแดนสยาม. เชียงใหม่: ลานนาสาร.

พระโง่น โสรโย. (2546). ย้อนรอยกรรมตำนานพระสุพรรณกัลยา. พิจิตร: วัดพระพุทธบาทเขารวก.

รหัส H1. แหล่งข้อมูลที่ 1. สัมภาษณ์. 24 พฤศจิกายน 2563.

รหัส H1-6 H8-10. แหล่งข้อมูลที่ 1. สัมภาษณ์. 24-26 พฤศจิกายน 2563.

รหัส H2. แหล่งข้อมูลที่ 1. สัมภาษณ์. 24 พฤศจิกายน 2563.

รหัส H3. แหล่งข้อมูลที่ 1. สัมภาษณ์. 25 พฤศจิกายน 2563.

รหัส H7. แหล่งข้อมูลที่ 1. สัมภาษณ์. 26 พฤศจิกายน 2563.

รหัส H9. แหล่งข้อมูลที่ 1. สัมภาษณ์. 26 พฤศจิกายน 2563.

รหัส S1. แหล่งข้อมูลที่ 2. สัมภาษณ์. 9 ธันวาคม 2563.

รหัส S6. แหล่งข้อมูลที่ 2. สัมภาษณ์. 9 ธันวาคม 2563.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531). ภาษาถิ่นตระกูลไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. (2549) งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

อนุสรณ์สถานสถูปจุดสวรรคตกษัตริย์ไทยในเมืองหางถูกทำลาย คนไตศรัทธาพระนเรศวรสร้างพลังปกป้อง [รูปภาพ]. (2561, 23 ธันวาคม). มติชนออนไลน์. สืบค้น 25 มีนาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1285058

Hsen, K. (2009). King Naresuan and Shan Saophas Connection. In International Conference on Shan Studies. Bangkok: Chulalongkorn University. Retrieved on November, 26, 2021, from https://www.burmalibrary.org/en/king-naresuan-and-shan-saophas-connection