กระบวนการเรียนการสอนแฮกึมในวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล สาธารณรัฐเกาหลี

Main Article Content

ณัฐพงษ์ ประทุมชัน
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นการศึกษากระบวนการเรียนการสอนแฮกึมในวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยมี 2 วัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการเรียนการสอนแฮกึมในวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล  และ 2. ศึกษากระบวนการเรียนการสอนแฮกึมในวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ผลจากการศึกษาพบว่าองค์ประกอบการเรียนการสอนแฮกึม ผู้บริหารและอาจารย์ทั้งหมดในวิทยาลัยดนตรีมีคุณวุฒิในระดับปริญญาเอกและมีความรู้ความสามารถทางดนตรีรวมถึงผลงานทางด้านดนตรีที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป  และนักศึกษาวิชาเอกแฮกึมได้รับการทดสอบทักษะและทฤษฎีทั้งก่อนเข้าศึกษาต่อและเพื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีรวมถึงการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ตามกระบวนการเรียนการสอนดนตรีทั้งทางด้านทฤษฎีและทักษะการบรรเลงอย่างเป็นระบบจากคณาจารย์และมีระบบโครงสร้างหลักสูตรในการช่วยพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้ของผู้เรียนให้สามารถไปสู่จุดมุ่งหมาย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

ณัฐพงษ์ ประทุมชัน

นายณัฐพงษ์ ประทุมชัน

นักศึกษาปริญญาเอก (ดุริยางคศิลป์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

E-Mail: [email protected]

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี

รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี

Ph.D. Musicology Banaras Hindu University, India

อาจารย์ประจำสาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

E-Mail: [email protected]

References

จิราพร วัฒนวิทย์. (2543). การสอนภาษาไทยแบบยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. วารสารวิชาการ, 3(5), 40-46.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). องค์ประกอบของการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2559 จาก https://www.gotoknow.org/posts/502729.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2555). ดนตรีเกาหลี. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณรงค์ กาญจนะ. (2553). เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพงษ์ ประทุมชัน. (2562). แฮกึม : เครื่องสายในวัฒนธรรมดนตรีเกาหลี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 15(1), 77- 96.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2545). กระบวนการเรียนรู้ การเชื่อมโยง และรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้ปัญหา และการถ่ายโยงการเรียนรู้. วารสารวิทยบริการ, 13(1), 1-12.

วราลี ถนอมชาติ และหฤทัย อนุสสรราชกิจ. (2557). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักศึกษาวิชาชีพครูในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน. จันทบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วรินทร บุญยิ่ง. (2556). การวิเคราะห์จุดเน้นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของสาธารณรัฐเกาหลี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 97-107.

เศรษฐพันธ์ กระจ่างวงษ์. (2549). เกาหลีฟีเวอร์: การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่านสื่อ. ใน นฤมิต หิญชีระนันทน์. บรรณาธิการ. วิทยุสราญรมย์. (หน้า 25-30). กรุงเทพฯ: กองบรรณาธิการหนังสือวิทยุสราญรมย์ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.

Jeonghyun Joo, นักศึกษา วิชาเอกแฮกึม สาขาดนตรีเกาหลี วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล

(4 ตุลาคม 2559). สัมภาษณ์

Kayla, H.S. (1995). The Haegeum: The Vanishing violin of Korea. D.M.A. Thesis, University of Miami.

Kyungsook Young, อาจารย์ประจำ วิชาเอกแฮกึม สาขาดนตรีเกาหลี วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (6 ตุลาคม 2559). สัมภาษณ์.

Moon, J.S. (2009). Learning and Loving Korean Music. Korean: Min Sok Won Publishing.