พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร: ความสำคัญต่อการขับเคลื่อนแนวพระราชดำริและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

Main Article Content

คณิตา หอมทรัพย์

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่มีต่อการขับเคลื่อนแนวพระราชดำริและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ (พ.ศ. 2560-2579) ผู้วิจัยใช้แนวคิดวรรณกรรมกับสังคม แนวคิดสหบท แนวพระราชดำริการพัฒนาประเทศในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในการศึกษาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนแนวพระราชดำริ ได้แก่ 1) การเสนอแนวพระราชดำริที่สำคัญในการพัฒนาคนและสังคมไทย  2) การอธิบายแนวพระราชดำริให้คนทั่วไปเข้าใจ และ 3) การชี้ให้เห็นแนวพระราชดำริที่ใช้ได้จริงและประสบความสำเร็จ พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกยังมีส่วนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลด้วยการสร้างความเข้าใจและการเสนอแบบอย่างตามแนวทางในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เด่นชัด 5 ด้านจากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่ 1) การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ 2) การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่ง 4) การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย  และ 5) ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก จึงมีบทบาทส่งเสริมการธำรงชาติให้เจริญ มั่นคง และสร้างประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยามตามพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อีกทั้งยังสะท้อนถึงพระปรีชาสามารถด้านการเป็นนักพัฒนา พระธรรมราชา และนักอักษรศาสตร์ในการบูรณาการวรรณกรรมพระพุทธศาสนา อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของสังคมไทยเพื่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

คณิตา หอมทรัพย์

นางสาวคณิตา หอมทรัพย์

อ.ม. (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail: [email protected]

References

กุสุมา รักษมณี. (2559). พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: ของขวัญพระราชทานสำหรับปวงชนชาวไทย. ใน กุสุมาวรรณา 6: วิวิธวารประพันธ์ (หน้า 307-329). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). ใต้ร่มพระบารมีพระบรมธรรมิกมหาราชา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2559). เรื่องเล่าทศชาติชาดก: การสืบทอดในสังคมไทยร่วมสมัย. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2547). นวนิยายกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2549). พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสพัฒนาใหม่. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน.

ปริญญวัฒน์ วัชรอาภากร (2549). พระมหาชนก: การพัฒนาประเทศในกระบวนทัศน์โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. (2554). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว: พระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

“พระมหาชนก” มหากาพย์แห่งการฟื้นฟูแผ่นดินสยาม. (2560). สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2560 จาก http://mblog.manager.co.th/padthungsong/th-114658/

ภูมิพลอดุลยเดชฯ, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2557). พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เรื่องพระมหาชนก (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.

รัชนีกร รัชตกรตระกูล. (2560). เรื่องเล่าจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนก: พลวัตของวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติในสื่อร่วมสมัย.

รายงานการวิจัย สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตุลาคม 2560.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2552). พระมหาชนก: คำสอนจากพ่อ. ใน จากเก่าสู่ใหม่ วรรณศิลป์ไทยไม่สิ้นสูญ (หน้า 73-109). กรุงเทพฯ: ศูนย์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา ไชยสาร. (2549). พระมหากษัตริย์นักประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562 จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title

วีรวัฒน์ อินทรพร. (2561). วรรณคดีวิจารณ์. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันราชภัฏนครสวรรค์. (2543). การประชุมสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ครูภาษาไทยของแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: ธนรัชการพิมพ์.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2558). ถอดรหัส “พระมหาชนก” จากมุมมองด้านการพัฒนามนุษย์และองค์การ: อัจฉริยภาพอันสร้างสรรค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ใน เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (หน้า 107-113 ). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2560 จาก http://www.nesdb.go.th/download/plan12

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์.