จากปราสาทศพสู่ธรรมาสน์ล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง จากปราสาทศพสู่ธรรมาสน์ล้านนา เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาที่ตั้ง ประวัติ ลักษณะและคติความเชื่อของธรรมาสน์ที่มาจากปราสาทศพ ผลการศึกษาพบว่า ธรรมาสน์ที่มาจากปราสาทศพ พบจำนวน 3 หลัง จากจำนวน 15 หลัง ได้แก่ ธรรมาสน์วัดเชตุพน มาจากปราสาทศพของเจ้าอินทวิชยานนท์ ธรรมาสน์วัดพระธาตุหริภุญชัย มาจากปราสาทศพของเจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 7 คือ เจ้าหลวงดาวเรือง และธรรมาสน์วัดพระธาตุช่อแฮ มาจากปราสาทศพของนายครอง ทองถิ่น คหบดีเมืองแพร่ โดยปัจจุบัน ธรรมาสน์ทั้ง 3 หลัง ยังใช้เทศน์ธรรมในโอกาสสำคัญต่างๆ การถวายปราสาทศพของเจ้านายฝ่ายเหนือ น่าจะมาจากคติล้านนาที่ว่า สิ่งที่เจ้านายฝ่ายเหนือได้ใช้นั้น เมื่อละจากโลกนี้ไปแล้ว สิ่งของเหล่านี้ ผู้ใดไม่สามารถใช้ได้อีก นอกจากพระสงฆ์ เช่น คุ้มที่เจ้านายประทับจะถูกรื้อมาสร้างวิหารถวายวัด ส่วนปราสาทศพก็ถวายเป็นธรรมาสน์ อย่างไรก็ตาม พบว่าปราสาทศพและธรรมาสน์ก็มีลักษณะบางประการที่แตกต่างกันตามหน้าที่การใช้งาน อาทิ ปราสาทศพจะมีส่วนยอดที่งอพับลงมาได้เพื่อป้องกันยอดปราสาทเกี่ยวกับสายไฟฟ้า ตัวปราสาทจะโปร่ง ไม่มีเสากีดขวางเพื่อวางหีบศพได้สะดวก ฐานจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าตามลักษณะหีบศพ และการประดับตกแต่งก็นิยมใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและติดไฟง่าย เป็นต้น
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กรมศิลปากร. คณะอนุกรรมการพิจารณาจารึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย ในคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย. (2548). ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
กรรณิการ์ ชินะโชติ. (2522). คำไทยและอิทธิพลบางประการของภาษาไทยในภาษาเขมร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
กาญจนา นาคสกุล. (2501-2502). คำสันนิษฐานในภาษาไทยที่มีมูลรากเป็นคำภาษาเขมร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการทุนพระยาอนุมานราชธน. (2517). พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมาน- ราชธน เล่ม 1 ก-ต. กรุงเทพฯ: จงเจริญการพิมพ์.
คณะกรรมการทุนพระยาอนุมานราชธน. (2521). พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมาน- ราชธน เล่ม 2 ถ-ผ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
คณะกรรมการทุนพระยาอนุมานราชธน. (2523). พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมาน-ราชธน เล่ม 3 พ-ร. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
คณะกรรมการทุนพระยาอนุมานราชธน. (2525). พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมาน- ราชธน เล่ม 4 รา-สมฺ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
คณะกรรมการทุนพระยาอนุมานราชธน. (2528). พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมาน- ราชธน เล่ม 5 สร-อ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
จตุพร โคตรกนก. (2557). “การแปลงรูปคำยืมภาษาเขมรในวรรณกรรมเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์.” เอกสารประกอบการบรรยายโครงการ “วิชาการตะวันออก” ประจำปี 2557 เรื่อง “นานาภาษาในจารึกและเอกสารโบราณไทย” เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ 66 ปี ของรองศาสตราจารย์กรรณิการ์ วิมลเกษม.
จตุพร โคตรกนก. (2557). “การศึกษารูปคำศัพท์และความหมายของคำยืมภาษาเขมรในสมุทรโฆษคำฉันท์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ .
ประสงค์ ทองประ. (2546). การศึกษาคำที่มีความสอดคล้องกันในภาษาไทยและภาษาเขมร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2515). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2552). วิเคราะห์คำศัพท์เขมรจากพจนานุกรมเขมร ฉบับพุทธศาสนบัณฑิต พ.ศ.2512 ที่ใช้ตรงกันกับคำศัพท์ไทย (หมวดอักษร ก.). วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 6(1), หน้า 75-106.
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2556). คำศัพท์เขมรจากพจนานุกรมเขมร ฉบับพุทธศาสนบัณฑิต พ.ศ. 2512 ที่ใช้ตรงกันกับคำศัพท์ไทย (หมวดอักษร ข.). วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน. 4(1), หน้า 7-18.
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2560). วิเคราะห์คำศัพท์เขมรจากพจนานุกรมเขมรฉบับพุทธศาสนบัณฑิตย์ พ.ศ.2512 ที่พ้องกับคำศัพท์ไทย (หมวดอักษร ง.). วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 14(1), หน้า 21-27.
เสถียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน). 2497. แหลมอินโดจีนสมัยโบราณ. พระนคร: ชาญชัย.
ภาษาเขมร
នូ ហាច. (២៥១៦). មាលាដួងចិត្ត. ភ្នំពេញ: សមាគមអ្នកនិពន្ធខ្មែរ. ពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត្យ. (២៥១២). វចនានុក្រមខ្មែរ. បោះពុម្ពគ្រាទី ៥. ភ្នំពេញ: រោងពុម្ពកម្ពុជា.