กลวิธีทางภาษาในเพลงพูดที่แสดงอัตลักษณ์ของคนไทยถิ่นใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีทางภาษาที่สื่ออัตลักษณ์ของคนไทยถิ่นใต้ในเพลงพูด แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นที่ 1 กลวิธีทางภาษาที่ใช้นำเสนออัตลักษณ์ของคนไทยถิ่นใต้ ผลการวิจัยพบกลวิธีทางภาษาที่ใช้นำเสนออัตลักษณ์คนไทยถิ่นใต้ 9 กลวิธี ได้แก่ 1) การใช้ภาษาถิ่น 2) การหยอกเย้าหรือการกล่าวติดตลก 3) การสะท้อนวิถีชีวิตของคนถิ่น 4) การใช้คำสื่ออารมณ์ 5) การใช้คำเรียกญาติ 6) การเล่นคำ 7) การใช้ภาษาต่างประเทศ 8) การใช้คำลงท้าย และ 9) การใช้คำด่า และประเด็นที่ 2 ค้นหาอัตลักษณ์คนไทยถิ่นใต้ที่ปรากฏในเพลงพูด พบอัตลักษณ์ทั้งหมด 14 อัตลักษณ์ ได้แก่ 1) คนใต้รักความยุติธรรม 2) คนใต้ตลกสนุกสนาน ขี้เล่น ต่อปากต่อคำ 3) คนใต้มีมนุษยสัมพันธ์ 4) คนใต้รักพวกพ้อง 5) คนใต้รักบ้านเกิด 6) คนใต้รู้จักปรับตัว 7) คนใต้รักธรรมชาติ 8) คนใต้ขยันศึกษาหาความรู้ 9) คนใต้เชื่อในโชคชะตา 10) คนใต้เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ 11) คนใต้ชอบสังสรรค์ 12) คนใต้หัวหมอ 13) คนใต้ชอบเล่นการพนัน และ 14) คนใต้เคารพผู้สูงอายุ/ผู้อาวุโส
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กาญจนา เจริญเกียรติบวร. (2548). การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องตลกภาษาไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉันทัส ทองช่วย. (2534). ภาษาและอักษรถิ่น (เน้นภาคใต้). กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ฐิตินัน บ. คอมมอน. (2555). เพลงและอัตลักษณ์วัฒนธรรมชุมชน:จรัล มโนเพ็ชรกับบทบาทของนักรบทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 6(2), 145-179.
ตามใจ อวิรุทธิโยธิน. (2546). กลไกและรูปแบบของการผวนคำในภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นใต้. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นววรรณ พันธุเมธา. (2558). ไวยากรณ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภาพรรณ เสณีตันติกุล. (2528). การศึกษาเรื่องศัพท์ภาษาไทยถิ่นใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราชและสงขลา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา ทิชินพงศ์. (2549). ลักษณะภาษาทองแดงของชาวไทยภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 1(1), 79-97.
โรม ศรีธรรมราช. (2558). รวมเพลงใต้เพลงพูดตลก. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561 จาก https://www.youtube.com/watch?v=Gg_YlrEtnSE
วิมลมาศ ปฤชากุล. (2550). อัตลักษณ์พื้นถิ่นในบันเทิงคดีภาคใต้ (พ.ศ. 2522-2546). วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาวรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรทัย ชินอัครพงศ์. (2557). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของคำด่าในภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 57-76.