“อิสระแห่งกวี” ในนิราศภูเขาทอง และนิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่

Main Article Content

นิพัทธ์ แย้มเดช
สมบัติ มั่งมีสุขศิริ

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ “อิสระแห่งกวี” ในนิราศภูเขาทองและนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ ผลการศึกษาพบว่า สุนทรภู่แสดงอิสระแห่งกวีในนิราศภูเขาทองและนิราศเมืองเพชร ทั้งในการเลือกสรรคำ การสื่อจินตนาการ และถ่ายทอดอารมณ์และประสบการณ์ที่ทรงพลัง นิราศทั้งสองเรื่องนี้สุนทรภู่สร้างสรรค์ผลงานในบริบทชีวิตที่แตกต่างกัน อีกทั้งระยะทางที่จดบันทึกและพรรณนาเนื้อความมีความแตกต่างกัน จึงสะท้อนอิสระแห่งกวีที่น่าสนใจ ดังนี้ นิราศภูเขาทองเด่นในด้านที่สะท้อนวาสนาของสุนทรภู่อันพลิกผันและกลั่นอารมณ์โศกแสดงความรู้สึกที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอย่างจับใจ ส่วนนิราศเมืองเพชรเด่นในความช่างสังเกตของสุนทรภู่  ที่มีต่อธรรมชาติ สะท้อนความทรงจำต่อเมืองเพชรบุรีอันเป็นสถานที่คุ้นเคยของสุนทรภู่  กล่าวได้ว่านิราศภูเขาทอง และนิราศเมืองเพชร เต็มเปี่ยมด้วยอิสระแห่งกวีในการถ่ายทอดพลังทางวรรณศิลป์โดยไม่ยึดติดกับกรอบขนบนิราศ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

นิพัทธ์ แย้มเดช

นายนิพัทธ์ แย้มเดช

นักศึกษาปริญญาเอก (จารึกภาษาไทยและภาษาตะวันออก) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

E-Mail: Nipatyamdate@gmail.com

สมบัติ มั่งมีสุขศิริ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ มั่งมีสุขศิริ Sombat Mangmeesukhsiri

Ph.D. (Sanskrit), the University of Delhi, India

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

E-Mail: sombat69@hotmail.com

 

References

กรมศิลปากร. (2539) วรรณกรรมสมัยอยุธยา เล่ม 3. กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

เจษฎา ทองรุ่งโรจน์. (2557). พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

เจือ สตะเวทิน. (2518). วิพากษ์นิราศเอกของสุนทรภู่. คำบรรยายภาษาไทยขั้นสูง ของชุมนุมภาษาไทยของคุรุสภา กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ฉันท์ ขำวิไล. (2502). 100 ปี ของสุนทรภู่. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2530). ผจงถ้อยร้อยเรียง: วิภาษวาทีวรรณกรรมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ปลาตะเพียน.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2548). ชีวประวัติและผลงานของสุนทรภู่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชีวิตและงานของสุนทรภู่. (2543). กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

ทองใบ แท่นมณี. (2555). นิราศภูเขาทองกับนิราศเมืองเพชร เรื่องไหนเด็ดกว่ากัน. ตามรอยสุนทรภู่ สู่วัดมหาธาตุวรวิหาร พระอารามหลวง. เพชรบุรี: เพชรภูมิการพิมพ์ จำกัด.

ทองใบ แท่นมณี. (2542). ศัพท์สุนทรภู่. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

นคร จันทราช. (2560). ความรับผิดชอบทางศีลธรรม: มุมมองจากพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารสันติศึกษา

ปริทรรศน์, 5(2),109-122.

นพมาศ อุ้งพระ. (2547). อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของมนุษย์. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 39(4), 18-49.

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. (2518). แนวทางศึกษาวรรณคดี: ภาษากวี. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เปลื้อง ณ นคร. (2543). ประวัติวรรณคดีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พ.ณ. ประมวญมารค. (2553). ประวัติคำกลอนสุนทรภู่ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

ล้อม เพ็งแก้ว. (2547). สุนทรภู่: อาลักษณ์เจ้าจักรวาล. กรุงเทพฯ : มติชน.

ล้อม เพ็งแก้ว. (2549). ว่ายเวิ้งวรรณคดี. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้ง

ที่ 4. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.