งานประพันธ์เพลง: พระเจ้าตากสินมหาราช

Main Article Content

จีระพันธ์ อ่อนเถื่อน
พนัง ปานช่วย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรีสมัยนิยมประกอบอรรถาธิบายโดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคุณูปการของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แบ่งขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือ การประพันธ์ทำนอง คำร้อง และการเรียบเรียงเสียงประสาน

ผลการศึกษาพบว่า 1) การประพันธ์ทำนองและร้องได้กำหนดรูปแบบของบทเพลง การแบ่งประโยค และวรรคเพลง บันไดเสียง ช่วงเสียง รวมถึงการพัฒนาทำนองอย่างเหมาะสม การประพันธ์คำร้องเป็นแบบร้อยกรองสอดคล้องกับเนื้อหาและอารมณ์เพลงในแต่ละท่อน ทำให้เพลงมีความสมบูรณ์และถูกต้องตามหลักทฤษฎีดนตรีสากล 2) ด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน ได้กำหนดรูปแบบแนวคิดการเคลื่อนของทำนองแบบขนาน แบบเฉียง และแบบสวนทาง ตลอดจนการวางแนวเสียงแบบเปิดดรอปทู และคอร์ดทบเจ็ด เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและอารมณ์ในแต่ละท่อนเพลง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์. (2545). คิดคำทำเพลง : ศิลปะการแต่งเนื้อเพลงไทย. กรุงเทพฯ: ฟ้าอภัย.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร, และก้องภพ รื่นศิริ. (2554). ซิมโฟนีปิยสยามินทร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2553ก). การเขียนเสียงประสานสี่แนว (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2553ข). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต.

ถาวรดา จันทนะสูต. (2555). บทประพันธ์เพลง “หนึ่งในสยาม” เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559). อากาศธาตุ : บทประพันธ์เปียโนเพื่อการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

สมชาย รัศมี. (2559). การเรียบเรียงเพลงสมัยนิยม. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ. (2561). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช: แง่คิดจาก “วีรบุรุษในวัฒนธรรมประเพณี”. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 41-52.

Ligon, B. (2001). Jazz theory resources. Milwaukee, WI: Hal Leonard.

Tomaro, M., & Wilson, J. (2009). Instrumental jazz arranging a comprehensive and practical guide. Milwaukee, WI: Hal Leonard.