ปัญหาการสอนทักษะการพูดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Main Article Content

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสอนทักษะการพูดระดับปริญญาตรี ในเรื่องเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของการใช้หลักสูตร ประมวลการสอนและเอกสารประกอบการเรียนการสอนทักษะการพูด ตลอดจนศึกษาในด้านความเพียงพอเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ กิจกรรมประกอบการเรียนการสอนและการวัดผลทักษะการพูดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการพูดมีความสำคัญมาก สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ครูส่วนใหญ่ที่ชอบสอนวิชานี้เนื่องจากได้รับมอบหมายจากผู้รับผิดชอบรายวิชาให้สอน และมีในหลักสูตรจึงต้องสอน หลักสูตรมีเนื้อหาไกลตัวผู้เรียนและมากเกินไป มีความซ้ำซ้อน ไม่น่าสนใจ ครูมีโอกาสวัดผลได้น้อยครั้งและไม่มีเวลาวัดผลได้ทันที ครูใช้อุปกรณ์การสอนในระดับปานกลาง จำนวนผู้เรียนในชั้นมีมากเกินไปไม่สามารถฝึกได้ทั่วถึง

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์

รองศาสตราจารย์ ดร.จิรวัฒน์  เพชรรัตน์

ศศ.ด. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

E-Mail:  [email protected]

References

กาญจนา วัฒายุ. (2544). การวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.

กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และวีรวัฒน์ อินทรพร. (2556). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์. (2546). การพูดเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2556). “ทักษะเพื่อการสื่อสารตามจุดประสงค์ของหลักสูตรภาษาไทย” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนภาษาไทย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. (2529). การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ธิดา โมสิกรัตน์. (2556). “การฟังและการพูดในการสื่อสาร” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เจเนซิส มีเดียคอม.

นิตยา กาญจนะวรรณ. (2551). ปัญหาการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2520). ปัญหาการสอนทักษะพูดในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ พุกผาสุก. (2556). “ปัญหาการใช้ภาษาไทย” ใน ประมวลสาระชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารหน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). “ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทย” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนภาษาไทย หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

ลมโชย เจริญวงศ์. (2528). การนำเสนอโปรแกรมการจัดกิจกรรมการสอนทักษะการพูดในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ทองสัมฤทธิ์ และวิภาวรรณ อยู่เย็น. (2549). “การพัฒนาทักษะการพูด” ใน ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ส่งศักดิ์ ทิตาราม และคณะ. (2556) “ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา สถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Runkle, J. A. (1972). “A Survey of the Small Group Techniques Used in College Beginning Speech Classes. Dissertation Abstracts International. (xerox). Michigan, vol. 32(10)