กลวิธีการแปลกริยาวลีในวรรณกรรมชุดแฮร์รี่พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี ของงามพรรณ เวชชาชีวะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษากลวิธีการแปลกริยาวลีภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่อง Harry Potter and the Goblet of Fire แต่งโดย J. K. Rowling แปลบทภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดย งามพรรณ เวชชาชีวะ เรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี ซึ่งมีทั้งหมด 37 บท เครื่องมือที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์กลวิธีการแปลครั้งนี้ ปรับจากหลักการกลวิธีการแปลของ โมนา เบเคอร์ (Baker, 1992) ฌอง ปอล วิเนย์ และ ฌอง ดาร์เบลเนท (Vinay and Darbelnet,1958) และสัญฉวี สายบัว (2550) โดยสรุปเป็น 6 กลวิธี คือ การแปลตรงตัว การแปลเอาความ การใช้สำนวนเทียบเคียง การแปลขยายความ การใช้คำแสลง และการละไม่แปล ผลการศึกษาพบว่า มีคำกริยาวลีปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องทั้งหมด 442 คำ กลวิธีที่ผู้แปลเลือกใช้ในการแปลกริยาวลีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในวรรณกรรมเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีมีจำนวน 5 กลวิธี ได้แก่ การแปลตรงตัว ร้อยละ 66.97 การแปลเอาความ ร้อยละ 25.57 การแปลขยายความ ร้อยละ 6.33 การละไม่แปล ร้อยละ 0.68 และการใช้สำนวนเทียบเคียง ร้อยละ 0.45 โดยการใช้คำสแลงเป็นกลวิธีที่ไม่พบในการแปล ส่วนกลวิธีการแปลที่ผู้แปลเลือกใช้มากที่สุดในการแปลกริยาวลีจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย คือ การแปลตรงตัว คิดเป็นร้อยละ 66.97 และกลวิธีการแปลกริยาวลีที่ใช้น้อยที่สุดคือการใช้สำนวนเทียบเคียง คิดเป็นร้อยละ 0.45
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
จิระพรรษ์ บุณยเกียรติ. (2540). ศาสตร์การแปล: รวมบทความเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เชวง จันทรเขตต์. (2528). การแปลเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
เธียรรัตน์ สาคะศุภฤกษ์. (2554). บทแปลเรื่อง "เท็กซัสลิขิตรัก ของลอร์เรน ฮีธ" พร้อมบทวิเคราะห์. สารนิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บันลือ พฤกษะวัน. (2536). วรรณกรรมกับเด็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ปิยะดา โล. (2551). กลวิธีการแปลสำนวนและกริยาวลีภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในบทบรรยายภาพยนตร์การ์ตูน. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2544). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
โรว์ลิ่ง, เจ. เค. (2544). แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี. (งามพรรณ เวชชาชีว, แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
ศยามล สุวรรณศรี. (2551). การแปลสำนวนในวรรณกรรมชุดนาร์เนีย เรื่อง ตู้พิศวงและผจญภัยโพ้นทะเล เป็นภาษาไทยโดย สุมนา บุณยะรัตเวช. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยมหิดล.
สัญฉวี สายบัว. (2550). หลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิทธา พินิจภูวดล. (2542). คู่มือนักแปลอาชีพ. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2546). การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2548). การแปลขั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุไร พงษ์ทองเจริญและคณะ. (2547). Oxford wordpower dictionary for Thai learners ฉบับอังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: หน้าต่างสู่โลกกว้าง.
หอมหวล ชื่นจิตร. (2527). การแปล: อาชีพสู่ปวงชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น.
Baker, M. (1992). In Other Words: A coursebook on translation. London: Routledge.
Macmillan English Dictionary for Advanced Learners. (2002). London: Macmillan Education.
Rowling, J. K. (2000). Harry Potter and the Goblet of Fire. London: Bloomsbury.
Vinay, J. P. & Darbelnet, J. (1958). Stylistique Comparée du Français et de l'Anglais. Paris: Didier-Harrap.