กลวิธีการดีดและทำนองกระจับปี่ในเพลงระบำโบราณคดีของครูมนตรี ตราโมท จากศิลปินต้นแบบเมื่อปี พ.ศ. 2510

Main Article Content

ขำคม พรประสิทธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการดีดและทำนองกระจับปี่ เพลงระบำชุดโบราณคดี 5 ชุด ของครูมนตรี ตราโมท จากศิลปินต้นแบบปี 2510 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการดีดกระจับปี่ขนาดเล็กและขนาดกลางใช้วิธีการ “ดีดเข้า” เป็นส่วนใหญ่ กระจับปี่ขนาดใหญ่มักใช้วิธีการ “ดีดออก” กลวิธีการดีดกระจับปี่ปรากฏ 7 วิธีคือ การดีดรัว การดีดสะบัด การดีดรัวรูด การดีดโปรย การดีดกระทบ การดีดกระแทกเน้นเสียง และการดีดเข้าแล้วหยุดเสียงทันที ลักษณะเฉพาะของกระจับปี่ขนาดเล็กคือการดีดรัวสั้นเน้นเสียงและการดีดกระแทกเน้นเสียง ลักษณะเฉพาะของกระจับปี่ขนาดกลางคือการดีดกระทบเพื่อเน้นเสียง กระจับปี่ขนาดใหญ่มักใช้การสะบัดเสียงเดียวและสะบัดสามเสียง การดำเนินทำนองกระจับปี่ทั้ง 3 ขนาดมีลีลาแตกต่างกัน กระจับปี่ขนาดเล็กดำเนินทำนองตามทำนองผู้ประพันธ์กำหนดเป็นส่วนใหญ่โดยมักดีดเน้นเสียงให้ทำนองคมชัด กระจับปี่ขนาดกลางเน้นการดีดทำนองเก็บ 3 วิธีคือ เก็บแบบสลับฟันปลา เก็บด้วยการซ้ำพยางค์เสียง และการนำทำนองจากวรรคข้างหน้ามาซ้ำเป็นทำนองเก็บ กระจับปี่ขนาดใหญ่เน้นการดีดยืนเสียงลูกตก การดีดยืนเสียงเดียว ตกแต่งทำนองการยืนเสียงด้วยการดีดแบบลักจังหวะ และการดีดเสียงคู่ประสานกับเสียงลูกตกหลักให้ห่างกันเป็นคู่ 5

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

ขำคม พรประสิทธิ์, คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Head of Thai Music Department

References

กรมศิลปากร. (2511). สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี. พระนคร: ศิวพร.

จีรพล เพชรสม. ข้าราชการบำนาญ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร. (21 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2530). ดนตรีอินเดีย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ. ข้าราชการบำนาญ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร (25 กันยายน 2561). สัมภาษณ์.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2 ตุลาคม 2561). สัมภาษณ์.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (31 ตุลาคม 2561). สัมภาษณ์.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (21 พฤศจิกายน 2561). สัมภาษณ์.

ภัทระ คมขำ. (2561). เพลงระบำ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2505). เครื่องสายไทย. ใน หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนายเปกข์ สุขวงศ์ ณ เมรุวัดธาตุทอง วันที่ 30 พฤษภาคม 2505. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกษมสุวรรณ.

มนตรี ตราโมท. (2538). ดุริยสาส์น. ใน หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพนายมนตรี ตราโมท ณ เมรุพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2538. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วราภรณ์ เชิดชู. (2561). เพลงตับ “พิณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว. (2558). การปรากฏและการสูญสลายของกระจับปี่เครื่องดนตรีราชสำนักสยาม. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(1), 145-179.

สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและการประเมิน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย.

อรวรรณ บรรจงศิลป, โกวิทย์ ขันธศิริ, สิริชัย ฟักจำรูญ, และปกรณ์ รอดช้างเผื่อน. (2546). ดุริยางคศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Sam, S., Roongrüang, P., & Nyugen, P. (1998). The Khmer people. In T. E. Miller & S. Williams (Eds.), The Garland Encyclopedia of World Music: Volume 4: Southeast Asia (pp.151-217). New York: Routledge.