กลวิธีการใช้อะลูมิเนียมสร้างกล่องเสียงพิณโปร่ง

Main Article Content

ภิภพ ปิ่นแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้อะลูมิเนียมสร้างกล่องเสียงพิณโปร่ง โดยมีการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการนำอะลูมิเนียมมาใช้เป็นวัสดุเพื่อทำกล่องเสียงพิณโปร่งแทนไม้ ผลการวิจัยพบว่า อะลูมิเนียมซึ่งเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติทนทานต่อสภาพอากาศ คงทนต่อการหัก ทนต่อความร้อน การกัดกร่อนและมีน้ำหนักเบา มาสร้างเป็นกล่องเสียงพิณโปร่ง เพื่อทดแทนวัสดุดั้งเดิมคือไม้ โดยการนำอะลูมิเนียมที่มีลักษณะเป็นวงกลมด้านหน้าเว้ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร มาปิดด้วยแผ่นไม้อัด จึงเกิดเป็นรูปทรงของกล่องเสียงพิณโปร่งขึ้น โดยการกำหนดสัดส่วนขนาดความยาวของพิณโปร่งจากหย่องหน้าถึงหย่องหลังมีความยาว 75 เซนติเมตร ขนาดส่วนคอพิณโปร่งมีความยาว 45 เซนติเมตร ทำให้ได้พิณโปร่งที่มีขนาดมาตรฐาน ผู้วิจัยจึงทำการทดสอบคุณภาพเสียง โดยใช้โปรแกรมบันทึกเสียงเพื่อหาความกว้างของเสียง พบว่าได้คุณภาพของเสียงที่มีมวลเสียงนุ่ม ใส ดังกังวาน เนื่องจากกล่องเสียงพิณโปร่งที่ทำจากอะลูมิเนียมนี้ ทำหน้าที่สะท้อนเสียงและขยายสัญญาณเสียงได้ดี นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้กำหนดให้พิณโปร่งที่ใช้อะลูมิเนียมสร้างกล่องเสียงนี้มีระบบเสียงแบบเมเจอร์สเกลในบันไดเสียงซีเมเจอร์ครบทั้ง 7 เสียง สามารถบรรเลงร่วมกับวงดนตรีพื้นบ้านอีสานและวงดนตรีสากลได้ จึงทำให้ได้พิณโปร่งที่มีคุณสมบัติทนทานต่อการใช้งานและมีคุณภาพของเสียงอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียงที่ดี ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ทางดนตรีพื้นบ้านอีสาน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร. (2551). โครงการออกแบบเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะ: อูดู (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดุษฎี มีป้อม, และ นิลวรรณ ถมังรักษ์สัตว์. (2551). หนังสือรายวิชาพื้นฐาน ดนตรี-นาฏศิลป์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

แบล็คสวอลโลมิวสิค. (2558). ว่าด้วยเรื่องเสียงทางวิทยาศาสตร์และทางดนตรี. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2563, จาก http://blackswallowmusic.blogspot.com/2015/06/blog-post.html

ปิยพันธ์ แสนทวีสุข. (2549). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน: คีตกวีอีสาน ตำนานเครื่องดนตรี และการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านอีสาน. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

ศุภวิชญ์ จิราพงษ์, และ ธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). แนวทางการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบยั่งยืน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 441-458.

สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์การสำรวจสถานภาพอุตสาหกรรมโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non-ferrous metals): อะลูมิเนียมภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมเหล็กและโลหการประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย.

สัญญา สมประสงค์. (2555). การศึกษาการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน: กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุชาติ ภาคสุชล, ปิยพันธ์ แสนทวีสุข, และ ประธาน วงศ์นุกูล. (2545). การพัฒนาเครื่องมือการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานเพื่อรองรับการผลิตเชิงธุรกิจ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัครพล สีหนาท. (2553). การสร้างเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน: พิณโปร่งไฟฟ้า (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.