การศึกษามโนทัศน์ "เลขเก้า" ในสังคมไทยปัจจุบัน

Main Article Content

ณัฐพร ไข่มุกข์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษากระบวนการสร้างความหมายและการรับรู้เกี่ยวกับ "เลขเก้า" ในสังคมไทยปัจจุบัน โดยใช้แนวคิดด้านคติชนวิทยาเพื่อวิเคราะห์ความหมายทางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ระหว่างเลขเก้ากับวิถีชีวิตคนไทย ผู้วิจัยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการและสื่อออนไลน์ต่างๆ ที่มีการอ้างถึงนิยามเกี่ยวกับตัวเลข และความสัมพันธ์ของคนไทยและตัวเลข นอกจากนี้ได้วิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีเลขเก้าเป็นองค์ประกอบ จากการศึกษาพบว่า "เลขเก้า" ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรมร่วมสมัย เนื่องจากมีคุณลักษณะทางภาษาและความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคติความเชื่อทางโหราศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นมงคล อีกทั้งยังถูกใช้เป็นภาพแทนสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้เลขเก้ายังถูกกำหนดให้มีบทบาทในฐานะ "ทุนทางวัฒนธรรม" จากแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และแสดงให้เห็นพลวัตทางวัฒนธรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมร่วมสมัยได้อย่างชัดเจน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ. (2544). ตัวเลขสำคัญไฉน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กฤดิ์กมล. (2547). ไหว้พระ 9 วัด: “ศรัทธา” นำ “ปัญญา” ปรากฏการณ์ในความอ่อนแอของมนุษย์. ศิลปวัฒนธรรม, 25(3), 29-31.

ก้องธนัตถ์กุล เศรษฐีสถาพร. (2556). มหัศจรรย์ “ตัวเลข” พลิกชีวิต. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เคาน์เตอร์เซอร์วิส. (2561, 8 มกราคม). โครงการทำบุญพระธาตุประจำวันเกิด [รูปภาพ]. สืบค้นจาก http://202.80.233.44/deals/productandservice-donation-08012561

จริมา อุปรานุเคราะห์. (2557). ไหว้พระเก้าวัด”: การท่องเที่ยวและผลกระทบต่อทรัพยากรวัฒนธรรม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จี้ กสทช.ตรวจสอบรายการทีวีจงใจ “ใบ้หวย” ชักชวนคนเล่นพนัน. (2560, 1 มีนาคม). มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/qol/detail/9600000021215

จุฑามาศ ณ สงขลา. (2549). ทำนายชีวิตจากตัวเลขวันเกิด. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

ฉันชอบดูนางงาม. (2562, 24 พฤศจิกายน). ฟ้าใสและทีมงานของกองประกวดเดินทางถึงเมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา [รูปภาพ]. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/315749459070863/photos/a.315759012403241/472292963416511

ชวนคนใช้รถ ติดสติกเกอร์ “9” ฟรี เพื่อร่วมแสดงความอาลัย. (2559, 24 ตุลาคม). ไทยพีบีเอส. สืบค้นจาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/257004

ชะเอม แก้วคล้าย. (2557). ศึกษาตัวเลขจากศิลาจารึก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(2), 1-32.

ชาวรถม้าลำปางแปรขบวนเลข 9 ถวายอาลัย. (2559, 13 พฤศจิกายน). พีพีทีวี ออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/39194

ณัชชา อาจารยุตต์. (2563). บทบาทสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์กับการผลิตซ้ำความเชื่อเพื่อการเสี่ยงโชค. วารสารศาสตร์, 14(1), 84-121.

ทัศชล เทพกำปนาท. (2563, 22 มิถุนายน). เล่าสู่กันฟัง...เรื่อง “1-10 เลขใดมีความหมายในใจคุณ”. สืบค้นจาก http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=5029&filename=index

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์: มงคลเลขเก้าไทย. (2560, 5 มกราคม). มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_20223

พัชรินทร์ ชัยวรรณ. (2561). ตัวเลขในนิทาน: การศึกษาเชิงเปรียบเทียบความหมายของตัวเลขในนิทานกริมม์และนิทานพื้นบ้านไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 37(1), 123-138.

ภัครพล แสงเงิน. (2557). ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเรื่องมหาพรหมเทพราชทอดเลขกับตำนานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. ดำรงวิชาการ, 15(1), 177-196.

ภาพสื่อความคิดและจินตนาการ. (2557, 1 กันยายน). เลข 9 เลขมงคล และมีแต่สิ่งที่ดีๆ [รูปภาพ]. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/thai.picture.media4.0/photos/a.484062048351657/685935104831016/?type=3&theater

เรื่องเล่าเช้านี้. (2562, 27 มกราคม). กสทช. ปิดประมูลเบอร์โทรสวยครั้งแรกของปี 2019 โกยรายได้เกินกว่า 29 ล้านบาท [วิดีโอ]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=U2PrYk0DEYw

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2560, 31 มกราคม). ตัวเลขกับชีวิตที่ถูกบงการ. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640199

ศิราพร ณ ถลาง. (2562). คติชนสร้างสรรค์: บทสังเคราะห์และทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สถาบันการศึกษาอีสานแปรอักษรเลข 9 แสดงความไว้อาลัยถวายแด่ “พ่อหลวง”. (2559, 3 พฤศจิกายน). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก https://mgronline.com/local/detail/9590000109975

สำรวจพฤติกรรมคนไทย “เล่นการพนัน” 29 ล้านคน ตั้งเด็กถึงคนแก่ ลอตเตอรี่ฮอตสุด แถมกลุ่ม “เล่นหนัก” เพิ่มมากขึ้น. (2562, 25 กุมภาพันธ์). ไทยพับลิก้า. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2019/02/gamble-lottery-study-report-2/

สิรินทรา ฤทธิเดช. (2557). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับตัวเลขในบริบทสังคมไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 6(2), 40-51.

สุกัญญา สุจฉายา. (2556). ทุนวัฒนธรรมกับวัตถุมงคลในปัจจุบัน. วารสารอักษรศาสตร์, 42(2), 75-102. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jletters/article/view/49254

อัญชลี กิ๊บบิ้นส์. (2559). ยันต์: ความผูกพันทางพุทธธรรม ภาษาและศิลปะ. วารสารข่วงผญา, 11(1), 169-202.

เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2550). ทัวร์ไหว้พระ 9 วัด และการก่อตัวของสูตรมหามงคลในสังคมบริโภคนิยม. ดำรงวิชาการ, 6(1), 56-73.

Holdershaw, J., Gendall, P., & Garland, R. (1997). The widespread use of odd pricing in the retail sector. Marketing Bulletin, 8, 53-58.

Kaimook, N. (2018). The study of Wai Phra Kao Wat in Bangkok, Thailand (Doctoral dissertation). Durham: Durham University.

Zhanglaoshi. (2562, August 17). ตัวเลขมงคล และไม่มงคล ในภาษาจีน สอนความหมายและที่มา เลข 8 6 9 และ 4 7 [วิดีโอ]. สืบค้นจาก https://youtu.be/gyhVQLIzt6E