โครงสร้างและกลวิธีการใช้คำรื่นหูที่สื่อความหมายว่า "ตาย" ในภาษาไทยและภาษาจีน

Main Article Content

พนิดา เชาว์พาณิชย์เจริญ
นุชชฎา ฉัตรประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความวิจัยเอกสารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากงานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบคำรื่นหูที่มีความหมายว่า "ตาย" ในภาษาไทยและภาษาจีน (A Comparative Study on Euphemisms which means "Die" in Thai and Chinese) มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือเปรียบเทียบโครงสร้างคำและกลวิธีการใช้คำรื่นหูที่สื่อความหมายว่า "ตาย" ในภาษาไทยและภาษาจีน โดยเก็บข้อมูลภาษาไทยจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 และเก็บข้อมูลภาษาจีนจากพจนานุกรมคำรื่นหูภาษาจีน (《委婉语应用辞典》) ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างคำรื่นหูที่สื่อความหมายว่า "ตาย" ทั้งภาษาไทยและภาษาจีนมีโครงสร้างคำ 3 รูปแบบ ได้แก่ คำ วลีและสำนวน คำซ้อน ส่วนด้านกลวิธีการใช้คำรื่นหูที่มีความหมายว่า "ตาย" ในภาษาไทยและภาษาจีนมีส่วนที่เหมือนกัน ได้แก่ 1) การใช้คำที่มีความหมายเป็นกลาง 2) การใช้คำอ้างอิงลักษณะ 3) การใช้คำกริยาเคลื่อนที่ 4) การใช้วลีเฉพาะเพื่อกระจายความหมายให้เบาบางลง ส่วนกลวิธีที่ไม่พบในภาษาไทย ได้แก่ การใช้คำที่มีความหมายยกย่องเชิดชู และการใช้คำกริยาที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

แก้วใจ จันทร์เจริญ. (2532). คำรื่นหูในภาษาไทย (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี กุลละวณิชย์. (2527). ว่าด้วยคำว่า “ตาย”. ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บ.ก.), ศาสตร์แห่งภาษา (ฉบับที่ 4) (น. 36-41). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชดา ธิยะใจ. (2536). คำรื่นหูในภาษาไทย: การวิเคราะห์ค่านิยม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลักขณา ดาวรัตนหงษ์. (2527). การเปลี่ยนแปลงความหมายในภาษาไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 4(1), 1-23.

Huang, B. R., & Liao, X. D. (2002). Modern Chinese. Beijing: Higher Education Press.

Wang, Y. J. (2011). Weiwan Yu Yingyong Cidian. Shanghai: Shanghai Cishu Chuban She.