ปัญหาการใช้วลีต่างระดับภาษาจีนของนิสิตหลักสูตรภาษาจีน มหาวิทยาลัยทักษิณ

Main Article Content

สุธาสินี พรมแดน
พวงผกา สิทธิจันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้วลีต่างระดับภาษาจีนของนิสิตหลักสูตรภาษาจีนมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มนิสิตจำนวน 72 คน และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบทดสอบจำนวน 4 ชุด นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาที่เกิดจากการใช้วลีต่างระดับของนิสิตมีทั้งหมด 4 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะแรกคือปัญหาด้านโครงสร้างบทขยายกริยา(状+中)ลักษณะที่สองคือปัญหาด้านโครงสร้างบทขยายนาม(定+中)ลักษณะที่สามคือปัญหาด้านการใช้ตัวช่วย(的และ 地)และลักษณะสุดท้ายคือปัญหาด้านการใช้คำศัพท์ผิด พบว่าแบบทดสอบที่ 1 – 3 มีข้อผิดพลาดด้านการใช้วลีต่างระดับประเภทบทขยายกริยา(状+中)มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.8 58.3 และ 79.1 ตามลำดับ ในขณะที่แบบทดสอบที่ 4 พบข้อผิดพลาดด้านการใช้วลีต่างระดับประเภทบทขยายนาม (定+中)มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.1 ปัญหาที่พบมีสาเหตุมาจากปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ 1) อิทธิพลของภาษาแม่ที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างวลีต่างระดับในภาษาจีน 2) การไม่เข้าใจหลักการใช้ตัวช่วย(的และ 地)ที่เชื่อมระหว่างคำขยายกับคำหลัก และ 3) ปัญหาคลังคำศัพท์ภาษาจีนของผู้เรียนมีจำกัด

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2549). พจนานุกรมจีน – ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 16-17). กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

นววรรณ พันธุเมธา. (2553). ไวยากรณ์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลำดับที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลี ชุนเสี่ยว, จินตนา พุทธเมตะ. (2557). การศึกษาข้อผิดพลาดการใช้นามวลีภาษาไทยของนักศึกษา วิชาเอกภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยชนชาติกวางสี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัย และพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(12), 149-160.

Cunningsworth, A. (1987). Evaluation and Selecting EFL Teaching Materials. London: Heinemann Education Book.

Lado, R. (1957). Linguistics Across Cultures: Applied Linguistics for Language Teachers. Michigan: University of Michigan Press.

Norrish, J. (1987). Language Learning and Their Errors. London: Macmillan Publisher, Ltd.

Richards, J.C. and Schmidt, R. (2002). Dictionary of Language Teaching & Applied Linguistics. (Pearson Education Limited). London: Longman.

Lin, Y. (2000). Error Analysis and Acquisition Order of Chinese Attributive Order of Thai Students. Beijing: Beijing Language and Culture University.

Lu, J. & Lü, W. (2007). Learner’s Dictionary of Contemporary Chinese. Beijing: The commercial Press.

Lu, J. (1994). Grammatical Error Analysis of Foreigners Learning Chinese. Journal of Language Teaching and Linguistic Studies, 1, 49-64.

Lu, J. (2011). Questions and Answers on Modern Chinese Grammar. (1st Edition). Beijing: The Beijing University Press.

Zhang, B. (2010). Descriptive Grammar in Modern Chinese. Beijing: The Commercial Press.