การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษา และระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

สุภาพร เจริญสุข
กิตติมา ตันติหาชัย
ปิยะพัฒน์ ช่วยอินทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความถี่ในการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความวิตกกังวลในการเรียนภาษาสูงและต่ำ 2) ศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความวิตกกังวลในการเรียนภาษาสูงและต่ำ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาและความวิตกกังวลในการเรียนภาษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ชั้นปีที่ 4 จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามเรื่องกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาของอ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford, 1990) 2) แบบสอบถามเรื่องความวิตกกังวลในการเรียนภาษาต่างประเทศของฮอร์วิทซ์และคณะ (Horwitz et al., 1986) 3) คำถามปลายเปิดเกี่ยวกับกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาและความวิตกกังวลในการเรียนภาษา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาที่มีระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาต่ำใช้กลยุทธ์การเรียนรู้บ่อยกว่านักศึกษาที่มีระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาสูง 2) นักศึกษาที่มีระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาต่ำใช้กลยุทธ์อภิปริชานมากที่สุดและใช้กลยุทธ์ทางสังคมน้อยที่สุด ส่วนนักศึกษาที่มีระดับความวิตกกังวลในการเรียนภาษาสูงใช้กลยุทธ์อภิปริชานมากที่สุดและใช้กลยุทธ์ปริชานน้อยที่สุด 3) กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการเรียนภาษามี 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์การจำ กลยุทธ์การชดเชย กลยุทธ์ทางอารมณ์ และกลยุทธ์ทางสังคม ส่วนกลยุทธ์ปริชานและกลยุทธ์อภิปริชานไม่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในการเรียนภาษา

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

คณะบริหารธุรกิจ. (2555). หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี. (2558). หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558). ตรัง: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

คณะศิลปศาสตร์. (2555). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

คณะศิลปศาสตร์. (2555). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ทรงศรี สรณสถาพร. (2560). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยตรงของผู้เรียนชาวไทยในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(26), 9-23.

นิรมล รัตนสงเคราะห์, ทรงศรี สรณสถาพร, ยุวดี ถิรธราดล, และกรัณศุภมาศ เอ่งฉ้วน. (2555). กลยุทธ์ที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาของนักศึกษาที่มีความสามารถภาษาอังกฤษระดับสูงและต่ำในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 1, 54-65.

ปณิชา นิติสกุลวุฒิ และ ทรงศรี สรณสถาพร. (2557). การใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการค่ายอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(16), 39-54.

ปภังกร กิจทวี, ทรงศรี สรณสถาพร, กรัณศุภมาศ เอ่งฉ้วน, และธนายุส ธนธิติ. (2555). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษา ระดับความวิตกกังวล และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. 4-5 กันยายน (1-13).

เยาวลักษณ์ ยิ้มอ่อน. (2557). การใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพของบัณฑิตไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 191-204.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว. (2560). หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560). ตรัง: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ศิวนนท์ นิลพาณิชย์. (2560). กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 1-12.

สุภาพร เจริญสุข และ กิตติมา ตันติหาชัย. (2562). การศึกษารูปแบบของสถานประกอบการ ปัญหาและกลยุทธ์การแก้ปัญหาการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาฝึกงานระดับมหาวิทยาลัย. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 75-88.

สมพร โกมารทัต. (2559). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สมพร โกมารทัต. (2562). กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของผู้เรียนศตวรรษที่ 21. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(105), 187-197.

Anugkakul, G. (2011). A comparative study in language learning strategies of Chinese and Thai students: A case study of Suan Sunandha Rajabhat University. European Journal of Social Sciences, 19(2), 163-174.

Bailey, P., Daley, C. E., & Onwuegbuzie, A. J. (1999). Foreign language anxiety and learning style. Foreign Language Annals, 32, 63-76.

Brown, D. H. (2007). Principles of language learning and teaching. NY: Pearson Education, Inc.

Ellis, R. (2008). The Study of Second Language Acquisition. (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Horwitz, E.K., Horwitz, M.B., & Cope, J. (1986). Foreign language classroom anxiety. The Modern Language Journal, 70, 125-132.

Khamkhien, A. (2011). Language learning strategies uses by Thai and Vietnamese university students. MANUSYA: Journal of Humanities, 14(2), 1-23.

Khamkhien, A. (2013). Roles of English as an international language on learning strategies among Japanese and Thai learners. Journal of Teaching and Education, 2(2), 473-483.

Kunasaraphan, K. (2015). English learning strategy and proficiency level of the first year students. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 197, 1853-1858.

Lamla-ong, H. (2014). Language learning problems and language learning strategies of MFU students. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 3(1), 54-86.

Liu, H. (2013). Effects of Foreign Language Anxiety and Perceived Competence on Learning Strategies Use. International Journal English Linguistics, 3(3), 76-87.

Lucas, I. R., Miraflores, E., & Go, D. (2011). English Language Learning Anxiety among Foreign Language Learners in the Philippines. Philippine ESL Journal, 7, 94-119.

MacIntyre, P. D., & Gardner, R. C. (1991). Methods and results in the study of anxiety and language learning: a review of literature. Language Learning, 41, 85-117.

Matsuda, S., & Gobel, P. (2004). Anxiety and predictors of performance in the foreign language classroom. System, 32, 21-36.

Mingyuan, Z. (2001). Language learning strategies and English language proficiency: An investigation of Chinese ESL students at NUS. Reflections on English Language Teaching, 1, 51-73.

Mohammadi, E., Biria, R., Koosha, M., & Shahsavari, A. (2013). The Relationship between Foreign Language Anxiety and Language Learning Strategies among University Students. Theory and Practice in Language Studies, 3(4), 637-646.

Naeeini, S. K., Maarof, N., & Salehi, H. (2011). Malaysian ESL learners' use of language learning strategies. International Proceedings of Economics Development and Research (IPEDR), 20, 340-344.

Noormohamadi, R. (2009). On the Relationship between Language Learning Strategies and Foreign Language Anxiety. Pan-Pacific Association of Applied Linguistics, 13(1), 39-52.

Nyikos, M., & Oxford, R. (1993). A factor analytic study of language-learning strategy use: Interpretations from information-processing theory and social psychology. The Modern Language Journal, 77, 11-22.

O’Malley, J. M., & Chamot, A. U. (1990). Learning strategies in second language acquisition. Cambridge: Cambridge University Press.

Oxford, R. L. (1990). Language learning strategies: What every teacher should know. NY: Newbury House Harper & Row.

Oxford, R.L., & Ehrman, M.E. (1995). Adults language learning strategies in an intensive foreign language program in the United States. System, 23(3), 359-386.

Oxford, R. L., & Lee, K. R. (2008). Understanding EFL learners? strategy use and strategy awareness. The Asian EFL Journal, 10(1), 7-32.

Pannak, O., & Chiramanee, T. (2011). Language learning strategies used by first year students at Thaksin University, Songkhla campus, Thailand. Proceedings-Factors Affecting English Language Teaching and Learning, 1-12.

Phillips, V. (1990). English as a second language learner strategies of adult Asian students using the strategy inventory for language learning. In L. Dickinson, Autonomy and motivation: A literature review. System, 23(2), 165-174.

Phonhan, P. (2016). Language Learning Strategies of EFL Education Students: A Case Study of Thai Undergraduate Students. Silpakorn University Journal of Social Sciences, Humanities and Arts, 16(2), 115-135.

Rahimi, M., & Katal, M. (2012). Metacognitive strategies awareness and success in learning English as a foreign language: an overview. Procedia-social and Behavioral Sciences, 31, 73-81.

Santikarn, B. (2014). The use of language learning strategies: A case study of undergraduate students in a private university. Journal of Language and Communication, 19(21), 55-72.

Seng, S., & Khleang, S. (2014). Language learning strategy used by Cambodian EFL students. LEARN Journal: Language Education and Acquisition Research Network, 7(1), 58-67.

Tagong, K. (2011). Language learning strategies of Naresuan university international college students. Journal of Education Naresuan University, 13(1), 19-45.

Wenden, A. L., & Rubin, J. (1987). Learner Strategies in Language Learning. New Jersey: Prentice Hall.

Wu, Y. (2008). Language learning strategies used by students at different proficiency levels. The Asian EFL Journal, 10(4), 75-95.

Young, D. J. (1991). Creating a Low-Anxiety Classroom Environment: What Does Language Anxiety Research Suggest? The Modern Language Journal, 75, 426-439.

Zhou, C., & Intaraprasert, C. (2015). Language learning strategies employed by English-major pre-service teachers with different levels of language proficiency. Theory and Practice in Language Studies, 5(5), 919-926.