การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการแปลของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่เกิดจากการแปลตัวบทต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นตัวบทฉบับแปลภาษาไทยของนักศึกษาใน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับคำ (การถ่ายถอดเสียงจากภาษาต้นฉบับการแปลคำนาม การแปลคำสรรพนาม การแปลคำแสดงเครือญาติ การแปลคำที่มีหลายความหมายหรือคำที่มีหลายหน้าที่ การแปลคำแสดงตำแหน่งหรือคำบอกทิศทาง) ระดับวลี (นามวลี กริยาวลี บุพบทวลี วิเศษณ์วลี) ระดับประโยค (รูปประโยค กาล) และระดับสัมพันธสาร (การแปลเครื่องหมายวรรคตอน การแปลคำเชื่อม) โดยข้อผิดพลาดที่เกิดจากการแปลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ข้อผิดพลาดจากการเทียบเคียงทางความหมาย ข้อผิดพลาดทางด้านโครงสร้างไวยากรณ์ และข้อผิดพลาดทางด้านวัฒนธรรม ผลจากการแปลผิดพลาดที่ทำให้การสื่อความหมายผิดแล้วยังทำให้ขาดความลื่นไหลในการอ่านตัวบทภาษาฉบับแปลอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
จุฑามณี ทิพราช, สุพัฒน์ กู้เกียรติ, นิติรัตน์ อุทธชาติ และฐานิยา ทองไทย. (2560). แนวโน้มในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดในระดับ วลี และประโยค: กรณีศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(2), 352-372.
ดุษฎี รุ่งรัตนกุล. (2556). การศึกษาการใช้พจนานุกรมและปัญหาในการใช้พจนานุกรมในวิชาการแปลเบื้องต้นของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(3), 1-16.
นพรัตน์ จันทร์โสภา. (2557). การแปลอดีตกาลและการณ์ลักษณะจากวรรณกรรมเรื่อง แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 11(2), 17-36.
พรชัย พรวิริยะกิจ และวรินทร แดนดี. (2558). ข้อผิดพลาดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล. วารสารสังคมศาสตร์, 4(2), 16-24.
มณีรัตน์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา. (2548). การแปล: หลักการและการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
รัฐธิดา กระสินธุ์. (2557). การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการใช้คำนำหน้านามภาษาอังกฤษของนักเรียนไทย. วารสารวจนะ, 2(2), 58-84.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ:ราชบัณฑิตยสถาน.
สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี ปิ่นมณี. (2549). การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ: บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.
สุพรรณี อาศัยราช, ทัศนีย์ จันติยะ และจิราภรณ์ กาแก้ว. (2560). ปัญหาและกลวิธีการแปลบทความทางการศึกษาจากภาษาอังกฤษเป็นไทยของนิสิตสาขาภาษาอังกฤษศึกษา. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 1(1), 71-85.
อัญชลี สิงห์น้อย. (2547). สากลลักษณ์และเอกลักษณ์ของภาษาและวัฒนธรรม: สิ่งอำนวยและอุปสรรคในการสัมผัสภาษา. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2(1), 1-14.
Baker, M. (1992). In other Words: A Coursebook on Translation. London: Routeldge.
Grimm, J., and Grimm, W. (1994). Grimms’ Fairy Tales. London: Penguin Group.
Hatim, B., and Mason, I. (1998). Discourse and the Translator. New York: Longman Inc.
Isarankura, S. (2011). Research Report: Conceptualizations of Tense and aspect in English among Thai Learners. Bangkok: Dhurakij Pundit University.
Cambridge. (2020). Cambridge Dictionary Online. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563 จาก https://dictionary.cambridge.org/