หลักความร่วมมือในการสนทนาในสถานการณ์เกี้ยวพาราสีของผญาเกี้ยวอีสาน

Main Article Content

พงศธร สุรินทร์
พรวิภา ไชยสมคุณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้หลักความร่วมมือในการสนทนาในสถานการณ์ เกี้ยวพาราสีของผญาเกี้ยวอีสาน โดยวิเคราะห์บทสนทนาในสถานการณ์เกี้ยวพาราสีของผญาเกี้ยวอีสานจำนวน 354 บทสนทนา และสามารถจำแนกการสนทนาในสถานการณ์เกี้ยวพาราสีของผญาเกี้ยวอีสานได้ 3 ประเภท ได้แก่ การสนทนาในสถานการณ์เกี้ยวพาราสีที่ผู้ชายสนใจผู้หญิง การสนทนาในสถานการณ์เกี้ยวพาราสีที่ผู้หญิงสนใจผู้ชาย และการสนทนาในสถานการณ์เกี้ยวพาราสีที่ผู้หญิงไม่สนใจผู้ชาย
ผลการศึกษาพบว่า การสนทนาในสถานการณ์เกี้ยวพาราสีของผญาเกี้ยวอีสานทั้งหมดมีการละเมิดหลักความร่วมมือในการสนทนา และไม่ละเมิดหลักความร่วมมือในการสนทนา ตามแนวคิดของ Herbert Paul Grice (1975, 1981) คือ ข้อความที่ละเมิดหลักความร่วมมือในการสนทนาเพียง 1 หลัก พบว่า มีการละเมิดหลักคุณภาพมากที่สุด 37.29 % รองลงมาคือ ละเมิดหลักตรงประเด็น 18.93 % ละเมิดหลักวิธีการ 11.58 % และละเมิดหลักปริมาณน้อยที่สุด 7.06 % ข้อความที่ละเมิดหลักความร่วมมือในการสนทนามากกว่า 1 หลัก พบว่า มีการละเมิดหลักคุณภาพ วิธีการ และตรงประเด็นมากที่สุด 4.80 % และละเมิดหลักปริมาณ วิธีการ และตรงประเด็นน้อยที่สุด 4.52 % และข้อความที่ไม่ละเมิดหลักความร่วมมือในการสนทนา พบว่า มีการไม่ละเมิดหลักคุณภาพมากที่สุด 6.50 % รองลงมาคือ ไม่ละเมิดหลักตรงประเด็น 4.80 % ไม่ละเมิดหลักปริมาณ 3.39 % และไม่ละเมิดหลักวิธีการน้อยที่สุด 1.13 %

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2526). ผญาบทกวีของชาวบ้าน. กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์จินตภัณฑ์การพิมพ์.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2532). การศึกษาเปรียบเทียบคำอู้บ่าวอู้สาวล้านนาและผญาเกี้ยวอีสาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

นภัทร อังกูรสินธนา. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบวัจนกรรมอ้อมในบทสนทนาในนวนิยายไทยต่างสมัย : ตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรชัย ศรีสารคาม. (2547). ผญาอีสาน. มหาสารคาม: สำนักงานศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรรณรินทร์ วินิจกิจเจริญ. (2547). การใช้ภาษาเพื่อสร้างอารมณ์ขันในเพลงตลกคำเมือง : การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดารณี ใจเย็น. (2551). การวิเคราะห์บทสนทนาของตัวละครในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทยภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปฐิมา บุญปก. (2555). สี่แผ่นดิน : การศึกษาปฏิวาทะตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปณิชา นิติพรมมงคล. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สถิต ภาคมฤค. (2550). ภูมิปัญญาท้องถิ่น : กรณีศึกษาผญาเกี้ยว. รายงานวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (2552). วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุพรรณ ทองคล้อย. (2524). ลักษณะร้อยกรองพื้นถิ่นอีสาน. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Grice, H. P. (1975). Logic and Conversation. In P. Cole and J. Morgan (Eds.), Syntax and Semantics 3: Speech Acts (pp. 43-50). New York: Academic Press.

Grice, H. P. (1981). Presupposition and Conversational Implicature. In P. Cole (Ed.), Radical Pragmatics (pp. 183-198). New York: Academic Press.

Mantalay, N. (2007). A Pragmatic Approach to An Interpretation of Behind The Painting : A Thai Novel by Sriburapha. An Independent Study Submitted to The Graduate School in Partial Fulfillment of The Requirements for The Degree of Master of Arts in English, Chiang Mai University.