การพัฒนารูปแบบการสอนเน้นภาระงานและการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและกลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นำเสนอประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเน้นภาระงานและการสอนอ่านเน้นมโนทัศน์ ตามแนวคิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เพื่อใช้พัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยเน้นกลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษ 4 ด้าน ได้แก่ 1) กลวิธีการระบุใจความสำคัญ 2) กลวิธีการระบุประโยคสนับสนุนและรายละเอียด 3) กลวิธีการระบุประโยคความหมายของคำอ้างอิง และ 4) กลวิธีการอนุมาน โดยเปรียบเทียบผลทดสอบก่อนและหลังเรียน (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังจากการใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 25 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนเน้นภาระงานและการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ มี
ค่าเฉลี่ย 90.27/84.13 2) ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการสอนเน้นภาระงานและการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ โดยเปรียบเทียบผลการทดสอบทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักศึกษา ก่อนและหลังเรียน พบว่า กลวิธีการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ทั้ง 4 ด้าน มีผลการเรียน หลังเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้รูปแบบการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
จรินทร์ทิพย์ วรกิจสวัสดิ์. (2550). ผลของการสอนการอ่านภาษาอังกฤษแบบเน้นมโนทัศน์ที่มีต่อ
ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุติมา ศรีบัว. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจจากหนังสือพิมพ์และ
นิตยสารภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นาวาเอกหญิงวิภาดา พูลศักดิ์วรสาร. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้
กลวิธีอภิปัญญาสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ.
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พันตำรวจตรีหญิงอโนมา โรจนาพงษ์. (2554). การเพิ่มผลลัพธ์การอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
นายร้อยตำรวจโดยการเรียนการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ในบทความวิจัย การทดลอง
ภาคสนาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนอ สงวนแก้ว. (2554). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการอ่านเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความ
เข้าใจการอ่านภาษาอังกฤษต่อการอ่านภาษาอังกฤษแบบเพิ่มขยายและความคงทนในการ
เรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้
แบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และทักษะการเขียน
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อังชรินทร์ ทองปาน. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเชิงวิชาการโดยใช้ภาระงานเป็นฐาน
และกลยุทธ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการอ่านเชิงวิชาการ
ความรู้ด้านคำศัพท์และการใช้กลยุทธ์สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Brumfit, C. (1984). Communicative methodology in language teaching. Cambridge:
Cambridge University Press.
Creswell, John W. (2011). Research design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Method
Approach. 2nd ed. New Delhi, Sage Publication, Inc.
Doughty, C., & Pica T. (1986). Information gap task: Do they facilitate second
language acquisition? TESOL Quarterly, 12 (January): 305-325.
Guthrie, J.T., Wigfield, A., and Perencevich, K.C. (2004). Motivating Reading
Comprehension Concept-Oriented Reading Instruction. London: Lawrence
Erlbaum Associates Publishers.
Guthrie, J.T. & Cox, K.E. (2001). Classroom Conditions for Motivation and Engagement in
Reading. Educational Psychology Review 13(3), 283-302.
Guthrie, J.T., Hoa, L.W., Wigfield, A., Tonk, S.M., Humenick, N.M., and Littles, E. (2007).
Reading Motivation and reading comprehension growth in the later
elementary years. Contemporary Educational Psychology 32: 282-313.
Guthrie, J.T., Bennett, & McGough, K. (1994). Concept-Oriented Reading Instruction: An
integrated curriculum development motivation and strategies for reading. University of Georgia and University of Maryland, National Reading Research Center.
Guthrie, J.T. (1999). Motivational and cognitive predictors of test comprehension and
reading amount. Scientific Studies of Reading.
Joyce, B. & M. Weil. (1996). Model of teaching. (3 rd. ed.). New Jersey:
Prentice Hall International, Inc.
Krashen, Stephen D. (1988). Second Language Acquisition and Second Language Learning.
Prentice-Hall International.
Nunan, D. (1989). Designing tasks for the communicative classroom. Glassgrow:
Bell and Bain Ltd.
Prabhu, N. S. (1979). The procedural syllabus. In Communicative syllabus design and
methodology.
Taylor, D. (1983). Family literacy: Young children learning to read and write. NH: Heinemann.
Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. London: Longman.