การวิเคราะห์การแปลโฆษณาภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ

Main Article Content

อัจฉริน จิตต์ปรารพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและปัญหาในการแปลโฆษณาภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ชั้นปีที่ 4 จำนวน 29 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการแปลภาษาอังกฤษทางธุรกิจเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดความรู้การแปลโฆษณาที่อ้างอิงจากผลสำรวจความสนใจของผู้เรียน โดยผู้วิจัยคัดเลือกโฆษณาจากนิตยสารและเว็บไซต์ของธุรกิจต่างๆและแบบสอบถามปัญหาการแปลโฆษณาภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ จากนั้นผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลโดยจำแนกข้อผิดพลาดเป็น 4 ประเภทเรียงจากจำนวนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดดังนี้ การแปลผิดไวยากรณ์และโครงสร้าง การแปลผิดความหมาย การแปลขาดและการแปลเกิน สาเหตุของข้อผิดพลาดที่พบคือ ผู้เรียนขาดความรู้ไวยากรณ์และคำศัพท์ การแปลโดยยึดติดกับโครงสร้างภาษาต้นฉบับ การขาดความรอบคอบ และการขาดความรู้รอบตัว ด้านปัญหาการแปลโฆษณาภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษพบว่าผู้เรียนพบปัญหาด้านโครงสร้างและไวยากรณ์มากที่สุด

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

จริยา ปันทวังกูร. (2551). การเขียนบทโฆษณา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรัชชยา บุญประสงค์ และรสสุคนธ์ สงคง. (2560). ข้อผิดพลาดที่พบในป้ายที่แปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษในกรุงเทพมหานครและชลบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 5 (น.584). สกลนคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รูฮายาตี อารง, ซูรัยยา อับดุลรอเซะ, วารุณี ซาเม๊าะ, อารีฟะฮ์ เจะดาโอะ, ฮาสมะ เต๊ะ, และฟารีดา กิตติวิโรจน์. (2561). การวิเคราะห์เทคนิคและข้อผิดพลาดจากการแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ: กรณีป้ายกรมทางหลวงและป้ายสถานที่สำคัญต่างๆในเขตอำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส. นราธิวาส: มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

วรัชญ์ ครุจิต. (2553). การแปลภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2555). แปลได้ แปลดี : ทักษะการแปลสำหรับผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2561). แปลผิด แปลถูก: คัมภีร์การแปลยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพิชญา ชัยโชติรานันท์. (2558). การศึกษาข้อผิดพลาดการแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจในมิติด้านไวยากรณ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 116-126.

สุมน อริยปิติพันธ์. (2548). หลักการแปลภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรเดช บุณยวณิชย์. (2546). การวิเคราะห์ปัญหาทางโครงสร้างของภาษาอังกฤษบางประเด็นในการแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยบูรพา.กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

สมจิต จิระนันทิพรและปรีมา มัลลิกะมาส. (2559). ปัญหาการแปลหน่วยสร้างกริยาเรียงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษของผู้เรียนชาวไทย. วารสารอักษรศาสตร์, 45(2), 205-262.

Larson, M. L. (1998). Meaning-based translation: A guide to cross-language equivalence (2nd ed.). Boston: University Press of America.