แนวคิดในการแสดงของงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2530 – 2560

Main Article Content

ชุมพล ชะนะมา
วิชชุตา วุธาทิตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวคิดในการแสดงของงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ในปี พ.ศ. 2530 – 2560 ผลการวิจัยพบว่า งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย มีลักษณะแนวคิดของการแสดงดังนี้ 1) แนวคิดการสร้างสรรค์งานจากบทวรรณกรรมเดิมในรูปแบบใหม่ 2) แนวคิดในการนำวัฒนธรรมที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ และก่อให้เกิดสิ่งใหม่จากวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ 3) แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ 4) แนวคิดการเต้นเฉพาะพื้นที่ 5) แนวคิดในการแสดงที่สะท้อนปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโลก 6) แนวคิดการแสดงดั้งเดิมของอาเซียนผ่านมุมมองของศิลปะ ร่วมสมัย 7) แนวคิดการแสดงลีลานาฏยศิลป์แบบธรรมชาติ 8) แนวคิดการแสดงลีลาแบบการด้นสด 9) แนวคิดการให้ความสำคัญและความใส่ใจกับชุมชน 10) แนวคิดการออกแบบลีลานาฏยศิลป์ในลักษณะที่เรียกว่า ไม่ระบุเพศ 11) แนวคิดการสร้างสรรค์การแสดงที่อาศัยองค์ความรู้ที่หลากหลายมากกว่าองค์ความรู้เดียว 12) แนวคิดการสร้างสรรค์งานด้วยคุณธรรมและจริยธรรม ผลของการวิจัยสะท้อนให้เห็นว่าแนวคิดที่เกิดขึ้นในการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเทคนิคการเต้นของนาฏยศิลป์ร่วมสมัย และนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ แนวคิดทางปรัชญา และบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กำจร สุนทรพงษ์ศรี. (2559). สุนทรียศาสตร์ : หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปะวิจารณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติกรณ์ นพอุดมพันธ์. (2554). การสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยจากสัญญะดอกบัวในพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2548). การวิจัยทางศิลปะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ณัฐพร เพ็ชรเรือง. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. (22 พฤษภาคม 2560). สัมภาษณ์.

นภวรรณ นาคอุไร. (2554). นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบวีดิทัศน์ เรื่องเงาะป่า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราพงษ์ จรัสศรี. (2559). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นราพงษ์ จรัสศรี. ศาสตราจารย์. ดร. (6 เมษายน 2560). สัมภาษณ์.

นราพงษ์ จรัสศรี. ศาสตราจารย์. ดร. (2 กุมภาพันธ์ 2561). สัมภาษณ์.

ไพโรจน์ ชมุนี. (2559). สุนทรียศาสตร์ ตะวันตก : Western Aesthetics. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.

มนูศักดิ์ เรืองเดช. (2558). แนวคิดในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย ที่สะท้อนถึงบริบทของสังคมไทยผ่านการแสดง ชุด "CONTEMPORARY VISUALITY OF THAI PHILOSOPHY OF LIFE. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัจนา พวงประยงค์. ศิลปินแห่งชาติ. (10 กรกฎาคม 2559). สัมภาษณ์.

วิชชุตา วุธาทิตย์. นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางงานวิจัยและประวัติศาสตร์. ดร. (16 สิงหาคม 2560). สัมภาษณ์.

สรร ถวัลย์วงศ์ศรี. (2559). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดความหลากหลายทางเพศ. วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริธร ศรีชลาคม. (2543). นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย : การสร้างสรรค์โดยผสมผสานนาฏยศิลป์ไทยกับนาฏยศิลป์สกุลอื่นๆ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2510 – 2542. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา. ศิลปิน นักออกแบบท่าเต้น. (23 กันยายน 2559). สัมภาษณ์.

อักษราวดี เสียงดัง. (2554). เอกลักษณ์ไทยในการแสดงวิจิตรนาฏกรรมเทิดพระเกียรติพระมหาชนก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Jonas, Gerald. (1998). Dancing : The Pleasure, Power, and Art of Movement. New York: ABRAMS.