การศึกษาเทคนิคและแนวทางการพัฒนาทักษะการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกจากบทฝึกผลงานลำดับที่ 29 หมายเลข 17 ของเฟอนันโด ซอ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทฝึกผลงานลำดับที่ 29 หมายเลข 17 ของเฟอนันโด ซอ เป็นบทฝึกมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและได้รับการบรรจุอยู่ในการสอบวัดผลทักษะปฏิบัติกีตาร์คลาสสิกขั้นสูง ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเพื่อให้ทราบบริบท และเทคนิคสำคัญของ บทฝึก จากการศึกษา พบว่า บทฝึกเป็นเพลง 2 ตอน มีการแบ่งประโยคเพลงตรงไปตรงมา ลักษณะเฉพาะทางดนตรที่ พบ คือ การพัฒนาทำานองหลัก, ฮาร์โมนิกซีเควนซ์ และเทคนิคคอนทราพังโทว ผู้วิจัยพบว่าฮาร์โมนิกซีเควนซ์ที่พบในบทฝึกก่อให้เกิดปรากฏการณ์ย้ำกุญแจเสียง (tonicization) ทำให้เนื้อหาดนตรี เรียงร้อยเข้ากันอย่างสมบูรณ์ ในขณะที่เทคนิคแบบคอนทราพังโทวส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางกายภาพของการสอดทำนอง บทฝึกนี้นอกจากเหมาะสำหรับใช้ฝึกการเล่นขั้นคู่เสียงและบล็อกคอร์ดทเกิดขึ้นในรูปอาร์เปจโจแล้ว ยังช่วยจัดระเบียบนิ้วมือขวาและฝึกความสามารถผู้เล่น ในการควบคุมน้ำหนักของนิ้วมือขวาในการดีด เพื่อแยกเสียงทำนองหลักออกจากทำนองเสริมให้เกิดมติของเสียงที่งดงาม
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
Pethel, R. (2015). Professional Profiles, Pedagogic Practices, and the Future of Guitar Education. (Ph.D.), Georgia State University.
Uluocak, S. (2012). A comparison of Selected Classical Guitar Teaching Methods and a Review of their Implication for Guitar Education. Çukurova Üniversitesi Eğitim Fakültesi Dergisi, 41(2), 43-53.
กฤษฎา วงศ์คำจันทร์. (2551). ชุดการสอนการการปฏิบัติกีตาร์ในวิชาทักษะดนตรี 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชัยวัฒน์ นำหน้ากองทัพ. (2558). แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนการปฏิบัติกีตาร์คลาสสิค ของนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2541). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐวัฒน์ โฆษิตดิษยนันท์. (2561). การสอนกีตาร์คลาสสิกของวิทยาลัยดนตรีในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Retrieved on September 2, 2018 From https://tecla.com/fernando-sor/segovias-twenty-studies-by-sor-a-table-of-segovias-twenty-studiesand-the-original-opus-numbers/.
Retrieved on September 2, 2018 From https://www.guitarist.com/classical-guitar/midi/sor-20-studies/.
Retrieved on September 2, 2018 From https://www.thisisclassicalguitar.com/fernando-sor-studies-free-sheet-music-pdfs/.