การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะเสียงคำศัพท์ภาษาเขมรถิ่นไทยกับภาษาเขมรกัมพูชา

Main Article Content

วัฒนชัย หมั่นยิ่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการออกเสียงของภาษาเขมรถิ่นไทย บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบลกระบกเตี้ย อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท กับภาษาเขมรกัมพูชา ผลการศึกษาพบว่าการเปรียบเทียบสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) คำศัพท์ที่ใช้ตรงกันคิดเป็นร้อยละ 48.89 จำนวนนี้เป็นคำที่ออกเสียงพยัญชนะ สระ มีจำนวนพยางค์ และมีความหมายตรงกัน 2) คำศัพท์ที่ออกเสียงใกล้เคียงกันคิดเป็นร้อยละ 40.74 ซึ่งเป็นคำที่มีเสียง พยัญชนะ สระ หรือจำนวนพยางค์ใกล้เคียงกัน มีความหมายตรงกันหรือคล้ายคลึงกัน โดยแบ่งเป็นชนิดของการเปลี่ยนแปลงทางด้านหน่วยเสียงได้เป็น 3 ลักษณะ คือ การเพิ่มหน่วยเสียง การลบหน่วยเสียง และการกลายหน่วยเสียง 3) คำศัพท์ที่ใช้ไม่ตรงกันคิดเป็นร้อยละ 10.37 คือ คำศัพท์ที่ออกเสียงพยัญชนะ สระ หรือมีจำนวนพยางค์ต่างกัน แต่มีความหมายตรงกัน ลักษณะที่พบทั้ง 3 ลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าภาษาทั้งสองเป็นภาษาเดียวกันมาก่อน เนื่องจากมีคำศัพท์ที่ใช้ตรงกันและออกเสียงใกล้เคียงกันมีจำนวนมากกว่าคำศัพท์ที่ใช้ไม่ตรงกันอย่างเห็นได้ชัด ส่วนคำศัพท์ที่ใช้ไม่ตรงกันเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดการสร้างคำใหม่โดยยืมคำศัพท์จากภาษาอื่นที่แวดล้อมและการประสมคำศัพท์ใหม่ที่ไม่มีใช้มาก่อน จึงส่งผลให้เกิดคำศัพท์ที่แตกต่างกันของทั้งสองภาษา

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

เดือนเพ็ญ รักษ์แพทย์. (2541). การศึกษาระบบเสียงภาษาสุโขทัยและเปรียบเทียบกับภาษานครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2561). พจนานุกรมภาษาถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ. (2554). รายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (ฉบับที่ 1-3). องค์การสหประชาชาติ.

บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ. (2561). การเปรียบเทียบคำศัพท์ภาษาเขมรถิ่นไทยกับภาษาเขมรมาตรฐานกัมพูชา. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 14(1), 85-107.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.

วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2561). อักขรวิธีภาษาเขมร. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิไลศักดิ์ กิ่งคำ. (2547). ภาษาไทยถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2560). ภาษาศาสตร์เชิงประวัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลกะบกเตี้ย. (2554). ข้อมูลหมู่บ้าน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562 จาก http://kaboktia.go.th/default.php?include_modules=PB_plc_person&modules=fckeditor&fck_id=21&view_id=120&orderby=1

Campbell, L. (1998). Historical linguistics : An Introduction. Edinburgh: Edinburgh University Press.

Huffman, F. E. (1970). Cambodian System of Writing and Beginning Reader. London: Yale University Press.

Khmer online dictionaries. (2020). Headley's Khmer-English Dictionary. Retrieved on August 21, 2020, from http://dictionary.tovnah.com/?q=%E1%9E%81%E1%9F%80%E1%9E%9C&dic =all&criteria=start

UN data A world of information. (2019). Demographic Statistics Database United Nations Statistics Division. Retrieved on October 25, 2019, from http://data.un.org/Data.aspx?d=POP&f= table Code:27

ពុទ្ធសាសនបណ្ឌិត្យ. (២៥១២). វចនានុក្រមខ្មែរ. បោះពុម្ពគ្រាទី ៥. ភ្នំពេញ: រោងពុម្ពកម្ពុជា.