การศึกษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ขวัญชนก  นัยจรัญ
กฤษณา  ชาญณรงค์
เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจองค์ความรู้มรดกวัฒนธรรมชุมชน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กระบวนการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR : Community Based Research) ที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลโดยใช้ประวัติศาสตร์บอกเล่าผ่านการสัมภาษณ์ และการลงสังเกตการณ์ภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ปรากฏข้อมูลด้านวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษาจำนวน 4 ประเภท ได้แก่  1) นิทานพื้นบ้าน 2) บทร้องพื้นบ้าน 3) บทสวดประกอบพิธีกรรม และ 4) ตำนานพื้นบ้าน ข้อมูลด้านศิลปะการแสดง คือ หมอลำเรื่องต่อกลอน  ข้อมูลแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ 1) แนวปฏิบัติทางสังคมและพิธีกรรม 2) ประเพณีและเทศกาล และ 3) พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำมาหากิน ข้อมูลด้านความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล ได้แก่ โหราศาสตร์ ความเชื่อเฉพาะถิ่น อาหารพื้นถิ่น และการแพทย์พื้นบ้าน  งานช่างฝีมือดั้งเดิม ได้แก่ เครื่องจักสาน เครื่องไม้ งานศิลปกรรมพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น และข้อมูลด้านการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการป้องกันตัว ปรากฏข้อมูลเฉพาะด้านการเล่นพื้นบ้านเท่านั้น

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

ขวัญชนก  นัยจรัญ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญชนก  นัยจรัญ

ศศ.ด. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

E-Mail:  nkhwanchanok@hotmail.com

กฤษณา  ชาญณรงค์

อาจารย์กฤษณา  ชาญณรงค์

ศศ.ม. (คติชนวิทยา) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

E-Mail:  kritsana_b11@hotmail.com

เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ

รองศาสตราจารย์เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ

กศ.ม. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

E-Mail:  premvitv@hotmail.com 

References

คณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. (2560). การกำหนดลักษณะของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2560. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560 จาก http://ich.culture.go.th/images/stories/ich-pdf/160.pdf.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2559). แนวทางการวิจัยเพื่อการสร้างสรรค์ทุนวัฒนธรรมชุมชนนครสวรรค์ ใน แนวคิดการวิจัยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยา, สุชาติ แสงทอง (บรรณาธิการ). นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

พลอยภัทรา ตระกูลทองเจริญ. (2557). การศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : หมู่บ้านศาลาแดงเหนือ เชียงรากน้อย. วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาติ แสงทอง. (2560). นครสวรรค์ศึกษา บันทึกเรื่องราวคนจีนปากน้ำโพ. นครสวรรค์: ริมปิงการพิมพ์.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2560). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).

สุวิชชา ศรีถาน และปรีดา ไชยา. (2559). การค้นหามรดกภูมิปัญญาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ใน วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10(1). 12-22.