การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องระหว่างพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรกับนิทานซาดก ท้าวมะหาซะนก ฉบับลาว

Main Article Content

สายหยุด  บัวทุม
คณิตา  หอมทัรพย์

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการเล่าเรื่องระหว่างพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรกับนิทานซาดก ท้าวมะหาซะนก ฉบับลาว ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีการเล่าเรื่อง และแนวคิดการศึกษาวรรณกรรมเชิงเปรียบเทียบเป็นแนวทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกกับนิทานซาดก ท้าวมะหาซะนก ฉบับลาว มีกลวิธีการเล่าเรื่องที่เป็นลักษณะร่วมและแตกต่างกัน ลักษณะร่วมของกลวิธีการเล่าเรื่อง ได้แก่ ฉาก ผู้เล่าเรื่องและการใช้ภาพประกอบการเล่าเรื่อง โดยมีฉากเป็นช่วงเวลาในอดีต การใช้ผู้เล่าเรื่องแบบสัพพัญญูและใช้ภาพประกอบการเล่าเรื่องเพื่อเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของเรื่องเช่นเดียวกัน  ส่วนความแตกต่างของกลวิธีการเล่าเรื่อง ได้แก่ โครงเรื่อง ตัวละคร แนวคิด และวิธีการเล่าเรื่อง ด้านโครงเรื่อง พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกได้ปรับเปลี่ยนโครงเรื่องตอนท้ายเรื่องให้แตกต่างออกไปจากอรรถกถามหาชนกชาดก ส่วนนิทานซาดก ท้าวมะหาซะนก ฉบับลาวดำเนินเรื่องตามอรรถกถามหาชนกเป็นหลัก ด้านวิธีการเล่าเรื่อง พบว่า พระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบผู้รู้แจ้งในตอนที่สัมพันธ์กับการนำเสนอ แนวคิดหลักของเรื่องและเล่าย่อเป็นส่วนมากเพื่อการดำเนินเรื่องให้กระชับ ส่วนในนิทานซาดก ท้าวมะหาซะนก ฉบับลาว มีวิธีการเล่าเรื่องแบบผู้รู้แจ้งเป็นส่วนมาก เพื่อมุ่งเน้นการนำเสนออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครตามลักษณะของนิทาน ด้านตัวละคร พระมหาชนกและนางมณีเมขลาเป็นตัวละครที่โดดเด่นในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก พระมหาชนกเป็นตัวละครที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นอุดมคติในการกระทำความเพียร ส่วนนางมณีเมขลา เป็นผู้ทดสอบปัญญาของพระมหาชนกและช่วยเสริมให้เห็นว่าพระมหาชนกเป็นมนุษย์ที่รู้จักพึ่งพาตนเอง ส่วนในนิทานซาดกท้าวมะหาซะนก ฉบับลาว นอกจากตัวละครท้าวมะหาซะนก ยังพบว่าตัวละครพระนางสีวะลีโดดเด่น ซึ่งผู้แต่งมุ่งนำเสนอลักษณะนิสัยอย่างละเอียด และด้านแนวคิดพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกนำเสนอแนวคิดเรื่องความวิริยะและปัญญา ส่วนนิทานซาดก ท้าวมะหาซะนก ฉบับลาว นำเสนอแนวคิดเรื่องความวิริยะ ปัญญาและเนกขัมมะ แม้ว่าเรื่องพระมหาชนกทั้งสองสำนวนนี้จะมีที่มาจากวรรณกรรมพระพุทธศาสนา แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะ เนื่องมาจากวัตถุประสงค์การแต่งที่แตกต่างกัน อีกทั้งแสดงให้เห็นวัฒนธรรมการรับวรรณกรรมพระพุทธศาสนามาเข้ามาสู่สังคมไทยและสังคมลาวที่นับเนื่องมาจากการนับถือพระพุทธศาสนา

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

สายหยุด  บัวทุม

ดร.สายหยุด  บัวทุม

ศศ.ด. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

คณิตา  หอมทัรพย์

อาจารย์คณิตา  หอมทัรพย์

อ.ม. (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  [email protected]

References

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2545). รายงานการวิจัยเรื่อง พระราชอัจฉริยปรีชญาแห่งพระมหากษัตริย์ในการสร้างสรรค์ภาษาและวรรณกรรม. นครปฐม: สถาบันราชภัฏนครปฐม.

ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2560). พระราชนิพนธ์เรื่อง ‘พระมหาชนก’ การสืบทอดและสร้างสรรค์วรรณคดีชาดกในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย. ใน วารสารไทยคดีศึกษา. 13(2). 73-97.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2553). ด้วยแสงแห่งวรรณคดีเปรียบเทียบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตุลา คมกฤต มโนรัตน์.(2547). การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องอำนาจในวรรณกรรม: ศึกษากรณีท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร, พระบาทสมเด็จพระ. (2557). พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เรื่องพระมหาชนก. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ผกา ปรีชาญาณ.(2535). จำปาสี่ต้น: การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมล้านนาไทยอีสานและลาว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ศิลปศาสตร์ (จารึกภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ยุพิน สุวรรณฤทธิ์ (2529).การศึกษาเชิงวิเคราะห์: วรรณกรรมลาวเรื่อง ไก่แก้ว. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ศิลปศาสตร์ (จารึกภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2552). พระมหาชนก: คำสอนจากพ่อ. ใน จากเก่าสู่ใหม่ วรรณศิลป์ไทยไม่สิ้นสูญ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 73-109.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2559). พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ด้านวรรณศิลป์. ใน อัครศิลปินแห่งแผ่นดินสยาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

วนิดา บำรุงไทย. (2542).พระมหาชนก พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ความงดงามแห่งวรรณกรรมสยาม ความงดงามแห่งน้ำพระราชหฤทัย. ใน วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 7(1): 1-12.

สมัย วรรณอุดร (2545). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและลาวเรื่องลำบุษบา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ (จารึกภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2542). พระมหาชนก: โมกขธรรมแห่งปัจจุบันสมัย. ใน วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 16. 185-201.

สุภัทรา โกไศยกานนท์. (2556). ภาษาและวัฒนธรรมในบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก. ใน วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 7(1). 57-66.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บ่อแสงคำ วงค์ดาราและคณะ. (2008). วรรณคดีลาว. นครหลวงเวียงจันทน์: สำนักพิมพ์ศึกษาเวียดนาม.

บัวบาน วรชุม. (2007). วรรณคดีลาว อดีตและปัจจุบัน. นครหลวงเวียงจันทน์: สำนักพิมพ์และจำหน่ายหนังสือรัฐ.

มหาสิลา วีระวงส์. (2014). นิทานชาดกท้าวมะหาซะนก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครหลวงเวียงจันทน์: สำนักพิมพ์ดอกเกด.