ฤๅษีในอินเดียโบราณ: ศึกษา “ความเป็นนักบวช” ของฤๅษี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มุ่งทำความชัดเจนต่อสถานภาพและแนวคิดเกี่ยวกับฤๅษีในอินเดียโบราณ คือตั้งแต่ยุคพระเวทไปจนถึงยุคก่อนเริ่มต้นคริสตกาล โดยศึกษาคำนี้ผ่านชื่อสำคัญซึ่งใช้เรียกฤๅษีที่ปรากฏทั้งในหลักฐานของฝ่ายพราหมณ์และฝ่ายพุทธ รวมทั้งผ่านการวิเคราะห์ธรรมชาติของ “ความเป็นนักบวช” ที่เข้าใจกันในเวลานั้น ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความหมายใดที่ถูกอธิบายไว้ในสายพราหมณ์ตั้งแต่ยุคพระเวทแสดงถึงฤๅษีในฐานะของนักบวชแบบถอดถอน ความเป็นนักบวชของฤๅษีถูกกำหนดจากคุณสมบัติภายในของฤๅษีบางท่าน ไม่ได้ถูกกำหนดจากวิถีชีวิตของฤๅษีทั่วไป คำอันเหมาะสมที่สามารถนำมาใช้เรียกฤๅษีแบบพราหมณ์ในทางพุทธคือคำว่า “ดาบส” ไม่ใช่ “มุนี” ส่วนคำว่า “มุนี” และ “บรรพชิต” อนุโลมใช้เพื่อเรียกครูฤๅษีบางคนที่เข้าสู่กระแสนิพพานแล้ว หรือมีวิถีชีวิตแบบถอดถอนเช่นสมณะเท่านั้น
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พระธรรมกิตติวงศ์. (2550). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง. พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 9, 10, 20, 29. (2539). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพุทธโฆสเถระ. (2557). สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลาล มณี โชศี. (2536). พราหมณ์ พุทธ ฮินดู. แปลโดย กรุณา กุศลาสัย. กรุงเทพฯ: แม่คำผาง.
สุนทร ณ รังษี. (2537). ปรัชญาอินเดีย: ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป. (2540). ลัทธิของเพื่อน. กรุงเทพฯ: พิราบ.
อรุณ เฉตตีย์. (2539). อินเดีย แผ่นดินถิ่นมหัศจรรย์. กรุงเทพฯ: ศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bhargava, P. L. (1985). THE SELF-INTRODUCING ṚṢIS OF THE ṚGVEDA AND THE CHRONOLOGY OF ITS HYMNS. Annals of the Bhandarkar Oriental Research Institute, 66(1/4), 13-30.
Ghurye, G. S. (1952). Ascetic Origins. Sociological Bulletin, 1(2), 162-184.
Kaelber, W. O. (1979). Tapas and Purification in Early Hinduism. Numen, 26(2), 192-214.
Kumar Acharya, S. (1988). EVOLUTION OF THE INSTITUTION OF BEGGARY IN ANCIENT INDIA. Annals of the Bhandarkar Oriental Research Institute, 69(1/4), 269-277.
Masse, A. (2006). The Rsis of Ancient Indian Tradition. Retrieved on June 27, 2018. From
www.mahavidya.ca/2008/04/14/the-rsis-of-ancient-indian-tradition/Olivelle, P. (1981). Contributions to the Semantic History of Saṃnyāsa. Journal of the American Oriental Society, 101(3), 265-274.
Preciado-Solis, B. (1987). SOME PROBLEMS CONCERNING THE ORIGIN OF SAṂNYĀSA. Annals of the Bhandarkar Oriental Research Institute, 68(1/4), 359-369.
Rhys Davids, T. W. & Stede, W. (1999). Pāli-English Dictionary. London: The Pali Text Society.
Sahay, N. (2000). Stories about Rishis. Retrieved on September 24, 2018. From Deepamindia.com.
Sivananda, Sri Swami. (2000). Bhagavad Gita. Retrieved on August 15, 2017 From http://www.SivanandaDlshq.org/
Swaminathan. (2014). Who is a Rishi? How many types of Rishis? Retrieved on June 28, 2018. From https://tamilandvedas.com/tag/rsi/.
Werner, K. (1977). Yoga and the Ṛg Veda: An Interpretation of the Keśin Hymn (RV 10, 136).
Religious Studies, 13(3), 289-302.
Wisdom Library. (2018). Rishi, aka: Ṛṣi, Rsi; 8 Definition(s). Retrieved on June 28, 2018. From https://www.wisdomlib.org/definition/rishi.
Wisdom Library. (2018). Tapas, aka: Tāpas; 7 Definition(s). Retrieved on June 28, 2018. From https://www.wisdomlib.org/definition/tapas.