การวิเคราะห์โครงสร้างและที่มาของคำเรียกผีในภาษาล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและที่มาของคำเรียกผีในภาษาล้านนา ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์เป็นคำเรียกผีในภาษาล้านนาจากวิทยานิพนธ์และหนังสือตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2561 รวมทั้งข้อมูลจากแบบสอบถามสำนักงานวัฒนธรรม และการสัมภาษณ์ชาวล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือ ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างของคำเรียกผีในภาษาล้านนามีการนำคำ 2-5 คำมาประกอบเป็นคำเรียกผี ที่มีความสัมพันธ์ของคำแบบหน่วยหลักกับหน่วยขยาย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ โครงสร้างของคำเรียกผีที่มี 2 คำ, 3 คำ, 4 คำ และ 5 คำ พบโครงสร้างของคำเรียกผีที่มี 2 คำมากที่สุด และพบโครงสร้างของคำเรียกผีที่มี 4 คำและ 5 คำน้อยที่สุด สำหรับที่มาของคำเรียกผีในภาษาล้านนามี 15 ประเภท แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ คำเรียกผีที่มี 1 ที่มา และ 2 ที่มา พบคำเรียกผีที่มี 1 ที่มามากที่สุด รองลงมาเป็นคำเรียกผีที่มี 2 ที่มา
Article Details
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กนิษฐา พวงศรี. (2560). ผีล้านนา อำนาจไร้รูปสู่รูปลักษณ์ในงานทัศนศิลป์. วารสารวิชาการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 24(1), 131-140.
ปฏิญญา บุญมาเลิศ. (2554). คำเรียกผีและความเชื่อเรื่องผีในภาษาไทยถิ่นเหนือในหมู่บ้านป่าเสร้า หลวง ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผณินทรา ธีรานนท์ และคณะ. (2558). พะเยาศึกษา. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์แอนด์มีเดีย.
พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ แก้วเปียง). (2561). พจนานุกรมภาษาล้านนา-ไทย ปริวรรต (อักษร ก ถึง อักษร ฮ) ฉบับรวมเล่ม. เชียงราย: สยามการพิมพ์.
ไพโรจน์ สาลีรัตน์. (2549). ร้อยเรื่องล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
มนสิการ เฮงสุวรรณ. (2550). คำเรียกประเภทผีของคนไทยในชุมชนวัดสวนแก้ว ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี: การศึกษาแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
. (2557). การศึกษาระบบคำเรียกผีและมโนทัศน์เรื่องผีในภาษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาลา คำจันทร์. (2559). เล่าเรื่องผีล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 1-15. กรุงเทพฯ: สยามเพรส แมเนจเม้นท์.
ยุพิน เข็มมุกด์ และคณะ. (2550). พจนานุกรมภาษาล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: แสงศิลป์.
วิถี พานิชพันธ์. (2548). วิถีล้านนา. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.
ศุภลักษณ์ ปัญโญ. (2551). การศึกษาบทบาทของผีในนิทานพื้นบ้านล้านนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สนั่น ธรรมธิ. (2557). ร้อยสาระ สรรพล้านนาคดี เล่ม 4. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์.
. (2559). ผีในความเชื่อล้านนา. เชียงใหม่: สุเทพการพิมพ์แอนด์มีเดีย.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย. (2555). พจนานุกรมยวนล้านนา-ไทยปริวรรต. เชียงราย: ล้อล้านนา.
สุรพล ดำริห์กุล. (2542). ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พรินท์.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และคณะ. (2539). พจนานุกรมศัพท์ล้านนา เฉพาะคำที่ปรากฏในใบลาน.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2547). พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. เชียงใหม่: มิ่งเมือง.