การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

วรรณรี ปานศิริ
อภิษฎาข์ ศรีเครือดง
ปาริชาต จันทร์งาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่  กลุ่มตัวอย่างจำนวน  315 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม มีวิธีดำเนินการ 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของ ตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย  ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0 .80 ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวบ่งชี้สมรรถนะของครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่าตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่อยู่ใน 5 องค์ประกอบ 21 ตัวบ่งชี้  มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวกทั้งหมดมีค่าตั้งแต่ 0.17- 0.55  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกตัว และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์มีค่าตั้งแต่  0.10 - 0.96 มีค่า  gif.latex?x^{2}=178.14,df=169 p=0.2999,  gif.latex?x^{2}/df=1.05, GFI=0.95,AGFI=0.93,RMSEA=0.013, RMR=0.011, SRMR=0.036 


 

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

ณรงค์วิทย์ แสนคำ.(2547). มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล.(2543). Competency-based Human Resource Management. วารสารการ

บริหารคน. ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม 2543).หน้า 11-18.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง.[1 พ.ย 2561] การเรียนรู้ในสมัยหน้า:ตอนอนาคตครูไทยครูพันธ์ C .

[เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 พ.ย 2561] เข้าถึงได้จาก https://ruionlineblog.wordpress.com/ครูในศตวรรษที่-21/

ทิพวรรณ สังขศิลา. (2553). การวิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการสอนของครู

วิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ประวิทย์ รักษาแสง. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมสังคมแห่ง

การเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภา

ลาดพร้าว.

สุรชัย จิ่มมี. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการปฏิบัติงานด้านการสอนของครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 3-4. วิทยานิพนธ์การศึกษษสาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Boam, R. and Sparrow, P. (1992). Designing and Achieving Competency. McGraw-Hill,Reading,

Boyatzis,R. (1982). The competency manager: a model for effective performance.

New YorK: Wiley.

Spencer,M.,& Spencer,M.S. (1993). Competence at work: model for superiors performance. New York: John wiley &Sons.