ฉันท์นางโสภณีกับรากษส: จากเทพนิยายตะวันตกเรื่องโฉมงามกับ เจ้าชายอสูรสู่วรรณคดีแบบฉบับของไทย

Main Article Content

พัชลินจ์ จีนนุ่น

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วรรณคดีไทยเรื่องฉันท์นางโสภณีกับรากษสที่ดัดแปลงมาจาก เทพนิยายของตะวันตก ผลการศึกษาพบว่า วรรณคดีไทยเรื่องฉันท์นางโสภณีกับรากษส เป็นผลงานพระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ผู้นิพนธ์ดัดแปลงมาจากเทพนิยายของตะวันตกเรื่อง โฉมงามกับเจ้าชายอสูร (Beauty and the beast) ผู้แต่งนำมาสร้างสรรค์ใหม่ให้เป็นวรรณคดีไทยที่มีคุณค่าทั้งด้านเนื้อหาและวรรณศิลป์ เพื่อตอบสนองต่อกลุ่มผู้เสพชาวไทย โดยแต่งตามขนบของวรรณคดีชั้นครู ตั้งแต่การใช้ชื่อเรื่องและชื่อตัวละครที่มีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง มีการเริ่มเรื่องด้วยบทประณามพจน์ ในส่วนเนื้อหาของเรื่อง มีการแทรกบทชมโฉมตัวละคร บทชมปราสาทราชวัง บทชมธรรมชาติ และบทสระสรงทรงเครื่อง ส่วนท้ายเรื่อง จบแบบโศกเศร้าจากการที่ผู้อ่านเห็นตัวละครพลัดพรากจากกัน มีการปรับเปลี่ยนแก่นเรื่องจากที่มุ่งเน้นความรักระหว่างหนุ่มสาวเป็นมุ่งเน้นความรักระหว่างบิดาบุตร มีการใช้รสแห่งความเศร้าเป็นรสหลักในการดำเนินเรื่อง ทำให้ผู้อ่านได้รับอารมณ์สะเทือนใจและเพลิดเพลินไปกับตัวละคร ผู้แต่งยังปรับเปลี่ยนรูปแบบคำประพันธ์จากรูปแบบที่เป็นร้อยแก้วเป็นรูปแบบของ คำประพันธ์ประเภทฉันท์และกาพย์ที่มีความไพเราะเพราะพริ้ง โดยทำให้คำประพันธ์มีความพิเศษขึ้นด้วยการแต่งในลักษณะกลบท มีทั้งกลบทเดี่ยว และกลบทผสมหลากหลายชนิด ส่งผลให้วรรณคดีไทยเรื่องนี้มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากเทพนิยายของตะวันตก อันเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของผู้นิพนธ์ได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

พัชลินจ์ จีนนุ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชลินจ์  จีนนุ่น

อ.ด. (ภาษาไทย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

E-Mail:  [email protected]

References

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2548). ขนบวรรณคดีไทยในพระราชนิพนธ์เรื่องกาพย์เห่เรือ นิทราชาคริต และเงาะป่า. ใน วรรณวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุษดี อรสิริวรรณ. (2551). กลวิธีการดัดแปลงวรรณกรรมสามก๊กเป็นการ์ตูนสามก๊กฉบับบันลือสาส์น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชรินทร์ มหิทธิกร. (2551). สิงหไกรภพ: การศึกษาการดัดแปลงนิทานคำกลอนเป็นบทละครเวทีสมัยใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิชิตปรีชากร, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวง. (2493). ประชุมพระนิพนธ์. มปท.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2524). อิทธิพลวรรณกรรมต่างประเทศในวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุภัค มหาวรากร. (2556). “นาฏยลีลาพระมหาชนก: การสร้างสรรค์รูปแบบการนำเสนอชาดกในสังคมไทย” วารสารไทยศึกษา. 9(1). 139-163.

สุภาพร มากแจ้ง. (2534). กวีนิพนธ์ไทย 1 และ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุมาลี วีระวงศ์. (2536). “ภาษาและวรรณกรรม: เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย” ใน คือคู่มาลาสรรเสกคุณ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิตย์ ดรุนัยธร. (2558). “การสร้างสีสันใหม่ : กลวิธีการสืบสรรค์รามเกียรติ์ในรูปแบบการ์ตูนร่วมสมัย”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 6(1). 91-111.

Carter, Angela and Foreman, Michael. (1982). “Beauty and The Beast” in Sleeping Beauty & other favorite fairy tales. London: Victor gollanz.

Uther, Hans-Jorg. (2004). The types of international folklore: a classification and bibiliography based on the system of Antiti Aarne and Stith Thompson. Helsink: Suomalainen Tiedeakatemia.