อุดมการณ์ของชนชั้นกลางไทยในนวนิยายเรื่อง รัตนโกสินทร์

Main Article Content

ณปภัช  มานินพันธ์
เสาวณิต  จุลวงศ์

บทคัดย่อ

            บทความนี้มุ่งศึกษานวนิยายอิงประวัติศาสตร์ของ ว. วินิจฉัยกุล เรื่อง รัตนโกสินทร์ ซึ่งผู้วิจัยมีข้อเสนอหลักคือ แม้ว่า รัตนโกสินทร์ จะเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของเรื่องโดยใช้แนวคิดประวัติศาสตร์นิยมแบบใหม่ พบว่า นวนิยายเรื่องนี้แฝงไปด้วยอุดมการณ์ต่างๆ ที่แพร่หลายอยู่ในหมู่ชนชั้นกลางไทยในช่วงทศวรรษที่ 2520-2530 ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ว่าด้วยความเป็นปัจเจกชน อุดมการณ์ว่าด้วยการให้ความสำคัญกับความก้าวหน้า อุดมการณ์ว่าด้วยการให้ความสำคัญกับการศึกษาและอุดมการณ์ว่าด้วยการยอมรับในความไม่เท่าเทียมกันในสังคม การปรากฏของอุดมการณ์ชนชั้นกลางไทยเหล่านี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงสัมพันธภาพอันแนบแน่นระหว่างตัวบท (text) กับบริบทของการประพันธ์ (context) ซึ่งยากจะแยกออกจากกันได้

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biographies

ณปภัช  มานินพันธ์

นางสาวณปภัช  มานินพันธ์

นิสิตปริญญาโท  หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

E-Mail:  napaphat1981@gmail.com

เสาวณิต  จุลวงศ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวณิต  จุลวงศ์

อ.ด. (วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

E-Mail:    -