ลักษณะและความสัมพันธ์ของอนุภาคผู้ฉลาดและผู้โง่เขลา ในนิทานประกอบสุภาษิตเขมร

Main Article Content

พิมพ์นภัส  จินดาวงค์

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและความสัมพันธ์ของอนุภาคผู้ฉลาดและผู้โง่เขลา ในนิทานประกอบสุภาษิตเขมร จำนวน 47 เรื่อง จากหนังสือประชุมเรื่องตำนานและนิทานพื้นบ้านเขมร ภาคที่ 1-9 โดยนำดัชนีอนุภาคนิทานพื้นบ้านของสติธ ทอมป์สัน มาใช้ประกอบการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ตัวละครผู้ฉลาดปละผู้โง่เขลาในนิทานประกอบสุภาษิตเขมรมีทั้งลักษณะสากลและลักษณะเฉพาะ โดยตัวละครผู้ฉลาดที่เป็นลักษณะเฉพาะ ได้แก่ สัตว์ที่มีขนาดเล็กและอ่อนแอ ชายหนุ่มที่มีข้อบกพร่อง พ่อตา พระราชา แม่ม่าย และพระอินทร์ ส่วนตัวละครผู้โง่เขลาที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ พระสงฆ์ พี่เขย พ่อตา ชายหนุ่ม เด็กหญิง โจร พ่อแม่ ผี ยักษ์ ขุนนาง และรุกขเทวดา ตัวละครทั้งคนและสัตว์โดยมากเป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆ ในสังคมเขมร พฤติกรรมของตัวละครผู้ฉลาดและผู้โง่เขลาจึงสามารถสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคม วัฒนธรรมเขมรได้ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครผู้ฉลาดและผู้โง่เขลาพบว่ามี 5 ลักษณะ คือ 1) ความขัดแย้งระหว่างสัตว์ใหญ่กับสัตว์เล็ก 2) ความขัดแย้งระหว่างสัตว์กับมนุษย์ 3) ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ 4) ความเกื้อกูลระหว่างสัตว์กับมนุษย์ 5) ความเกื้อกูลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความสัมพันธ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นการใช้นิทานเป็นช่องทางระบายความคับข้องใจของประชาชนที่มีต่อข้าราชการและผู้น้อยที่มีต่อผู้ใหญ่ สะท้อนการสั่งสอนสมาชิกในสังคมถึงความสำคัญของปัญญา การเลือกคบมิตร การเลือกคู่ครองและการใช้ปัญญาเกื้อหนุนกันระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง นอกจากนี้ยังสะท้อนภาพชีวิตความเป็นอยู่และการปกครองสังคมของเขมรด้วย  

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ
Author Biography

พิมพ์นภัส  จินดาวงค์

อาจารย์พิมพ์นภัส  จินดาวงค์

อ.ม. ภาษาไทย (สายวรรณคดีและคติชนวิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

E-Mail:  pearlynn.pj@gmail.com

References

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด อินทจามรรักษ์