การรับรู้เสียงพยัญชนะควบกล้ำต้นพยางค์ในภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีสองรักษ์วิทยา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

Main Article Content

สิริลักษณ์ แถวอุทุม
เสาวภาคย์ กัลยาณมิตร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการรับรู้เสียงพยัญชนะควบกล้ำต้นพยางค์ในภาษาอังกฤษ และเพื่อวิเคราะห์รูปแบบข้อผิดพลาดในการรับรู้ของผู้เรียนชาวไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการฟังชนิดปรนัยแบบ 6 ตัวเลือก จำนวน 82 ข้อ คำที่ใช้เป็นคำประดิษฐ์ทั้งหมด เพื่อลดตัวแปรที่เกิดจากความคุ้นเคยกับคำศัพท์ของผู้เรียน ผลการศึกษาพบว่าผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จในการรับรู้เสียงพยัญชนะควบกล้ำต้นพยางค์ (ร้อยละ 37.14) และรูปแบบข้อผิดพลาดในการรับรู้โดยภาพรวมประกอบด้วย  ผู้เรียนไม่ได้ยินเสียงตัวที่หนึ่งของพยัญชนะควบกล้ำ (ร้อยละ 21.43) ได้ยินเสียงสระแทรกระหว่างพยัญชนะที่ควบกล้ำ (ร้อยละ 15.72) ได้ยินเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็นเสียงอื่น (ร้อยละ 11.42) ได้ยินเสียงพยัญชนะตัวที่หนึ่งเป็นเสียงอื่น (ร้อยละ 10.00) ไม่ได้ยินเสียงตัวที่สองของพยัญชนะควบกล้ำ (ร้อยละ 5.77) นอกจากนี้ยังพบว่าทฤษฎีการวิเคราะห์เปรียบต่าง (Contrastive Analysis Hypothesis หรือ CAH) และประเด็นการถ่ายโอนของภาษาที่ 1 (L1 Transfer) สามารถอธิบายปรากฏการณ์การรับรู้เสียงพยัญชนะควบกล้ำต้นพยางค์ของผู้เรียนชาวไทยได้


คำสำคัญ :การรับรู้ การรับรู้พยัญชนะควบกล้ำ พยัญชนะควบกล้ำต้นพยางค์ภาษาอังกฤษ


Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ