การสร้างคำใหม่ในภาษาไทถิ่นในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษา

Main Article Content

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล

บทคัดย่อ

การสร้างคำใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางภาษาประการหนึ่งที่พบในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษา การสร้างคำใหม่มักเกิดขึ้นจากการที่ผู้พูดที่สามารถพูดได้มากกว่า 1 ภาษานำคำเดิมหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของคำเดิมในภาษาแม่ประสมกับคำยืมหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของคำยืมจากภาษาอื่น ๆ การสร้างคำใหม่เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่พบในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ เช่น ภาษาลื้อ ขืน พวน ลาว ฯลฯ ซึ่งมีผู้พูดอาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรูปแบบหรือวิธีการในการสร้างคำใหม่ในภาษาไทถิ่นต่าง ๆ มีทั้งความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน บทความวิชาการเรื่องนี้มุ่งนำเสนอรูปแบบของการสร้างคำใหม่ที่พบในภาษาไทถิ่นภาษาต่าง ๆ จากงานวิจัยในอดีต รวมทั้งในภาษาไทถิ่น 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาคำเมือง ลื้อ ขืน พวน และลาวที่พูดในจังหวัดน่านที่ผู้เขียนเคยศึกษาวิจัยไว้ ซึ่งเป็นการนำเสนอให้เห็นภาพรวมของรูปแบบการสร้างคำใหม่ที่ปรากฏในภาษาไทถิ่นที่พูดในสถานการณ์ที่มีการสัมผัสภาษาในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2543). พจนานุกรมลาว-ไทย-อังกฤษ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จินตนา ศูนย์จันทร์. (2539). การวิเคราะห์คำศัพท์ภาษาผู้ไทย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ

ปราณี กุลละวณิชย์ และคณะ. (2527). ศัพท์ไท 6 ภาษา. ศูนย์ภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิณรัตน์ อัครวัฒนากุล. (2555). การแปรและการเปลี่ยนแปลงทางศัพท์และเสียงในภาษาไทถิ่นที่พูดในจังหวัดน่าน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์นำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

มะหาสิลา วีระวงส์. (2549). วัจนานุกม พาสาลาว. (ฉบับปรับปรุงใหม่). นครหลวงเวียงจันทน์: จำปาการพิมพ์. (เป็นภาษาลาว, พิมพ์ครั้งแรก 2503)

วรวิทย์ เลี้ยงถนอม. (2532). พจนานุกรมภาษาไทยพวน. มูลนิธิไทยพวน. (ม.ป.ท.)

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2520). ภาษาผู้ไท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระพงศ์ มีสถาน. (2543). พจนานุกรมลาว-ไทย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2550). พจนานุกรมภาษาล้านนา. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ และกันทิมา วัฒนะประเสริฐ. (2539). รายงานการวิจัยเรื่อง วิเคราะห์การใช้คำและการแปรของภาษาของคนสามระดับอายุในชุมชนภาษาลาวลุ่มน้ำท่าจีน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2532). คำจำกัดความศัพท์ในภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัญชลี บูรณะสิงห์. (2531). วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาไทยโซ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

อุทัยวรรณ ตันหยง. (2526). วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้คำของคนสามระดับอายุในภาษาลาวพวน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

Gedney, W.J. [1964] (1994). Introduction to Klang Muong Khuen. In T.J. Hudak (Ed.), William J. Gedney’s Southwestern Tai Dialects: Glossaries, Texts, and Translations (pp. 977–1020). Ann Arbor: Center for South and Southeast Asian Studies, The University of Michigan.

Haugen, E. (1950). The analysis of linguistic borrowing. Language 26, 210–231.

Haugen, E. (1953). The Norwegian Language in America: A Study in Bilingual Behavior, vol. 1: The Bilingual Community, vol. 2; The American Dialects of Norwegian. Bloomington: Indiana University Press. (Reprinted 1969.)

Hoffmann, C. (1991). An Introduction to Bilingualism. London and New York: Longman Linguistics Library.

MacKenzie, I. (2014). Lexical innovation: cromulently embiggening a language. Alicante Journal of English Studies, 27, 91–105.

Michael, I. (2013). Lexical innovation in Anaang. Studies in Literature and Language, 7(3), 81–89.

Petsuk, R. (1978). General Characteristics of the Khün Language. M.A. Thesis, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University, Nakhon Pathom.

T’Sou, B.K. (2001). Language contact and lexical innovation. In M. Lackner, I. Amelung and J. Kurtz (Eds.), New Terms for New Ideas: Western Knowledge and Lexical Change in Late Imperial China (pp. 35–56). Leiden; Boston, Mass: Brill.

Winford, D. (2013). Contact and borrowing. In R. Hickey (Ed.), The Handbook of Language Contact (pp. 170–187). UK: Blackwell Publishing Ltd.