การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอาหารประเภทสำรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา

Main Article Content

สุพิชญา สว่างวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาหารประเภทสำรับ กลุ่มสาระการเรียนรูการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนตระกูลประเทืองวิทยาคม อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับสลากได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 ห้อง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง .40-.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง .39-.94 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ .67-1.00 ดำเนินการทดลองกับกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว โดยวัดก่อนและหลังการทดลอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐาน ใช้สูตร t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 87.69/88.11 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 76.69 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
สว่างวงษ์ ส. (2021). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอาหารประเภทสำรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 544–556. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248172
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยรัตน์ มั่นสัตย์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา (CIPPA Model). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

ธิดารัตน์ เงินวิลัย. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทำงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนโมเดลซิปปา. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ครั้งที่ 6 วันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2014, 316-324.

เยาวลักษณ์ พนมพงษ์ . (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่ีเน้นทักษะกระบวนการ เรื่อง การเขียนเว็บเพจ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปา CIPPA Model (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โรงเรียนตระกูลประเทืองวิทยาคม.(2563). หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563). ยโสธร: โรงเรียนตระกูลประเทืองวิทยาคม อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28.

ลักขณา ไสยประจำ. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียน กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปากับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิภาพร เขตจํานันท์. (2556). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ธุรกิจในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มีคำสั่ง ที่ 921/2561 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี และสาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเปลี่ยนชื่อกลุ่มสาระการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563,จาก https://www.kroobannok.com/ 84395.html

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2557). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (ปี 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

เสาวภา พรหมทา. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง ธุรกิจในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.