วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir <p>วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัย วารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน นวัตกรรมการจัดการ ศิลปศาสตร์ และนวัตกรรมการศึกษาเชิงประยุกต์ </p> th-TH eitsthailand64@gmail.com (Asst. Prof. Dr.Phumphakhawat Phumphongkhochasorn) dn.2519@gmail.com (Asst. Prof. Dr.Somchai Damnoen) Tue, 31 Dec 2024 00:36:46 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัยด้วยการกิจกรรมปั้น มันดาลา ชุด “Mediclaytion” https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/281974 <p style="font-weight: 400;">งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการปั้นมันดาลาชุด “Mediclaytion” เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัย และ 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการปั้นมันดาลาชุด “Mediclaytion” เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 3จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้เครื่องมือและการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการปั้น แบบประเมินสุขภาวะขณะทำกิจกรรม แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจสำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)</p> <p style="font-weight: 400;">ผลการวิจัยพบว่า</p> <p style="font-weight: 400;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1) กิจกรรมการปั้นมันดาลาชุด “Mediclaytion” เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะองค์รวมสำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมดาวเคราะห์ดวงน้อย 2) กิจกรรมดาวเสาร์เปล่งประกาย และ 3) กิจกรรมดวงอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นสำรวจและสร้างแรงบันดาลใจ 2) ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน และ 3) ขั้นสรุปและถ่ายทอดเรื่องราว 2) ผลจากการทดลองใช้ชุดกิจกรรม พบว่า ผู้เรียนมีผลการประเมินสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะด้านจิตใจ (ร้อยละ 93.33) สุขภาวะด้านร่างกาย (ร้อยละ 82.22) สุขภาวะสติปัญญา (ร้อยละ 76.65) และสุขภาวะด้านสังคม (ร้อยละ 77.80) ตามลำดับ ผู้เรียนมีสมาธิในการทำงาน สามารถสร้างผลงานศิลปะตามความคิดจินตนาการของตนเอง มีความสุข เพลิดเพลิน รู้สึกพอใจและภูมิใจในตนเองและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้</p> ณัฐณิชา มณีพฤกษ์, อินทิรา พรมพันธุ์, พชร วงชัยวรรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/281974 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267939 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ คุณลักษณะของผู้ประกอบการ กลยุทธ์ทางธุรกิจ และแรงกดดันในการแข่งขันในภาวะวิกฤตของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2)ศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ คุณลักษณะผู้ประกอบการ และกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อแรงกดดันในการแข่งขันในภาวะวิกฤต และ3)พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้แทนบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดกลาง และผู้แทนบริษัทรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดย่อม โดยรวมทั้งสิ้นจำนวน 24 คน พร้อมทั้งการสนทนากลุ่มจำนวน 10 คน แล้วนำมาพรรณนาหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ตรวจสอบ ความถูกต้องของข้อมูล และนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบการพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพการณ์ปัจจุบันจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม และปัจจัยด้านเทคโนโลยีเป็นบทสะท้อนแรงกดดันในการแข่งขันในภาวะวิกฤตของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างโครงการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในสภาวะวิกฤตจากสถานการณ์ปัจจุบัน 2)แรงกดดันการแข่งขันในภาวะวิกฤต ได้แก่ 2.1)สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ 2.2)คุณลักษณะผู้ประกอบการ และ2.3)กลยุทธ์ทางธุรกิจ ส่งผลต่อต่อความสัมพันธ์ทางพันธมิตรในรูปแบบเครือข่ายและ3)แนวทางการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต โดยอิงสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัยดังนี้ 3.1)พันธมิตรธุรกิจในกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง 3.2)กระบวนการการจัดการภายในองค์กร 3.3)การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของธุรกิจก่อสร้าง 3.4)เทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้าง 3.5)แหล่งเงินทุนเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน และ3.6)ทักษะฝีมือแรงงานตามลำดับ</p> <p>&nbsp;</p> ธนะพัฒน์ วิริต, ภัครดา เกิดประทุม Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267939 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 Influencing Factors of the Leadership Model of Women Leaders in Small and Medium-sized Enterprises https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273594 <p>This research aims to 1) study current situation of female entrepreneurs' leadership in China, 2)To analyst the factors of foundation of the female leadership, practical consciousness, and competitive awareness direct effect female leadership model, 3) analyst mediating role practical consciousness and competitive awareness play a mediating role impact between foundation of the female leadership and female leadership model. This research was quantitative, collected data from female leadership over all China sample of 440 respondents. They were selected by simple random sampling, the instrument for collecting data was a questionnaire with a content validity (IOC) of .941 and a reliability value of Cronbach’s alpha coefficient of .825. Analysis of data via SEM by AMOS. Research found that 1) the majority of respondent 268 women entrepreneurs were born in Chinese Mainland of 64.42%, and 106 women entrepreneurs from Hong Kong and Macao SAR of 35.57%; and 42 women entrepreneurs from Taiwan Province, of 10.09%, their age between 30 to 50 years old is 184, respondents of 68.65%.<br>2) the direct effect were: foundation of the female leadership direct effect female leadership model, practical consciousness and competitive awareness. For the practical consciousness and competitive awareness direct effect female leadership model. 3) the mediating effect of practical consciousness and competitive awareness play a mediating impact foundation of the female leadership and female leadership model.</p> Lihuang Chen , Chuta Thianthai, Napaporn Khantanapha Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273594 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269908 <p>บทคัดย่อ</p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศกก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวน 388 คน โดยใช้รูปแบบการทดลองที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งมีการวัดค่าตัวแปรตามก่อนและหลังการทดลอง</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1. ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก สามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยที่นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>2. ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก สามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยที่นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>3. นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนสามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ส่งผลให้เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง รับรู้คุณค่าของตนเองตามความเป็นจริง แสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ช่วยให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข</p> <p>องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงระดับของการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก</p> ชนาพร หว่างกลาง, มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269908 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/282486 <p>การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างและพัฒนา หาคุณภาพของคู่มือนิเทศ : การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จากการใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูคณิตศาสตร์ที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูคณิตศาสตร์ ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ที่ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2563 – 2564 และเป็นสมาชิกชมรมครูคณิตศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ซึ่งได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ที่สมัครใจร่วมพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือนิเทศ : การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ 3) แบบประเมิน และเกณฑ์การประเมินนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ 4) แบบประเมินความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูคณิตศาสตร์ที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ผลการวิจัยพบว่า<br>1. ผลการสร้างและพัฒนา หาคุณภาพของคู่มือนิเทศ : การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความถูกต้องเหมาะสมของคู่มือนิเทศ : การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน <br>2. ผลการพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ จากการใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ พบว่า ครูคณิตศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนา จำนวน 30 คน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ พบว่า ครูคณิตศาสตร์มีสมรรถนะด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากการดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยรวม อยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากเป็นส่วนใหญ่ ด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ พบว่า ครูคณิตศาสตร์มีสมรรถนะด้านความมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากการดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยรวม อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับดีทุกข้อ <br>3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูคณิตศาสตร์ที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ พบว่า ครูคณิตศาสตร์มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน</p> วิรัลพัชร นิลแก้วบวรวิชญ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/282486 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์ เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268738 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างความฉลาดรู้ดิจิทัลตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) ทดลองใช้ห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์ 2.1) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ดิจิทัลระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์ 2.2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์ 2.3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านนเรศ จำนวน 16 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์ แบบวัดเชิงสถานการณ์ความฉลาดรู้ดิจิทัล แบบวัดความพึงพอใจ และแบบวัดความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.19/80.71 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์มีความฉลาดรู้ดิจิทัลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นต่อห้องเรียนจักรวาลนฤมิตเชิงสถานการณ์อยู่ในระดับมากที่สุด</p> เกียรติศักดิ์ สุพรรณคำ, วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268738 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 The operational performance of physical education in primary schools at Shanxi Province https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273595 <p>This research article aims to: 1) analyst the relationship between the dimensions of social interaction, absorptive capacity, cognitive trust, shared vision and operational performances of physical education, 2) analyst shared vision play mediating impact between social interaction, absorptive capacity, and cognitive trust on operational performances of physical education. In order to achieve this objective, the researcher has collected data from 387 core physical education teachers from 36 primary and junior high schools of various types in Shanxi were randomly selected as respondents using a convenience sampling method. The data was collected by administering a carefully designed questionnaire. When the analysis techniques were SPSS, and SEM by AMOS and applied to the collected data. Research found that: 1) Social interaction positively influences shared vision absorptive capacity. Cognitive trust positively influences shared vision. Absorptive capacity positively influences shared vision. And Shared vision positively influences the operational performance of physical education, 2) Shared vision play a mediating impact between social interaction, Absorptive capacity, and cognitive trust on operational performances of physical education.</p> Peng Zhang, Pavinee Na Srito Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273595 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 An Analysis of Course Factor Correlation Causing Undergraduate Student Withdrawals Using the Apriori Algorithm and Data Mining Methods; Department of Civil Engineering, School of Engineering, King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/272157 <p>This research employing a quantitative approach, aimed to investigate correlation between course variable factors and students’ status of being terminated of King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL) using Association Rules, Data Mining, and Apriori Algorithm. The sample were 90 Civil Engineering students of KMILT who were active from academic year 2007 to 2020. The research revealed that there was a significant factors of termination status within different groups of courses that the students enrolled. For 63.33% of first and second year students, failing (F) or obtaining low grades (D and D+) in fundamental science courses were consequently a cause of termination status. For 10% of third year students (a degree continuation of study from diploma certificate), failing or obtaining low grades in fundamental science were also a cause of termination status. For 26.67% of fourth year students, failing or obtaining low grades in specific engineering mandatory courses were consequently a cause of termination status.</p> Phubade Uthaiwattananon Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/272157 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาททางปกครอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/282530 <p>งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี แนวคำพิพากษา มาตรการทางกฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายของราชอาณาจักรไทยกับกฎหมายของต่างประเทศ 4) เพื่อจะได้นำมาตรการทางกฎหมายของประเทศที่มีความเหมาะสมมาปรับใช้กับกฎหมายราชอาณาจักรไทย ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า งานวิจัยนี้มีปัญหาที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) ประเทศไทยไม่มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง จึงควรมีการกำหนดให้มีจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองได้ตามแนวทางของกฎหมายปกครองสาธารณรัฐฝรั่งเศส 2) ปัญหาสิทธิในการคัดเลือกผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง ควรกำหนดให้บุคคลภายนอกได้รับสิทธิในการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทได้ดัง เช่น สหราชราชอาณาจักร 3) ปัญหาความขัดกันของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามกฎหมายหลายฉบับ ควรมีการกำหนดอำนาจหน้าที่เป็นกฎหมายแยกต่างหาก 4) ปัญหาวิธีพิจารณาความของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง ควรจัดทำวิธีพิจารณาความสำหรับคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองขึ้นตามหลักของสหรัฐอเมริกา องค์ความรู้จากการวิจัยนี้ คือ หากมีการแก้ไขกฎหมายให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท จะทำให้เกิดผลดีต่อการดำเนินการทางปกครองโดยอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองสามารถปฏิบัติหน้าที่ไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ข้อพิพาททางปกครองยุติลงได้โดยไม่ล่าช้า และยังเป็นการลดภาระคดีซึ่งทำให้ปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลปกครองลดน้อยลง&nbsp;&nbsp;</p> พุทธรักษา วรวงษ์, เกรียงไกร กาญจนคูหา Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/282530 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268765 <p class="xxx" style="tab-stops: 35.45pt 63.8pt;"><span lang="TH" style="font-family: 'TH Niramit AS';">บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการของกลุ่มธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย จำนวน 250 คน คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ทราบจำนวนประชากร จากสูตร </span><span lang="X-NONE" style="font-family: 'TH Niramit AS';">Cochran </span><span lang="TH" style="font-family: 'TH Niramit AS';">(1977) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ 2) ผู้ประกอบการที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน มีคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการไม่แตกต่างกัน 3) ปัจจัยลักษณะของผู้ประกอบการส่งผลต่อคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของกลุ่มธุรกิจอาหารวีแกนในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span lang="X-NONE" style="font-family: 'TH Niramit AS';">0</span><span lang="TH" style="font-family: 'TH Niramit AS';">.</span><span lang="X-NONE" style="font-family: 'TH Niramit AS';">05</span></p> ถิรวุฒิ แสงมณีเดช, เนตรชนก สูนาสวน, เชาวลิต สมพงษ์เจริญ, วิเชียร สิงห์ใหม่ Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268765 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Effectiveness of Kahoot Game-Based Learning and Social Support Coping Strategy among Undergraduate Students with Academic Problems https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273598 <p>The aim of this study was to explore the effectiveness of Kahoot game-based learning and social support coping strategy among undergraduate students with academic problems and to examine whether on how students expected about the effectiveness of using Kahoot game-based learning and social support coping strategy with academic problems among undergraduate students. In this study, the researcher applied sequential mixed method study to determine the effectiveness of the Kahoot game based-learning and social support coping strategy with academic problems among undergraduate students. A total of 379 undergraduate students participated in this study. The quantitative study was evaluated by using descriptive statistics such as mean, standard deviation, while, correlation, and regression were used to answer the research question 1 (hypothesis 1 and hypothesis 2). In addition, a qualitative study used thematic analysis to interpret the data. The regression analysis showed that Kahoot game and academic problems among undergraduate students had negative and significant relationship (R-square = 0.387; F = 22.844; Beta (β) = -0.417; T-value = -4.419; and P-value = 0.000). Meanwhile, the regression analysis found that social support coping strategy and academic problems among undergraduate students had negative and significant relationship (R-square = 0.096; F = 7.474; Beta (β) = -0.290; T-value = -2.643; and P-value = 0.000). Three students were interviews, students who agreed to participate in the study, they revealed that Kahoot game-based learning and social support coping strategy were effective among undergraduate students with academic problems. The results have significance practical implication for Thai government, university, lecturers, and undergraduate students.</p> <h1>&nbsp;</h1> Linatda Kuncharin Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273598 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในภาคใต้ของประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264291 <p>วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3) ตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคใต้ของประเทศไทย การวิจัยเป็นแบบผสมผสานมี 3 ขั้นตอน คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จากผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคใต้ 20 คน โดยใช้วิธีแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Selection) ซึ่งมีคุณสมบัติดำรงตำแหน่งบริหารไม่ไม่น้อยกว่า 1 ปี มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาโท และให้ความยินยอมและเต็มใจให้ข้อมูลในการทำวิจัย และผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน ใช้เทคนิคเดลฟาย 2 รอบ และการจัดสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน พบว่า ระดับบุคคล บุคลากรมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง มีปัญหาการจัดสรรเวลา และมีข้อเสนอแนะให้มีระบบกลไก ในการพัฒนาตนเอง ระดับทีม สภาพปัจจุบัน บุคลากรมีการจัดการความรู้ระหว่างบุคคล โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง มีปัญหาการขาดทักษะถ่ายทอดความรู้ ในระบบ eKM เสนอแนะให้มีนโยบายถ่ายโอนความรู้ด้วยระบบพี่เลี้ยง และระดับองค์กร สภาพปัจจุบัน มีการจัดการความรู้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน มีปัญหาของระบบกลไก ที่จัดการความรู้ ซึ่งเสนอแนะให้มีนโยบาย สร้างระบบกลไกและแนวปฏิบัติการจัดการความรู้ 2) รูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่ามีองค์ประกอบของระบบที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ องค์กร การเรียนรู้ คน ความรู้ และเทคโนโลยี โดยมีระบบการเรียนรู้เป็นแกนหลัก 3) ผลการตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า มีองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันทั้ง 5 ระบบ มีระบบองค์กรเป็นแกนหลัก โดยมีปัจจัยที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ วิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีการประเมินการเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ค่านิยมร่วมองค์กร เครือข่ายสังคมออนไลน์ แฟลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ <br />องค์ความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ </p> อุบลรัตน์ ศรีวิเชียรอำไพ , นิรันดร์ จุลทรัพย์ , วันชัย ธรรมสัจการ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264291 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 เบาะรองนั่งมหัศจรรย์ ลดอาการเมื่อยล้าบริเวณก้นของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273138 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนานวัตกรรมเบาะรองนั่งมหัศจรรย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความเมื่อยล้าบริเวณก้นในระยะก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมฯ และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมฯ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 10 คน ที่สมัครใจและมีความเมื่อยล้าบริเวณก้นตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เบาะรองนั่งมหัศจรรย์ แบบประเมินความเมื่อยล้า และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ได้ค่า IOC= 0.67-1.00 และ 0.67-1.00 และนำไปทดสอบหาค่าความเที่ยงกับนักศึกษาพยาบาลที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา = 0.71 กลุ่มตัวอย่างจะทดลองนั่งเบาะมหัศจรรย์ นาน 15 นาที คนละ 1 ครั้ง/การนั่งเรียนหรือนั่งทำงาน 3 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง Wilcoxon signed rank test ผลการวิจัยพบว่า<br />1. นวัตกรรมเบาะรองนั่งมหัศจรรย์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ได้ ทำให้ระดับความเมื่อยล้าบริเวณก้นก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมเบาะรองนั่งมหัศจรรย์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 (SD=0.71), 1.30 (SD=0.48) ตามลำดับ <br />2. เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับคะแนนความเมื่อยล้าบริเวณก้นก่อนและหลังการใช้เบาะรองนั่งมหัศจรรย์โดยใช้สถิติ Wilcoxon signed rank test พบว่า มีระดับความเมื่อยล้าบริเวณก้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01<br />3. มีค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจในภาพรวมหลังใช้นวัตกรรม 4.50 (SD=0.71) อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ดังนั้น นวัตกรรมเบาะรองนั่งมหัศจรรย์ที่พัฒนาขึ้นมาสามารถช่วยลดความเมื่อยล้าบริเวณก้นได้</p> ดวงเนตร ธรรมกุล, จิตราวดี แสวงสุข, พิชญธิดา ชายู Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273138 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี: ศึกษากรณีการอายัดบัญชีและการกำหนดความรับผิด ของผู้ว่าจ้างและผู้ใช้บัญชีม้า https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/282622 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎี และผลงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมาย 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการอายัดและกำหนดความรับผิดของผู้ใช้บัญชีม้าของราชอาณาจักรไทย และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายของราชอาณาจักรไทยกับกฎหมายของต่างประเทศ 4) เพื่อจะได้นำมาตรการทางกฎหมายของประเทศที่มีความเหมาะสมมาปรับใช้กับกฎหมายราชอาณาจักรไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย คือ 1.ในราชอาณาจักรไทยไม่มีการกำหนดนโยบายหรือวิธีการป้องกันไวรัสมัลแวร์ของเอกชน ดังนั้นควรมีการกำหนดนโยบายหรือวิธีการป้องกันไวรัสมัลแวร์ของเอกชนตามแนวทางของกฎหมายสหรัฐอเมริกา 2.ไม่มีเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่ตรวจจับมัลแวร์ จึงควรมีการนำเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่ตรวจจับมัลแวร์มาใช้ตามแนวทางของสาธารณรัฐสิงคโปร์ 3.การอายัดบัญชีในขณะทราบถึงการโจรกรรมด้วยตัวเอง ควรมีวิธีการการอายัดบัญชีด้วยตนเองได้ 4. ไม่มีบทกำหนดความรับผิดผู้ที่ถือครองบัญชีม้าหรือผู้ใช้บัญชีม้าที่แท้จริง จึงควรมีกฎหมายให้มีบทลงโทษชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐหรือผู้เสียหายด้วยตามหลักของสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐฝรั่งเศสเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หลักการก่ออาชญากรรม หลักอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และหลักความรับผิดทางอาญา ซึ่งจะทำให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเกิดผลสัมฤทธิ์และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น องค์ความรู้จากการวิจัยนี้ คือ แนวทางการแก้ไขพ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 โดยกำหนดนโยบายหรือวิธีการป้องกันไวรัสมัลแวร์โดยให้มีการร่วมมือกันหรือบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานทั้งรัฐภาครัฐและภาคเอกชนในการทำแผนการป้องกันไวรัสมัลแวร์</p> ศีรวิษ สุขชัย, ปริญญา ศรีเกตุ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/282622 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 Study on the Relationship between Teacher Leader and Proactive Behavior: Taking Workplace Spirituality and Teacher Grit as Moderator https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269008 <p>In the post-pandemic era, there is an urgent need to address how to successfully implement educational reforms. And teacher leader and proactive behavior are related to the success of these reforms. Therefore, the relationship between teacher leader and proactive behavior is studied. Two research programs explore the direct and indirect (moderating) roles between teacher leader and proactive behavior, with workplace spirituality and teacher grit used as mediators.</p> <p>The results show that teacher leader has a significant positive effect on proactive behavior, and workplace spirituality and teacher grit have a significant positive moderating effect between teacher leader and proactive behavior. This indicates that only with both perceived inner experience and non-cognitive interest and effort, may teacher leader adequately enhance proactive behavior.</p> <p>Finally, it is suggested that in the educational reform, the focus should be on the development and support of teacher leader and proactive behavior.</p> YaXi Ye, MingShan Zhang Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269008 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Parking System Management through Artificial Intelligence (The Case Study of Wat Ratchaddaddaramworawiharn Parking Lots) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/274062 <p>This research article focuses on the issue of insufficient public parking spaces in Rattanakosin Island, due to the increasing popularity of private cars as a mode of transportation. As a result, temple courts, which are monastery properties, are being used as makeshift parking lots. To address this challenge, the parking lot at Wat Ratchaddaddaramworawiharn, which has the largest temple court on the island and experiences high demand for parking, was used as a case study to evaluate the effectiveness of an artificial intelligence (AI) system in managing the parking lot. The results of the study showed that the implementation of the AI system led to an increase in the number of cars that could be accommodated in the parking lot, thereby improving the efficiency of the space. This study highlights the potential of AI in optimizing the use of limited public parking spaces.</p> Vijak Numnim Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/274062 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 อนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/265100 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) 2) ศึกษาแนวทางการนำอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) ไปสู่การปฏิบัติ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะคือ ใช้เทคนิค EDFR 3 รอบ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ 17 คน และการจัดสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า 1) อนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) มี 7 ประเด็น ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนิเทศ ขอบข่ายการนิเทศ วิธีการหรือช่องทางการนิเทศ กลยุทธ์การนิเทศ การบริหารจัดการนิเทศ โครงสร้างของหน่วยงานการนิเทศ และปัญหาการนิเทศ 2) แนวทางการนำอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) ไปสู่การปฏิบัติดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ขอบข่ายการนิเทศได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร Block Course, Sandbox วิธีการหรือช่องทางการนิเทศแบบผสมผสาน กลยุทธ์การนิเทศแบบจิตอาสา การบริหารจัดการนิเทศใช้การวิจัยเป็นฐาน สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอควรมีโครงสร้างหน่วยงานการนิเทศ และปัญหาการนิเทศได้แก่ ความแตกต่างระหว่างบริบทของพื้นที่</p> <p><em>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; องค์ความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้นิเทศที่ได้</em>แนวทางการนำอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) ไปสู่การปฏิบัติ</p> กาญจนา ศึกหาญ, วัน เดชพิชัย, สุจิตรา จรจิตร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/265100 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 A Cogenerative Dialogues among Pre-service STEM Teachers on Nurturing a Culturally Responsive Learning Environment for Effective STEM Classrooms and Reflexive Practices on Thai Sociocultural Issues Classroom https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273574 <p>In this study, we investigated five pre-service STEM teachers’ cogenerative dialogues during the STEM teaching method course. A cogen was conducted to understand the challenges faced by participants when they are learning how to teach STEM in K-12 schools. During the course, we intend to introduce cogen as a pedagogical tool to pre-service STEM teachers for cultivating a democratic, equitable, and student-centered classroom. We adopted a hermeneutic phenomenological approach to describe and interpret participants’ lived experiences as a learner and later a teacher of science. Hermeneutic phenomenology is an event-oriented, personal, and contextualized form of inquiry that aims to illuminate social reality through understanding the subjective life worlds of individuals (Patton 2017). We audiotaped and transcribed our interviews and cogen with participants. Data analysis through qualitative content analysis. Several themes emerged from the vignettes, including traditional teacher identity in Thailand, students’ fear of expressing themselves, and STEM education as an opportunity for cultural change. We can see that certain aspects of the Thai sociocultural context create some challenges for STEM teaching and learning: In the Thai sociocultural context, the role of the teacher is often dominant in the classroom setting. This culture's effect on teaching and learning STEM. It shows this teaching style is not common in Thailand, which means that many students have never had the opportunity to meet a good STEM teaching role model. From the findings, it is vital for STEM teachers in Thailand to shift their teaching style to a student-centered approach.</p> Vipavadee Khwaengmek, Yau Yan Wong Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273574 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาผนวกกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดลำปาง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/283356 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาผนวกกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) เพื่อศึกษาผลความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา การวิจัยในครั้งนี้จัดเป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีแบบแผนการวิจัยโดยมีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดลำปาง จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 2. แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ค่าสถิติ t-test แบบ Dependent Samples&nbsp; ของคะแนนความสามารถในการทำแบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มที่ผนวกกับกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ในแต่ละประเด็น พบว่า ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ พบว่า ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ผลเปรียบเทียบความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่ามีมุมมองที่สอดคล้องกับมติประชาคมวิทยาศาสตร์มีจำนวนสูงขึ้น</p> กรรณิกา ชื่อจริง, สุพรรณิการ์ กลิ่นคำหอม, สมศักดิ์ ก๋าทอง Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/283356 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269346 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลนำเข้าของระบบฐานข้อมูล 2) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ ระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์สายวิชาการและเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จำนวน 89 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า<br />1. ข้อมูลนำเข้าของระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แก่ ข้อมูลหลักสูตร/สาขาวิชาที่เปิดสอน ข้อมูลจำนวนนักศึกษา ข้อมูลการรับนักศึกษา ข้อมูลการคงอยู่ของนักศึกษา ข้อมูลการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ข้อมูลผลการประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ข้อมูลผลงานนักศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ข้อมูลอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ ข้อมูลคุณวุฒิอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ฯลฯ<br />2. ระบบฐานข้อมูลมีลักษณะเป็นฐานข้อมูลระบบคลาวด์ที่ใช้ข้อมูลนำเข้าทั้ง 20 ข้อมูลมาดำเนินการภายใต้ โมดูลการวางแผน โมดูลการดำเนินงาน โมดูลการประเมินคุณภาพ และโมดูลการเสนอแนวทางปรับปรุง<br />3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน อยู่ในระดับมาก</p> หฤทัย สมศักดิ์, วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย, อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269346 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/274432 <p>การบาดเจ็บที่ศีรษะ (head injury) ทำให้เกิดความเสียหายต่อสมอง (Trauma brain) เกิดความพิการทางกาย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต วิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายที่มีอิทธิพลต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ กลุ่มตัวอย่างคือเวชระเบียนของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมและหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ระหว่าง ปี พ.ศ 2563-2566 จำนวน 220 คน สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ (systematic randomization) เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion criteria) ได้แก่ เวชระเบียนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ อายุ 18 ปีขึ้นไป และได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เกณฑ์คัดออก ได้แก่ เวชระเบียนของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่เสียชีวิตระหว่างรักษาตัวในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.89 และได้ค่าความเที่ยงตรงในการวัด (Reliability) เท่ากับ 0.87</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า อุณหภูมิแรกรับ (Temperature) (β=.157) จำนวนวันนอนโรงพยาบาล (LOS) (β=-.197) ความดันโลหิต Systolic Blood Pressure (β=-.085) ร่วมกันทำนายการฟื้นตัวของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะร้อยละ 79.6 (R<sup>2</sup>=.796) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P&lt;.01</p> <p>สรุปผลการวิจัย: ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรงต้องควบคุมระดับอุณหภูมิของร่างกายแรกรับ ระดับความดันโลหิต Systolic Blood Pressure และลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล จะทำให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะดีขึ้น</p> ศิริขวัญ นาควิลัย, สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์รประทีป Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/274432 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถ ในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267210 <p>การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 360 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ&nbsp;ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีระดับความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;(x̅ = 4.43, S.D.=&nbsp;0.39) และความต้องการรระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใน 3 อันดับแรก &nbsp;ได้แก่ 1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (x̅ = 4.60 , S.D.=&nbsp;0.37)&nbsp; 2) ด้านครูผู้สอน&nbsp; (x̅ = 4.54 , S.D.= 0.46) 3) ด้านผู้เรียน&nbsp; (x̅ = 4.40, S.D.= 0.63)&nbsp;&nbsp;</p> ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล, จินตนา กสินันท์, ชัชวาล ชุมรักษา Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267210 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 Impact of Organizational Learning Culture on Instructor Innovative Behavior of Private Higher Education Institutions in Sichuan Province, China https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273592 <p>This research aims to 1) study general information of respondent, 2) analyze factors direct effect among organizational learning culture, knowledge sharing and instructor innovative behavior, 3) and&nbsp; analyze the knowledge sharing pay a mediating role between organizational learning culture and instructor innovative behavior. In order to achieve this objective, the researcher has collected data from 421 instructors of private higher education institutions in Sichuan province, China, via a simple random sampling technique has been employed. The data was collected by administering a carefully designed questionnaire. When the analysis techniques were SPSS, and SEM by AMOS and applied to the collected data, the research found that: 1) The distribution of demographic characteristics of respondents, the majority of respondent were female of 62 %, their ages between 31-40 years old of 35.6%, education level graduate master’s degree, of 56.8%, teaching experience: &lt; 5 of 28.5%, and academic title associate professor, 24.7%. 2) There are various factors such as organizational learning culture, knowledge sharing that have the impact on instructor innovative behavior. 3) In this regard, this study has been designed in order to find out the impact of organizational learning culture, on instructor innovative behavior, via knowledge sharing in the mediating role that have the significant impact. Furthermore, it was found out that the mediating impact of knowledge sharing factors is significant in the relationship of all the independent and dependent variables.</p> Zhenggang Shi , Pavinee Na Srito Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273592 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนานวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง ของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/283429 <p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ของนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดตามพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562&nbsp; และทักษะสมอง (Executive Functions) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 275 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบ 5 ระดับ แบบการสัมภาษณ์ และแบบประเมินการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">องค์ประกอบที่ได้จากการศึกษาของนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง ของผู้เรียน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน จำนวน 5 ด้าน คือ การวางแผนกลยุทธ์และนโยบายการจัดการเชิงคุณภาพงานวิชาการ (หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะสมอง) และการออกแบบการวัดผลประเมินผลการพัฒนาทักษะสมอง (EF)) การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านการส่งเสริมทักษะสมอง (EF) การบริหารงานกิจการนักเรียน (ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน) และการบริหารจัดการงบประมาณ ทรัพยากร สื่อ อุปกรณ์ 2) ปัจจัยภายนอก จำนวน 2 ด้าน คือ การสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ และเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง โรงเรียน ครอบครัว ชุมชน ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง ของผู้เรียน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน</li> <li class="show">การประเมินนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะสมองของผู้เรียน สำหรับสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ รองลงมาคือ ด้านความถูกต้อง ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสม</li> </ol> สาโรจน์ เผ่าวงศากุล, ณรินทร์ ชำนาญดู Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/283429 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269418 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้ และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม จำนวน 13 แผน 2) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br />ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 50 นักเรียนมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 33.33 และนักเรียนมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 16.67 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยม <br />ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.85 ของคะแนนเต็ม</p> สุภาภรณ์ มาแก้ว, ต้องตา สมใจเพ็ง, ทรงชัย อักษรคิด Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269418 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเพื่อความสำเร็จของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/277233 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย โดยจำแนกตามคุณลักษณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อศึกษาการจัดการองค์กรที่ส่งผลต่อระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย 4) เพื่อแนวทางการจัดการเพื่อความสำเร็จของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างใช้ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย จำนวน 20 คน และผู้แทนระดับผู้บริหารระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 400 แห่ง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณเชิงพหุ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) โครงการเมืองอัจฉริยะยังไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ มีความเหลื่อมล้ำด้านงบประมาณ การดำเนินการซ้ำซ้อน มีความคลุมเครือเรื่องสิทธิประโยชน์ การลงทุน และแหล่งทุน การจัดเก็บ และการบริหารข้อมูลขาดที่ปรึกษา และบุคลากรที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้ผ่านการรับรองให้เป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย 2) การปฏิบัติการจัดการองค์กร และระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย มีระดับการปฏิบัติในระดับน้อย และคุณลักษณะขององค์กรปกครองท้องถิ่นแตกต่างกันมีระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การจัดการองค์กรที่ส่งผลต่อระดับการเป็นเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย ได้แก่ การให้คำปรึกษา การจัดการงบประมาณ การรายงาน การวางแผน การควบคุมสั่งการ และการจัดการด้านบุคลากร 4) แนวทางการจัดการเพื่อความสำเร็จของโครงการเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย ได้แก่ 1. ภาครัฐออกข้อกำหนดให้ทุกพื้นที่เป็นเมืองอัจฉริยะ 2. ภาครัฐจัดตั้งที่ปรึกษามาดูแลองค์กรปกครองท้องถิ่น 3. ภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำแผนแม่บทโครงการเมืองอัจฉริยะแบบระยะยาว และ 4. ภาครัฐแต่งตั้งคณะกรรมการ ปรับโครงสร้างการบริหารงานให้สอดคล้องกับโครงการเมืองอัจฉริยะในระดับสากล</p> กฤษฎา แก้ววัดปริง, อนันต์ ธรรมชาลัย, ชัยวุฒิ จันมา Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/277233 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267523 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลอง ใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม) กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ 2) แบบประเมินเชิงพฤติกรรมเพื่อวัดความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ และ 3) แผนการจัดการเรียนการสอนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br />ผลการวิจัยพบว่า<br />1. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ <br />อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายขั้นตามความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ พบว่า ทุกขั้นตอนของความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพียงอย่างเดียว<br />2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05<br />ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผลการวิจัยนี้อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ และจะช่วยในการพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงประยุกต์เพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทยในการเตรียมพลเมืองสู่ศตวรรษที่ 21</p> พิมพ์ผกา ศิริหล้า, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267523 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 Corporate Performance on Science and Technology Innovation of Chinese High-Tech Listed Companies https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273593 <p>This research article aims to: 1) examine the factors impact on enterprise performance,(2)study the mediating role intermediate mechanism of science and technology innovation impact between management firm’s ability and enterprise performance of high-tech enterprises. In order to achieve this objective. This research was quantitative research, collected data from Chinese high-tech listed companies’ employees of 397 respondents. They were selected by simple random sampling, the instrument for collecting data was a questionnaire with a content validity (IOC) of .813 and a reliability value of Cronbach’s alpha coefficient of .916. Analysis of data via SEM by AMOS. The research result was found as follow: )Capacities in managing positively impact on enterprise performance, scientific and technology innovation. Learning oriented approach to tax relief administration positively impact on scientific and technology innovation. Management support impact on scientific and technology innovation. And scientific and technology innovation impact on enterprise performance.2) the mechanism of science and technology innovation Play mediating role impact between management firm’s ability and enterprise performance of high-tech enterprises. These results of the study are having various theoretical, practical and policy making implications as discussed by the author</p> <p>&nbsp;</p> Wang Chunqiang, Pavinee Na Srito Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273593 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 Studying the Chinese philosophy “He-he” for teaching music students at Yuxi Normal University, Yunnan, China https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269475 <p>The purposes of this study are: (1) To study the Chinese philosophy “He-he” and music teaching design. (2) Constructing the “He-he” music teaching design guidebook. (3) Teaching the music students in experimental group by using “He-he” music teaching design guidebook. (4) To evaluate the result of teaching.</p> <p>This research was mixed-method research. The qualitative research was conducted by interviewing 8 experts. The population was 100 students from senior students majoring in music education, at Yuxi Normal University, Yunnan Province, China. The sample group was 10 students who are the top 10% of seniors in overall academic performance. Purposeful sampling be used in the reasearch phase.</p> <p>The research findings were: (1) Chinese philosophy "He-he" is a core thought in Chinese culture. If it is applied to music teaching design, students can better understand the underlying logic of teaching and improve the ability of teaching design. (2) The "He-he" music teaching design guidebook is divided into two parts, six chapters. The first part is the theoretical part, including the first and second chapters. The chapter one is related to the Chinses philosophy "He-he", and the chapter two is Chinese Music Aesthetics and Music Education based on "He-he" culture. The second part is the practical part, which contains chapters three to six, Chapter three is "He-he Min Sheng", Chapter four is "Tian Ren He Yi", Chapter five is "He Wei Gui", and chapter six is "He Er Bu Tong". (3) The teaching experiment lasts for 15 classes, each of which lasts 45 minutes. Through knowledge explanation, case analysis, practical training and other ways to complete the teaching content. (4) The evaluation of this teaching experiment is conducted by means of formative test and summative test. Every student received a final grade of pass or above. The average score of formative tests is 78, and that of summative test is 80, which is 2 points higher than that of formative test.</p> Fan Yuxiang, Panya Roongruang Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269475 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268789 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังในการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง 2. เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุงโดยวิธีระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหาร จำนวน&nbsp; 5 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ จากครูผู้สอน จำนวน 269 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่น .984 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาการประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุงเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการปฏิบัติการ ด้านผลลัพธ์ ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านบุคลากร ด้านการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ด้านกลยุทธ์ และด้านการนำองค์กร&nbsp; 2) แนวทางการพัฒนา โรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง สู่ความเป็นเลิศ ควรมีควรสร้างเครือข่ายภายในโรงเรียนเอกชนด้วยกันเองและโรงเรียนเอกชนต่างกลุ่ม ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ ในชุมชน และควรเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยพัฒนาผู้เรียนรายบุคคลอย่างเต็มศักยภาพ</p> เรืองฤทธิ์ สุวรรณรัตน์, สุดาพร ทองสวัสดิ์, จรัส อติวิทยาภรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268789 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการการกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/266548 <p>วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 3 ประการ คือ 1)เพื่อศึกษาการจัดการการกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย และ3)เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน และการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 20 ท่านแล้วนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปและการใช้สถิติเชิงพรรณนาเชิงอ้างอิง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า การจัดการการกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทุกตัวแปรสามารถร่วมทำนายผลการดำเนินงานได้ร้อยละ 89 นอกจากนี้ผลจากการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย อาทิเช่น 1) การยกระดับคุณภาพขององค์การการกีฬาให้สูงขึ้น 2) การสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เครือข่ายกีฬาในต่างจังหวัดและ 3)ขีดความสามารถของผู้ฝึกกีฬาและผู้จัดสินที่อยู่ในระดับสูง และ3) แนวทางการจัดการการกีฬาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวได้แก่สิ่งต่อไปนี้คือ 1)จะต้องพยายามสร้างนักกีฬาชั้นเยี่ยมให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และ2)นโยบายทางด้านกีฬาจะต้องนำไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และแผนการศึกษาต้องระบุให้ชัดเจน อาทิเช่น 1) ช่วยให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องการออกกำลังกายและการกีฬาขั้นพื้นฐานและ 2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มวลชนออกกำลังกายและเข้าร่วมในกิจกรรมทางด้านกีฬา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทย</p> ธันย์ปวัฒน์ เตชภูวดลวิทิต Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/266548 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268861 <p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และสภาพปัจจุบันสำหรับการสร้างรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2)สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐ ในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3)ประเมินรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา<br />เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี เริ่มต้นด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาต่อมาดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ <strong> </strong>โดยวิธีการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าผลการสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาหลักการ แนวคิด สามารถสังเคราะห์รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ได้ 9 ด้าน 61 ข้อ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าครูผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 18.4 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 81.6 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการสกัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักใช้วิธีหมุนแกนแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่ามี 8 ด้าน 42 ข้อ ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยตั้งชื่อองค์ประกอบของแต่ละด้านใหม่และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงสอดคลอง พบว่า ตัวแปรแฝงทุกตัวมีความเชื่อมั่นเพียงพอสามารถนำมากำหนดรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 โดยจัดสนทนากลุ่ม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ มี 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านการบริหารงบประมาณที่มุ่งเป้าหมายภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ 4) ด้านการบริหารงบประมาณที่มุ่งเป้าหมายภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ 5) ด้านการจัดการเรียนการสอน 6) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน 7) ด้านการวัดและประเมินผล 8) ด้านความเป็นเลิศ</p> <p>ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา และสถานประกอบการในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง</p> ณิชชา กองเงิน, จรัส อติวิทยาภรณ์, ตรัยภูมินทร์ ตรีตรีศวร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/268861 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 Factors influencing students' learning willingness in online art classroom of Chengdu Private University https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267529 <p>In this study, students majoring in art design who participated in online art classes in Chengdu Private University were selected as research objects to study the factors influencing students' willingness to learn behavior. The factors studied in conceptual framework included perceived usefulness (PU), performance expectancy (PE), behavioral intention (BI), satisfaction(SA), self-efficacy (SE), social influence (SI), as well as perceived behavioral control (PBC). Research design, data and methodology: After data collection, 512 questionnaires were collected and after review for validation, 500 questionnaires remain for the data analysis. Purposive sampling and quota sampling were used in the sampling procedures. Before the data gathering, the content validity and reliability of questionnaire was tested by Item-Objective Congruence (IOC) and pilot test (n=30). After the data collection, the Structural equation model (SEM) and confirmatory factor analysis (CFA) are used in combination to verify the verification hypothesis and goodness of fit of the model studied. Results: According to the seven hypotheses, it is found that the main factor affecting students' willingness is the perceived behavioral control (PBC).</p> Jingzhi Zhang, Satha Phongsatha Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267529 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดการเรียนรู้กลุ่มสาระศิลปะ (ทัศนศิลป์) เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ โดยใช้กิจกรรมแบบสมองเป็นฐาน (BBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนกลุ่มสถานศึกษา กลุ่ม 9 สำนักงานเขตพื้นที่การปฐมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267933 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 <br />2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้ และ3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระศิลปะ (ทัศนศิลป์) เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์โดยใช้กิจกรรมแบบสมองเป็นฐาน (BBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนกลุ่มสถานศึกษากลุ่ม 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกอกวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มี จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ สาระทัศนศิลป์ เรื่องพื้นฐานงานศิลป์ จำนวน 9 แผน <br />2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) ประสิทธิภาพของชุดการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 91.95/92.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้</p> <p>2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้กลุ่มสารศิลปะ (ทัศนศิลป์) เรื่องพื้นฐานงานศิลป์ โดยใช้กิจกรรมแบบสมอเป็นฐาน (BBL) โดยการวิเคราะห์หา ค่า EI เท่ากับ 0.7777 หมายถึง นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.77</p> <p>3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> กำพล กุลศรี, เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม, อัครชัย ทับสกุล Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267933 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองของเกษตรกรชาวไรและไร่มันสำปะหลังอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/283075 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง และสร้างครอบครัวแกนนำการเปลี่ยนแปลงที่สามารถพึ่งตนเองได้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรอาสาสมัครจำนวน 300 คนเจาะจงเฉพาะผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรกรผู้เปลี่ยนชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการดำเนินชีวิตภายใต้แนวคิดหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้โปรแกรม LISREL ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลภาคสนามโดยสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะกับเกษตรกรแกนนำ 20 ครอบครัวที่เข้าร่วมขับเคลื่อนเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า <br>1. การเพิ่มศักยภาพในการทำการเกษตรตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้พัฒนาคู่มือให้ความรู้หลักสูตรเกษตรกรผู้เปลี่ยนแปลงชีวิตที่เน้นให้เข้าใจวงจรชีวิตในไร่อ้อยและมันสำปะหลัง การวิเคราะห์ต้นทุนการดำรงชีวิตและการทำเกษตร ลดการพึ่งพาอาหารจากภายนอกตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า โมเดลสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือ ผลการทดสอบค่าไคสแควร์เท่ากับ 46.81 (P=0.924)<br>2. การเปลี่ยนแปลงการดำรงชีพจากวิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตลาดสู่วิถีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีครอบครัวเกษตรกรแกนนำ 20 ครอบครัว ได้ผ่านการประเมินและออกแบบพื้นที่ในบริเวณบ้านสร้างแหล่งอาหาร และขยายผลจัดสรรพื้นที่ไร่อ้อยและไร่มันสำปะหลัง สามารถลดรายจ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบปรุงอาหารอาหารเฉลี่ยอาทิตย์ละ 54 บาท และมีรายได้เพิ่มเฉลี่ยอาทิตย์ละ 150 บาท <br>3. การสร้างครอบครัวแกนนำการเปลี่ยนแปลง 20 ครอบครัวที่สามารถพึ่งตนเองในด้านความมั่นคงทางอาหารบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีครอบครัวแกนนำได้ผ่านการประเมินการเปลี่ยนแปลง เกิดการร่วมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ภูน้ำหยด เกิดนวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงในการดำรงชีวิตเกษตรกร 4 นวัตกรรม ประกอบด้วย 1) บัญชีครัวเรือนและสมุดต้นทุนประกอบอาชีพ 2) แผนผังพื้นที่อาหารของครอบครัว 3) เครือข่ายเกษตรกรในชุมชน 4) ศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์นายยศ และ 5) มีศูนย์ถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันเมล็ดพันธุ์แก่เกษตรกร คือ ไร่พุทธานิเวศน์ภูน้ำหยด</p> พระมหาบุญเลิศ ช่วยธานี, พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร, พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ, อาภากร ปัญโญ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/283075 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269065 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ <br />2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 306 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05<br />ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน <br />2. การเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการคิดค้นเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ด้านความเป็นเลิศส่วนบุคคลและด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยด้านการคิดค้นเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม สถานศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก ด้านความเป็นเลิศส่วนบุคคล สถานศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่และด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สถานศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> พงษ์ศธร ชมท่าไม้, มิตภาณี พุ่มกล่อม Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269065 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฉีดยา ใต้ชั้นผิวหนังของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล ใน 10 สถาบันการศึกษาพยาบาลเครือข่าย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/276835 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา R&amp;D (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนังของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลจาก 10 สถาบันการศึกษาพยาบาลเครือข่าย ตามกรอบแนวคิดของ “ADDIE Model” แบ่งการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ (Analysis) ประเมินความต้องการแก้ปัญหาการเรียนการสอน 2) การออกแบบ (Design) นวัตกรรมต้นแบบหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนังจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การพัฒนา (Development) หน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง 4) การนำไปใช้ (Implementation) โดยนักศึกษาและอาจารย์พยาบาล 5) การประเมินผล (Evaluation) การใช้นวัตกรรมหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง ในสถาบันการศึกษาพยาบาลเครือข่าย 10 สถาบัน ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2) วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก<strong><br /></strong>3) คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ 4) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนียะลา 5) คณะพยาบาลศาสตร์แม่โจ้ <br />6) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตปัตตานี <br />8) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 9) คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ 10) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา คณะพยาบาลศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาและอาจารย์พยาบาลจาก 10 สถาบัน ได้แก่ นักศึกษา จำนวน 292 คน และอาจารย์พยาบาล จำนวน 102 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินประสิทธิภาพของหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง<br />2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ หน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนัง โดยเครื่องมือได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) ได้ค่าเท่ากับ .74 และการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (reliability) เท่ากับ .72 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดย SPSS version 26</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพและความพึงพอใจด้านการใช้งานและการออกแบบของนวัตกรรมสื่อการสอนหน้าท้องจำลองยางพาราสำหรับฝึกฉีดยาใต้ชั้นผิวหนังของนักศึกษาและอาจารย์พยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 (SD=0.44) และ 4.50 (SD=0.75) ตามลำดับ โดยพบว่าประสิทธิภาพและความพึงพอใจสูงสุดของนักศึกษาเป็นเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน และความไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีความสะดวกต่อการใช้งาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 (SD=0.53) และ 4.67 (SD=0.59) ตามลำดับ เช่นเดียวกับอาจารย์พยาบาลที่มีผลประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจสูงสุดในเรื่องมีความปลอดภัยในการใช้งาน และไม่ยุ่งยากซับซ้อนมีความสะดวกต่อการใช้งาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 (SD=0.50) และ 4.63 (SD=0.60) ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดนวัตกรรมสื่อการสอนที่สอดคล้องกับการใช้งานของนักศึกษาและอาจารย์พยาบาล ให้ความรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ และสามารถฝึกฝนทักษะได้เสมือนจริง เป็นการส่งเสริมความเป็นมาตรฐานทางวิชาชีพและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในอนาคต</p> ชัชวาล วงค์สารี, ศศวรรณ อัตถวรคุณ, วัลยา ตูพานิช, องค์อร ประจันเขตต์, กันตพร ยอดใชย, จิณพิชญ์ชา สาธิยมาส Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/276835 Tue, 31 Dec 2024 00:00:00 +0700