https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/issue/feed
วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
2023-03-30T21:18:41+07:00
Asst. Prof. Dr.Phumphakhawat Phumphongkhochasorn
eitsthailand64@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย </strong>มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการแก่นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ และนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัยวารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านการศึกษาเชิงประยุกต์และสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 3 ท่าน เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p>
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258409
ประสิทธิผลการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบล ของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
2022-02-14T13:51:04+07:00
โสภณา รักวัฒนศิริกุล
muaysopana.457@gmail.com
พิภพ วชังเงิน
muaysopana.457@gmail.com
<p>ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กเล็กในแต่ละท้องถิ่น แต่ยังต้องพัฒนาประสิทธิผลการบริหารหลายประการ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสถานภาพ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้สอน และครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 231 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 ข้อ และประสิทธิผลการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 26 ข้อ จำแนกเป็น 7 ด้าน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างความแตกต่าง โดยการทดสอบค่าเอฟ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี อยู่ในระดับมากทุกด้าน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.04, S.D. = .29) เรียงตามลำดับ คือ ด้านการวางแผน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.17, S.D. = .44) ด้านการงบประมาณ ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.11, S.D. = .43) ด้านการจัดองค์การ ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.10, S.D. = .44) ด้านการบริหารงานบุคคล ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.06, S.D. = .45) ด้านการอำนวยการ ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 4.02, S.D. = .38) ด้านการประสานงาน (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.86, S.D. = .44) และด้านการรายงาน ( <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />= 3.82, S.D. = .49) ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลของอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี จำแนกตามสถานภาพผู้บริหาร คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้สอน และครูผู้ดูแลเด็ก ในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการบริหารบุคคล ด้านการประสานงาน ด้านการงบประมาณ และประสิทธิผลการบริหารในภาพรวมสำหรับผู้ตอบแบบสอบถามที่มีสถานภาพแตกต่างกันมีประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการอำนวยการ ส่วนประสิทธิผลการบริหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านการรายงานไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258212
การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
2022-02-28T09:39:40+07:00
จักรพันธ์ แก้วพันธ์
ashamachao@gmail.com
พิภพ วชังเงิน
pipobvachungngern@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการและปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 306 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว</p> <p>ผลวิจัยพบว่า (1) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 โดยรวมมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ที่ปฏิบัติงานในขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการในภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258424
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
2022-02-14T14:04:00+07:00
วันทนา งามเนตร
krujane2005@gmail.com
วรรณรี ปานศิริ
wannaree.pan@rmutr.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาจากปัจจัยในแต่ละด้าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 304 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน จำนวน 39 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสมการถดถอยพหุคูณโดยวิธี Enter</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านการบริหาร และด้านจิตวิทยาสังคมมีความสัมพันธ์กับความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านการบริหาร และด้านจิตวิทยาสังคม ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาและสามารถพยากรณ์ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาได้ร้อยละ 74.20 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ</p> <p> Y<sub>i</sub> = 0.393 + 0.097(X<sub>1</sub>) + 0.176(X<sub>2</sub>) + 0.294(X<sub>3</sub>) + 0.341(X<sub>4</sub>)</p> <p> สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z<sub>i</sub> = 0.094(ZX<sub>1</sub>) + 0.244(ZX<sub>2</sub>) + 0.321(ZX<sub>3</sub>) + 0.334(ZX<sub>4</sub>)</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาและนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาต่อไป</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258341
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
2022-02-14T11:45:25+07:00
รัชนก ไทยรักษ์
rtmooki1994@gmail.com
สมใจ สืบเสาะ
somjai.sub@rmutr.ac.th
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 304 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตร ทาโร่ ยามาเน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำแนกตามตำแหน่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที และสถิติค่าเอฟ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่าการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป และด้านการบริหารงบประมาณ 2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง โดยภาพรวมตำแหน่งผู้บริหารกับหัวหน้างานและครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และ ด้านการบริหารทั่วไป ตำแหน่งผู้บริหารกับหัวหน้างานและครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับการปฏิบัติด้านการบริหารวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับ วุฒิการศึกษาต่างกันต่างกันค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการปฏิบัติด้านการบริหารงบประมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับวุฒิการศึกษาต่างกันต่างกันค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการปฏิบัติด้านการบริหารงานบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวุฒิการศึกษาต่างกันต่างกันค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนการปฏิบัติด้านการบริหารทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258481
Rapid Needs Assessment for Business Situations Management of a Selected Water Park Business in Nakhon Sawan Province During the COVID-19 Pandemic
2022-02-25T11:47:52+07:00
Karuna Seechompoo
sunflower_caresun@hotmail.com
Watunyoo Suwannaset
suwannaset@hotmail.com
Paranee Pongkeaw
p_pongkeow@yahoo.com
<p>This research article aims to (1) investigate the adverse impacts that affect the business situation of one Water Park in Nakhon Sawan province, (2) prioritize the organization's business management needs during the COVID-19 pandemic, and (3) examine the possible solutions to the adverse impacts from COVID-19 outbreak. A participatory qualitative research study was conducted with 12 executives (high-level management) of the Water Park business. Co-researchers (informants) were selected by the purposive sampling technique based on the criterion sampling technique. An In-depth interview and focus group interviews were chosen as the primary data collection techniques. Since this study was conducted with one Water Park business, the study was a case study data analysis. The research results found that the impacts of the COVID-19 epidemic on organizations, such as income scarcity, difficulties in operating the business, and employee sentiments, were issues that needed to be addressed urgently.</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258362
บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
2022-02-14T12:05:40+07:00
จุรีพร นิลแก้ว
churiphonmeyer@gmail.com
สมใจ สืบเสาะ
somjai.sub@rmutr.ac.th
<p>การบริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีคุณภาพและมีศักยภาพพร้อมที่จะพัฒนาประเทศชาติและดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 329 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ ทดสอบสถิติค่าที สถิติค่าเอฟ และวิเคราะห์ความแปรปรวน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>ด้านบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 พบว่า บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มาก</li> <li>ด้านการเปรียบเทียบ บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/257785
สมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
2022-02-03T19:48:10+07:00
วริษา สิทธิคง
newwarisa.2735@gmail.com
สมใจ สืบเสาะ
somjai.sub@rmutr.ac.th
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 326 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่าเอฟ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน <br />ผลการวิจัยพบว่า <br />1. ระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่าสมรรถนะด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก<br />2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การทำงาน โดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/261651
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2022-06-25T15:29:54+07:00
ธเนศ บุญยืน
thanet.b@ku.th
ชานนท์ จันทรา
feducnc@ku.ac.th
ต้องตา สมใจเพ็ง
fedutts@ku.ac.th
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับการใช้คำถาม 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมวัดด่านสำโรง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จากทั้งหมด 10 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับการใช้คำถามสำหรับพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ประกอบด้วย 5 ขั้นคือ ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 2 ระบุข้อมูลหรือความรู้ที่ต้องใช้ ขั้นที่ 3 วางแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ดำเนินการแก้ปัญหา และขั้นที่ 5 สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อสรุปร่วมกับผู้อื่น 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับการใช้คำถามสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับการใช้คำถามสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258375
การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
2022-02-14T11:52:52+07:00
ภูษณาภรณ์ นาคทิพย์วรรณ
maprang.32740@gmail.com
สมใจ สืบเสาะ
somjai.sub@rmutr.ac.th
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลที่ใช้สำหรับการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ทฤษฎีของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2543 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 296 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลัก ธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>วิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดของสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05</li> </ol> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ เพื่อการบริหารสถานศึกษาโดยใช้หลักธรรมาภิบาล</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/257879
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
2022-02-03T19:51:00+07:00
ปรียาภรณ์ ธีระวรากุล
ammayduza@gmail.com
สมใจ สืบเสาะ
somjai.sub@rmutr.ac.th
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนก ตามอายุ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 349 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก</li> <li>เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</li> </ol> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258380
การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1
2022-02-14T11:58:30+07:00
สายชล นาคทิพย์วรรณ
saichon@pkn2.go.th
สมใจ สืบเสาะ
somjai.sub@rmutr.ac.th
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2564 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 296 คน ใช้วิธีกำหนดขนาดของตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเป็น แบบสอบถาม ค่าความเชื่อทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน<br />ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดของสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมมีความแตกต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05<br />องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258171
ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
2022-02-28T09:38:46+07:00
นฤมล มณีแดง
numonbio52@gmail.com
สมใจ สืบเสาะ
somjai.sub@rmutr.ac.th
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการบริหารงานวิชาการและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จากปัจจัยในแต่ละด้าน</p> <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 304 คน โดยวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ระดับปัจจัยในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพทั่วไปของสถานศึกษา และด้านผู้ปกครองและชุมชน ตามลำดับ</li> <li>ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา<br />ผลการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ผลการวัดผลและประเมินผล ผลการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา ผลการนิเทศการศึกษา ผลการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และผลการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</li> <li>4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านสภาพทั่วไปของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.872 สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 76.00 และสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้</li> </ol> <p>สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ</p> <p>Y ̂ = .775 + .330(X1) + .195(X2) + .169(X3) + .126(X4)</p> <p>สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน</p> <p>Z ̂ = .385(Z1) + .217(Z2) + .185(Z3) + .145(Z4)</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้พัฒนางานบริหารวิชาการของสถานศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258407
ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
2022-02-23T12:57:20+07:00
ณัฐริกา ประเสริฐสาย
nuttarika_banana@hotmail.com
พิภพ วชังเงิน
Pipobvachungngern@gmail.com.com
<p>งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำนวน 294 คนได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล<br />คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที ค่าเอฟ และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ แอลเอสดี</p> <p>ผลการวิจัย (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามขนาดโรงเรียนแตกต่างกันพบว่ามีภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะควรศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดอื่น ๆ ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา เพื่อการบริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258187
ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
2022-02-21T00:01:47+07:00
ศิลปิน ทิพย์นพคุณ
gsinlapin@gmail.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษาและ 3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 291 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จ ของ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าเอฟโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ </p> <p>ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ย คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการมีบารมี ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 2) ด้านเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา พบว่ามีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258323
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา กลุ่มที่ 1-8 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
2022-02-25T11:40:30+07:00
พิมลพรรณ สว่างสิงขร
ann2optimus@gmail.com
วรรณรี ปานศิริ
wannaree.pan@rmutr.ac.th
<p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 276 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนโสตศึกษา</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/257995
การเคลื่อนไหวทางสังคมของสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้: จากปัญหาปากท้องสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
2022-01-30T22:40:25+07:00
สุนทร รักษ์รงค์
naowaratkhwan@gmail.com
<p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อตั้งสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวทางสังคม และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนายางพาราทั้งระบบ<br />ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้จำนวน 49 คน โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ที่ปรึกษา กรรมการ และผู้แทนองค์กรภาคีอื่น ๆ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม<br />ใช้ข้อมูลเชิงเอกสารมาประกอบการสังเคราะห์ และนำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ก่อตั้งขึ้นจากผลกระทบของสถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำอันเป็นการจุดชนวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาราคายางพารา แต่เมื่อการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบเดิม เช่น การชุมนุมประท้วงหรือการปิดถนนไม่บรรลุเป้าหมาย สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้จึงปรับแนวทางโดยเลือกใช้ 6 ยุทธวิธีหลักในการเคลื่อนไหวทางสังคม ได้แก่ 1) การประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายองค์กรพันธมิตร 2) การสร้างพื้นที่ทางวิชาการ 3) การช่วงชิงอำนาจรัฐบางส่วน 4) การเดินสองขา 5) การสร้างแนวร่วมระดับชาติ 6) การสร้างแนวร่วมในเวทีโลก โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 3 ประการ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของเกษตรกรชาวสวนยาง 2) การขับเคลื่อนแนวคิดสวนยางยั่งยืนสู่การปฏิบัติให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และ 3) การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมสำหรับการพัฒนายางพาราทั้งระบบเพื่อแก้ปัญหาปากท้องเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างยั่งยืน</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258403
การมีส่วนร่วมการจัดการข่าวปลอมของเครือข่ายชุมชนศึกษากรณี เครือข่ายเฝ้าระวังข่าวปลอมชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
2022-02-23T13:01:38+07:00
นรภัทร ปลื้มวงศ์
nrphathrplumwngs@gmail.com
ชุลีรัตน์ เจริญพร
Plumewong@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเฝ้าระวังข่าวปลอม ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) และ 2) แนวทางการจัดการข่าวปลอม (Fake news) เป็นงานวิจัยเชิงโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การลงพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ประธานเครือข่ายเฝ้าระวังข่าวปลอม ชีวิตวิถีใหม่ (News Normal) ผู้ดำเนินรายการคุยถึงแก่น ช่อง NBT2HD <br />เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ รองผู้กำกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และตัวแทนศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การวางรากฐานอย่างชัดเจนในการบริหารจัดการเครือข่ายฯ เพื่อให้เกิดความมั่นคง โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้สมาชิกภายในกลุ่มมีส่วนร่วมในการจัดการข่าวปลอม โดยใช้วิธีการสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วม การรู้เท่าทัน การตรวจสอบ วิเคราะห์แยกแยะ ให้สมาชิกได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความเป็นไปเป็นมาของกระบวนการจัดการข่าวปลอม รับรู้ วิธีการตรวจสอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการข่าวปลอมที่จะเกิดขึ้น มีการกำหนดแนวทางในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันภายในกลุ่มทำให้การบริหารจัดการของกลุ่มเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน 2) กระบวนการในการจัดการข่าวปลอมจำเป็นต้องอาศัยการดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ดำเนินการทั้งมาตรการเชิงรับและเชิงรุก ประกอบด้วย 4 ด้านหลัก คือ 1. การสร้างความร่วมมือ 2. การตรวจสอบ 3. การส่งเสริมความรู้ 4. การบังคับใช้กฎหมาย </p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/261041
การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2022-05-26T09:53:04+07:00
รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์
rungarun@tni.ac.th
วิษณุ เพ็ชรไทย
wisanu@tni.ac.th
พีรยา เศรษฐพัฒน์
Peeraya@tni.ac.th
ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์
kairung2011@yahoo.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอยเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 250 คน ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างที่ใช้ความน่าจะเป็น (Probability Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA (F-test) และ<br />ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Person Correlation) ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรที่สามารถทำนายความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ ศักยภาพในการปรับตัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (X<sub>3</sub>) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 1.002 หมายความว่า หากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีศักยภาพในการปรับตัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (X<sub>3</sub>) เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะมีผลทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้น 1.002 หน่วย</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/262021
ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
2022-07-02T02:08:57+07:00
ศรีทรงพล ศรีฤกษ์
srisongphon@yahoo.com
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของเครซี่ และ มอร์แกน ได้จำนวน 205 โรง โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 2 คนประกอบไปด้วย ได้แก่ 1) ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และ 2) ครูผู้รับผิดชอบงานความสัมพันธ์ชุมชน จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ (1) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (2) การสอนทักษะการพึ่งพาตนเองแก่นักเรียน และ (3) ปลูกฝังเรื่องจริยธรรมและความสุจริตแก่องค์กร 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้รับยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิว่า มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/261961
ผลของการใช้วิธีสอนแบบซิปปาที่มีผลต่อความฉลาดรู้การอ่านและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง
2022-07-02T02:07:01+07:00
แก้วนภา ทองเทศ
kaewnapa1995@gmail.com
แสน สมนึก
Saensomnuk22@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองใช้แนวคิด การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย<br />คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา 2) แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้การอ่าน และ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้รูบริก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกันและสถิติการทำสอบทีชนิดเปรียบเทียบข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. ความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/258419
บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2
2022-02-23T13:03:16+07:00
ศิริพร อิ่มชื่น
imchuen22@gmail.com
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและขนาดของสถานศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรีเขต 2 จำนวน 318 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว</p> <p>ผลการวิจัย (1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกันและขนาดของสถานศึกษาแตกต่างกัน ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/260146
กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกทุเรียนไทยไปประเทศจีนเพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากโควิด
2022-04-20T10:44:26+07:00
พรทิพย์ ตันติวิเศษศักดิ์
pornthip.tan@dpu.ac.th
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า
adilla777@yahoo.com
สุภาพ วงศ์ศรีสุนทร
suphab.won@dpu.ac.th
<p>ทุเรียนเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้หลักให้ประเทศไทยโดยส่งไปประเทศจีนมากที่สุด การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกทุเรียนชาวไทยไปยังประเทศเป้าหมายหลัก เมื่อสภาวะการณ์เปลี่ยนไปธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกทุเรียนเพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากภาวะโควิด 2) กระบวนการดำเนินธุรกิจทุเรียนเพื่อการส่งออก 3) การใช้กลยุทธ์ระดับองค์กรของธุรกิจ 4) การใช้กลยุทธ์ระดับการแข่งขันของธุรกิจ และ 5) การใช้กลยุทธ์ระดับหน้าที่ของธุรกิจ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคเดลฟายกับผู้เชี่ยวชาญการส่งออกทุเรียน 17 ท่าน เน้นผู้ส่งออกไปประเทศจีน สถิติที่ใช้คือ มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิภาครัฐอีก 2 ท่านเพื่อยืนยันผลข้างต้น ผลการศึกษาพบดังนี้ 1)ผู้ประกอบการปรับคุณภาพทุเรียนตามที่ลูกค้าต้องการ ปรับการจัดการให้ได้ตามมาตรฐานในเวลาที่ต้องการ ปรับความสามารถในการจัดการกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด ปรับปรุงชื่อเสียงและเครดิต ปรับทรัพยากรบุคคลและเครือข่ายให้เข้มแข็ง ปรับการบริการและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำเข้าต่างชาติ 2) กระบวนการดำเนินธุรกิจส่งออกทุเรียน คือ รับซื้อและคัดเลือกทุเรียน ควบคุมวิธีการใช้น้ำยา เวลาการตั้งโป่ง การแพ็คทุเรียนใส่กล่อง ขึ้นทุเรียนใส่ตู้Container แจ้งเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรมาตรวจเช็ค ปรับอุณหภูมิตู้ ปล่อยตู้และขนส่ง ส่วนใหญ่ใช้วิธีการส่งออกทางอ้อม ผู้ส่งออกต้องมีเอกสารที่สอดคล้องกับมาตรการตรวจสอบสินค้าเกษตร 3) การใช้กลยุทธ์ระดับองค์กรของธุรกิจส่งออกทุเรียนเป็นแบบเติบโตทั้งแนวดิ่งและแนวนอน 4) การใช้กลยุทธ์ระดับการแข่งขันเป็นแบบมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่าง มีคู่แข่งสำคัญคือทุเรียนจากมาเลเซีย 5) การใช้กลยุทธ์ระดับหน้าที่มีการปรับหน้าที่ต่าง ๆ คือการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินและโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากโควิด</p>
2023-03-30T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2022 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย