วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir <p>วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า และเพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการในมิติเพื่อสนับสนุนการศึกษา การสอน การวิจัย วารสารมุ่งเน้นบทความทางด้านการศึกษา นวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา หลักสูตรและการสอน นวัตกรรมการจัดการ ศิลปศาสตร์ และนวัตกรรมการศึกษาเชิงประยุกต์ </p> สถาบันเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัยแห่งสุวรรณภูมิ (สนว.) th-TH วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย 3027-6446 องค์ประกอบภาวะผู้นำสร้างแรงบันดาลใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264462 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำสร้างแรงบันดาลใจของ</p> <p>ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย</p> <p>เอกสาร ซึ่งดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบภาวะผู้นำสร้างแรงบันดาลใจ</p> <p>ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 14 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำสร้างแรงบันดาลใจของ</p> <p>ผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้นำสร้างแรงบันดาลใจของผู้บริหารสถานศึกษา</p> <p>ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่</p> <p>แบบศึกษาเอกสารวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำสร้างแรงบันดาลใจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน</p> <p>คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา</p> <p>จะต้องมีความกล้าที่จะเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีการกำหนดเป้าหมาย และการเผยแพร่วิสัยทัศน์ 2) ความน่าเชื่อถือไว้วางใจ ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการบริหารงาน มีความซื่อสัตย์ รักษาคำพูด และรู้จักการให้เกียรติและเคารพผู้อื่น</p> <p>3) ความกระตือรือร้น ผู้บริหารสถานศึกษามีการเอาใจใส่และมุ่งมั่น ปฏิบัติงานทันที&nbsp; และหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ 4) การมองโลกในแง่ดี ผู้บริหารสถานศึกษามีความมั่นใจในตนเอง รับรู้ความสามารถของตนเอง มีความคิดเชิงบวก และมีรูปแบบการอธิบายเหตุการณ์ในทางที่ดี และ 5) การมีส่วนร่วม</p> วีรศักดิ์ กรมแสนพิมพ์ Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 541 555 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียง ในจังหวัดนครปฐมผ่านอัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมประเพณี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/271697 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ภาษา ทัศนคติต่อภาษา วัฒนธรรม ประเพณี การจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุและผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงในจังหวัดนครปฐม และ 2) เพื่อหาแนวทางและสร้างรูปแบบโมเดลการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ผ่าน อัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงในจังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวคิดทางภาษาศาสตร์ แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ แนวคิดการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และแนวคิดทางการตลาด เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียง จำนวน 60 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า<br>1. ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงส่วนใหญ่ยังสามารถพูดภาษาลาวครั่งและลาวเวียงของตนได้ดี โดยเลือกพูดเฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว แต่สำหรับทัศนคติต่อภาษานั้น กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งลาวครั่งและลาวเวียงส่วนมากต้องการให้ลูกหลานพูดภาษาชาติพันธุ์ได้ รวมถึงอยากอนุรักษ์ให้ลูกหลานได้เรียนรู้และยังคงมีการใช้อยู่สืบไป<br>2. ผลการวิจัยแนวทางและสร้างรูปแบบโมเดลการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ผ่านอัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงในจังหวัดนครปฐมนั้น มีเหตุปัจจัยของความสำเร็จ คือ สมาชิกในชุมชนต้องร่วมมือร่วมใจ คิด ทำ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสมเหตุสมผล</p> สิริวรรณพิชา ธนจิราวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 556 579 การจัดการความเสี่ยงจากอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนแออัด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264131 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการจัดการความเสี่ยงจากอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนแออัด 2)ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการจัดการความเสี่ยงจากอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนแออัด และ3)เสนอแนะแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนแออัด เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชน จำนวน 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วนำมาพรรณนาหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบมีเหตุผลอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูล</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1)สภาพปัญหาชุมชนที่แออัดเป็นบทสะท้อนสภาพทางกายภาพที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิดปัญหาอัคคีภัยที่ชัดเจนจากวิถีชีวิตแลพคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ 2)ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการจัดการความเสี่ยงจากอัคคีภัย มีผลมาจากลักษณะของสภาพพื้นที่ชุมชนที่แออัดของบ้านเรือนที่กระจายตัว โดยไม่มีการวางแผนผังล่วงหน้า ไม่มีการจัดเตรียมระบบสาธารณูปโภค ซึ่งล้วนส่งผลต่อการระงับอัคคีภัยเบื้องต้นของชุมชน พร้อมทั้งการขาดความรู้ ความเข้าใจในส่วนของแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งล้วนส่งผลต่อการระงับอัคคีภัยเบื้องต้นของชุมชน และ3)แนวทางการจัดการความเสี่ยงจากอัคคีภัยในพื้นที่ชุมชนแออัด โดยเฉพาะชุมชนในการให้ความสนใจและส่งเสริมการป้องกันอัคคีภัยจากการจัดการความรู้ที่ถูกต้อง เหมาะสมกับบริบทของชุมชน จากการส่งเสริมให้ความรู้ที่เหมาะสมจากการเตรียมความพร้อม และการป้องกันอัคคีภัยภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ โดยมุ่งเน้นการปลูกจิตสำนึกและสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในชุมชนในการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันและระงับอัคคีภัยต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> ธมนวรรณ เสมี Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 580 591 ผลการเรียนรู้เพลงพัดชาและเพลงลาฆูวอด้วยโปรแกรม Sibelius ที่มีต่อ ทักษะการจeและทักษะการบรรเลงเปียโนของเด็กอายุ 9-12 ปี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/266545 <h1><strong>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้เพลงพัดชาและลาฆูดูวอด้วยโปรแกรม Sibelius ที่มีต่อ 1) ทักษะการจำ 2) ทักษะการบรรเลง 3) ความสนใจ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย&nbsp;&nbsp;&nbsp; เชิงปริมาณใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมเป็นแนวคิดการวิจัย พื้นที่วิจัยคือโรงเรียนแปซิฟิกโลกดนตรีและศิลปะ จังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมายจำนวน 12 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด 1) เพลงพัดชาและลาฆูดูวอที่เรียบเรียงสำหรับเครื่องเปียโนด้วยโปรแกรม Sibelius 2) แผนการฝึกเพลงพัดชาและลาฆูดูวอ 3) แบบประเมินทักษะการจำเพลงพัดชาและลาฆูดูวอ 4) แบบประเมินทักษะการบรรเลงเพลงพัดชาและลาฆูดูวอ 5) แบบประเมินความสนใจการฝึกเพลงพัดชาและลาฆูดูวอวิ เคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยเทคนิค Repeated Measures Designs ผลการวิจัยพบว่า&nbsp;&nbsp;</strong></h1> <h1><strong>1) ผลของการเรียนรู้เพลงพัดชาและลาฆูดูวอด้วยโปรแกรม Sibelius ที่มีต่อทักษะการจำของเด็กอายุ 9-12 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</strong></h1> <h1><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) ผลของการเรียนรู้เพลงพัดชาและลาฆูดูวอด้วยโปรแกรม Sibelius ที่มีต่อทักษะการบรรเลงของเด็กอายุ 9-12 ปี มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</strong></h1> <h1><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3) ผลการเปรียบเทียบความสนใจต่อการเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</strong></h1> <h1><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ข้อค้นพบจากงานวิจัยพบว่าการบันทึกโน้ตเพลงในโปรแกรม Sibelius เพื่อเป็นสื่อการฝึกเปียโน สามารถเพิ่มทักษะการจำและทักษะการบรรเลงได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก่อให้เกิดประโยชน์ในการฝึกเพลงเปียโนที่มีความยากและซับซ้อนได้</strong></h1> จักรวิดา เหล็กนิ่ม Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 592 607 การศึกษาผลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางอารมณ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273865 <h1>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางอารมณ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางอารมณ์ของนักศึกษาวิชาชีพครูที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มในระยะก่อนทดลอง หลังทดลอง และติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิจำนวน 460 คนและนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีค่าเฉลี่ยการตระหนักรู้ทางอารมณ์ต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 ลงมาและมีความสมัครใจเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดการตระหนักรู้ทางอารมณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 2) รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางอารมณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียวแบบวัดซ้ำ</h1> <p>ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่ม จำนวน 10 ครั้ง ครั้งที่ 1 การสร้างสัมพันธภาพ ครั้งที่ 2 การมีสติรับรู้ทางด้านร่างกาย ครั้งที่ 3 การระบุอารมณ์ความรู้สึก ครั้งที่ 4-5 การวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึก ครั้งที่ 6-7 การตระหนักในอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น ครั้งที่ 8-9 การแสดงออกทางอารมณ์ ครั้งที่ 10 การยุติการให้คำปรึกษา ดำเนินการครั้งละ 1.30 - 2 ชั่วโมง&nbsp; 2) ผลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางอารมณ์ของนักศึกษาวิชาชีพครู ใน ระยะหลังทดลองและระยะติดตามผลนักศึกษาวิชาชีพครู มีการตระหนักรู้ทางอารมณ์สูงกว่าระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> อภิชาติ มุกดาม่วง Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 608 625 แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิด เมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/272829 <h1><strong>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้าน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตในการศึกษานี้ รูปแบบการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต และผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) ทั้ง 3 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน โดยนำข้อมูลจาก&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กลุ่มตัวอย่างขนาด 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม 2 ขั้นตอน คือ การทดสอบความเที่ยงตรง พบว่า คำถามทุกข้อ ได้ค่า IOC &gt; 0.5 และค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และการตรวจสอบ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ค่าความเชื่อมั่นจากกลุ่มตัวอย่างเสมือนจริงที่ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 ตัวอย่าง &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาสูงกว่า .70 ในทุกด้าน</strong></h1> <h1><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงสำหรับการทดสอบสมมติฐานโดยใช้โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกันใช้ค่า t- test Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธี Least -Significant Different (LSD) &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า</strong></h1> <h1><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1. ระดับความสำคัญคุณภาพแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความพร้อม (Availability) รองลงมา ด้านความปลอดภัย (Security) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเข้าถึง (Accessibility</strong></h1> <h1><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2. แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนกับปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</strong></h1> <h1><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3. แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากจัดลำดับความสำคัญแนวทางการแนวทางการพัฒนาระบบ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมือง ผู้ให้ข้อมูลหลักให้ความสำคัญ ด้านความพร้อม (Availability) ด้านความปลอดภัย (Security) และด้านข้อ</strong>มูลข่าวสาร (Information)&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</h1> อัมพร ช่วยสุข Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 626 642 กลยุทธการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264174 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทย 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยงทางการการคลังท้องถิ่น กับกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมือง 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองของกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมือง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี ประกอบด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหาร ของเทศบาลเมืองกลุ่มตัวอย่าง รวม 21 ราย ทำการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 400 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพียรสัน และสมการถดถอยเชิงพหุ</span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย &nbsp;1) ด้านการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทยพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยง กับกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลัง มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางถึงปานกลางค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยงทางการการคลังท้องถิ่น สามารถพยากรณ์กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมือง ร้อยละ 64.1</span></span></p> กำธร สร้อยพรรณา Supatra Yodsurang Vorsit Chareonputch Chawarit Chaosaengrat Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 643 658 การจัดการนวัตกรรมการให้บริการผู้โดยสาร ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267281 <p>This qualitative research aims to examine passenger service innovation management at Suvarnabhumi Airport by analyzing its context, identifying problems, and proposing an innovative management model. 16 key informants, 6 employees of Airports of Thailand Public Company Limited and 10 passengers who used the service at Suvarnabhumi Airport were interviewed, and participatory and non-participatory observation was conducted. Data were collected by in-depth interviews and analyzed by substantive analysis.</p> <h3><span style="font-size: 12.0pt; font-weight: normal;">Research results (1) The context of passenger service innovation management context consists of policies, criteria, principles, operational processes and agencies responsible for innovation management. (2) Problems of innovation management, consisting of (2.1) For the organizational leaders, it was found that delayed decision making was inconsistent with the changing context because there were many steps in the operation. (2.2) In terms of corporate strategy, it was found that the implementation of the strategy was delayed due to the impact of the COVID-19 crisis that has closed airspace around the world (2.3) In terms of participation, it was found that employees at the operational level lacked participation in decision-making. (2.4) Regarding organizational culture, it was found that the patronage system was a major obstacle in adopting innovation. (2.5) In terms of organizational structure, it was found that the structure of a large organization attached to the bureaucratic system causing delays in operations and (3) An innovation management model for passenger service, which is an initiative in the following issues: (3.1) Leaders must be professionals strategic leadership become a change executive (3.2) There is a clear strategic plan in accordance with the changing environment context (3.3) Opportunity for stakeholders to participate in innovation management. (3.4) Create values suitable for organizational development, moral knowledge and (3.5) the organizational structure must be appropriately sized, not a burden on the budget clear communication system.</span></h3> สิทธินนท์ ปานนิมิตจิตสมาน Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 659 673 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/274434 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (A cross-sectional analysis) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพขชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง&nbsp;&nbsp; ต่อมน้ำเหลืองในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อายุ 18 ปีขึ้นไป ยินยอมให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถาม เกณฑ์คัดออก คือ ผู้ป่วยมี ไม่สามารถสื่อสารและเข้าใจภาษาไทยได้ ขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้โปรแกรม G*Power จำนวน 150 ราย สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้หลักความน่าจะเป็น (probability) ด้วยวิธีหยิบฉลาก เครื่องมือ คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดคุณภาพชีวิต The Functional Assessment of Cancer Therapy-General Version 4 ฉบับ ภาษาไทย (FACT - G) ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา CVI เท่ากับ 0.96, 0.89 ตามลำดับ ส่วนค่าความเที่ยงของการวัด (Reliability) เท่ากับ 0.87, 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์อำนาจทำนายด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression)</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.4 และปัจจัยด้านภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาเคมีบำบัด และปัจจัยด้านชนิดของมะเร็ง มีอิทธิพลร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ร้อยละ 33.2 (R<sup>2</sup>=.332) และภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาเคมีบำบัด (β=-.557) มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยสูงกว่าชนิดของมะเร็ง (β =-.141)&nbsp; อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P&lt;.05</p> <p>สรุปผลการวิจัย คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านภาวะแทรกซ้อนหลังได้รับยาเคมีบำบัด และชนิดของมะเร็งมีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิต และพบว่าอาการของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังได้รับยาเคมีบำบัด คือ ผมร่วง อ่อนเพลีย การรับรสและกลิ่นเปลี่ยนไป ความอยากอาหารลดลง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก และมีแผลในปาก</p> อุไรวรรณ ขาวผ่อง สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 674 686 การพัฒนาชุดทดสอบอย่างง่ายในการตรวจวิเคราะห์แกมมา-ไฮดรอกซี บูเทอริก แอซิด (Gamma-hydroxybutyric acid, GHB) และแกมมา- บิวทีโรแลคโทน (Gamma-butyrolactone, GBL) ในเครื่องดื่ม สำหรับการประยุกต์ใช้ทางนิติวิทยาศาสตร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/263657 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาชุดทดสอบอย่างง่ายในการตรวจวิเคราะห์สาร Gamma-hydroxybutyric acid (GHB) และ Gamma-butyrolactone (GBL) ในเครื่องดื่ม 2) เพื่อศึกษาผลของสภาวะการวิเคราะห์ที่เหมาะสม และการรบกวนของสีของเครื่องดื่มในการวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบอย่างง่าย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวัดสีเพื่อตรวจหาสารประกอบเชิงซ้อนสีม่วงจากปฏิกิริยาของการทดสอบเฟอริกไฮดรอกซาเมตของ GHB และ GBL ได้สารประกอบที่มีสีม่วง ตัวอย่างที่ใช้เป็นGHB และ GBL ทีเติมลงในเครื่องดื่มที่นำมาทดสอบประกอบไปด้วย น้ำเปล่า, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5%, น้ำโซดา และน้ำอัดลมสีต่างๆ รวมทั้งสิ้น 10 ชนิด &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดทดสอบสามารถตรวจวิเคราะห์ได้ทั้ง GHB และ GBL (2) ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่วิเคราะห์ได้ (LOD) คือ 0.47 มก./มล. และ 1.05 มก./มล. สำหรับ GHB และ GBL ตามลำดับ (3) ผลการทดสอบพบว่าไม่มีการรบกวนของแอลกอฮอล์ คาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายในน้ำ สารให้ความหวาน และสีของเครื่องดื่มภายใต้สภาวะการวิเคราะห์ (4) ชุดทดสอบที่พัฒนาขึ้นเป็นวิธีที่รวดเร็ว ใช้งานง่าย และพกพาสะดวก ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นศักยภาพของชุดทดสอบในการตรวจวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ของ GHB และ GBL ที่มีอยู่ในเครื่องดื่ม</p> ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 687 702 การศึกษาและการจัดทำแผนการสร้างฝายมีชีวิต ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264618 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การศึกษาปัญหาการขาดแคลนน้ำของชุมชน จำเป็นต้องศึกษาบริบทของชุมชนเพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์เหตุปัจจัยของปัญหา การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างฝายมีชีวิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม 2) เพื่อจัดทำแผนการสร้างฝายมีชีวิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคประชาสังคม ที่ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก รวมจำนวน 13 คน ด้วยวิธีการเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจำแนกส่วนประกอบของข้อมูลและอธิบายความเชื่อมโยงของข้อมูลอย่างเป็นระบบ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) พื้นที่บริเวณชุมชนบ้านหัวโกรก หมู่ที่ 7 ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ และปัจจัยด้านสังคม มีความเหมาะสมต่อการสร้างฝายมีชีวิต 2) การจัดทำแผนการสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ 1) การทำเวทีประชาเข้าใจ 2) การใช้พลังจิตอาสา และ 3) การร่วมสร้างกติกาการใช้ประโยชน์จากฝายมีชีวิต&nbsp; ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ ได้รูปแบบการบริหารจัดการน้ำร่วมกันของชุมชน เพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร การฟื้นฟูระบบนิเวศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน</p> <p>&nbsp;</p> <p><strong>คำสำคัญ</strong><strong>:</strong> &nbsp;ฝายมีชีวิต, กระบวนการมีส่วนร่วม, ภาคประชาสังคม</p> เทวิน สมยาเย็น Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 703 717 กลยุทธ์การธำรงรักษาและความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273102 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบกลยุทธ์การธำรงรักษาและความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การธำรงรักษาและความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ 3) เพื่อประเมินและยืนยันกลยุทธ์การธำรงรักษาและความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี&nbsp;&nbsp;&nbsp; ราชมงคลที่มีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง ความมีประโยชน์ และมีความเป็นไปได้ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุน 370 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและการสัมมานาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>1) องค์ประกอบกลยุทธ์การธำรงรักษาและความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 4 องค์ประกอบ คือ 1. องค์กรที่มั่นคง 2. การบริหารและการจัดการองค์กร 3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ 4. ประสบการณ์และความก้าวหน้าในอาชีพ</p> <p>2) กลยุทธ์การธำรงรักษาและความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มั่นคงและยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 2 การบริหารและการจัดการองค์กรสู่ความสำเร็จ กลยุทธ์ที่ 3 การจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน และกลยุทธ์ที่ 4 การสร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ</p> <p>3) ผลการประเมินและยืนยันกลยุทธ์การธำรงรักษาและความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 4 กลยุทธ์ มีความเหมาะสม มีความสอดคล้อง ความมีประโยชน์และมีความเป็นไปได้</p> ชัยณรงค์ สิริพรปรีดา Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 718 738 การพัฒนาแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความขัดแย้ง ของผู้พักอาศัยในชุมชน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264181 <p>การวิจัยวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาลักษณะสภาพปัจจุบันในการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความขัดแย้งของผู้พักอาศัยในชุมชน 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความขัดแย้งของผู้พักอาศัยในชุมชน และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความขัดแย้งของผู้พักอาศัยในชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด จำนวน 10 คน ผู้บริหารของบริษัทรับบริหารนิติบุคคลอาคารชุดหรือผู้จัดการอาคารชุดพักอาศัย จำนวน 10 คน และผู้อยู่อาศัยในอาคารชุด จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลจากการวิจัยพบว่า</p> <p>1)ลักษณะสภาพปัจจุบันพบว่า 1.1)ความเป็นส่วนตัว 1.2)จำนวนผู้อยู่อาศัย 1.3)สถานะทางสังคม 1.4)วัตถุประสงค์การอยู่อาศัย และ1.5)สภาพแวดล้อม ส่งผลต่อสภาพปัจจุบันในการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความขัดแย้งของผู้พักอาศัยในชุมชน</p> <p>2) ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความขัดแย้งของผู้พักอาศัยในชุมชน มีผลมาจาก 2.1)กฎหมายเกี่ยวกับอาคารชุด 2.2) สภาพแวดล้อมทางสังคม 2.3) สภาพเศรษฐกิจ 2.4) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และ2.5) การขัดแย้งด้านผลประโยชน์&nbsp; และ3)แนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อลดความขัดแย้งของผู้พักอาศัยในอาคารชุด มีการประชุมปรับฟังความคิดเห็น โดยสร้างการรับรู้ถึงสิทธิในการจัดการการเงินในชุมชนเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้พักอาศัยต่อไป</p> กิตตินันท์ ขำดี Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 739 752 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269055 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3)ศึกษาความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ&nbsp; ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ 2) แบบวัดความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การฟังเพลงเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในบทเพลงและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมองและระบบประสาท ขั้นที่ 2 การตอบสนองต่อเสียงด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย ขั้นที่ 3 การแก้ไขการตอบสนองและการแสดงออกด้วยการสังเกต ขั้นที่ 4 การใช้สัญลักษณ์ทางดนตรีในการนำเสนอประสบการณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนได้รับ 2) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 77.11/83.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 และความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซของนักเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซและการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11</p> ชินวัตร อ่อนสุ่น อังคณา อ่อนธานี Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 753 768 The Impact of Reflective Videos for Learning About Research Methods: A pilot study of a reflective video activity during Covid-19 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/263677 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">This article aimed to study (1) the use of reflective videos for teaching complex subjects such as research methods, and (2) the perceptions of the students regarding how the reflective videos helped them learn about this complex subject. </span></span></span></span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">The sample was university students at a Thai university studying research methods. </span></span></span></span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">The instrument for collecting data was from videos and comments posted on an online video platform called Soqqle, as well as a survey done by 22 of the participating students. </span></span></span></span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">The analysis was done with both descriptive statistics and analysis of the student comments about the reflective video activities. </span></span></span></span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">The research results were found as follows:</span></span></span></span></span></span></span></span></p> <ol> <li class="show"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">While reflective videos enabled the students to share ideas with and learn from each other, there were some issues with students posting repetitive comments or not engaging with the reflective video activity in a way that led to mutual learning for all.</span></span></span></span></span></span></span></span></li> <li class="show"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">The time watching the reflective videos did not correlate with student perceived learning</span></span></span></span></span></span></span></span></li> <li class="show"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">Reflective video activities did not lead to a significantly better understanding of perceived knowledge gain of research methods among the students studying research methods. </span></span></span></span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">participants, but did lead to more critical reflection of their mindsets and attitudes towards research methods.</span></span></span></span></span></span></span></span></li> <li class="show"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">A large majority of the students reported that the reflective videos were a good way to review and recall what was learned, as well as discover new ways of looking at issues discussed in class.</span></span></span></span></span></span></span></span></li> </ol> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">This study proposes that reflective video learning can work well with students who are highly motivated and engaged, but not so well with students who are less engaged with learning about research methods. </span></span></span></span></span></span></span><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">The study provides insight on when reflective videos can be most effective and offers suggestions for other learning activities that could assist with the learning of research methods.</span></span></span></span></span></span></span></span></p> Ray Wang Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 769 791 การศึกษาสถานภาพการดูแลเด็กเล็ก กรณีศึกษาสถานรับเลี้ยงเด็ก/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ดำเนินการในสังคมไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264642 <p>การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ <strong>1) ศึกษาสถานภาพการดำเนินการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังคมไทย และ 2) ศึกษาแนวทางการสนับสนุน ส่งเสริมการดูแลเด็กเล็กของศูนย์ ฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 8 แห่ง การสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ครูผู้ดูแล เจ้าหน้าที่ในสังกัดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้บริหารศูนย์ ฯ และผู้ปกครอง </strong></p> <p><strong>ผลการศึกษาพบว่า </strong>การดำเนินการขับเคลื่อนและพัฒนาเด็กปฐมวัยในสังคมไทย มีความร่วมมือการดำเนินงานระหว่าง 4 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้การดูแลของหน่วยงานโดยเฉพาะในแต่ละช่วงวัย <strong>0-5 ปี โดยการดำเนินการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 ศูนย์ ฯ </strong>มีนโยบายแนวทางการสนับสนุน กำกับการดูแลการดำเนินงาน<strong>แตกต่างกัน ภายใต้การสังกัดหน่วยงาน</strong>ที่แตกต่างกัน<strong> และ </strong><strong>3 ศูนย์ ฯ ที่ไม่สังกัดหน่วยงาน ใช้แนวทางการดำเนินการภายใต้นโยบายของภาครัฐกำกับการดำเนินการโดยไม่ได้รับการสนับสนุนใด ๆ จากหน่วยงาน</strong></p> <p><strong>ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ </strong>1.การดำเนินการของศูนย์ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละพื้นที่เอื้ออำนวยการดูแล การสร้างเสริมความเข้มแข็งของเด็ก ๆ ในพื้นที่ 2.การดำเนินการของศูนย์ ฯ สร้างประโยชน์ต่อแรงงานสตรีในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน 3.นโยบายการสนับสนุนของหน่วยงานที่สังกัด มีความแตกต่างกัน มีจุดอ่อน จุดแข็งที่แตกต่างกัน แต่มีส่วนเอื้อที่สำคัญในการแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง และสนับสนุนการดูแลเด็กเล็ก 4.แนวทางการสนับสนุน หน่วยงานที่สังกัดควรมีแนวทางสนับสนุนในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มขึ้น นอกไปจากการสนับสนุนการจัดตั้ง การจดทะเบียนที่ถูกต้อง</p> <p>&nbsp;</p> ชุลีรัตน์ เจริญพร Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 792 810 องค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273202 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบองค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 331 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 1 คน คือผู้อำนวยการสถานศึกษา รวมทั้งสิ้น 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบยืนยันองค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li class="show">องค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การส่งเสริมความก้าวหน้าพัฒนาสมรรถนะใหม่ 2) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล 3) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ภายใต้ระบบคุณธรรม 4) การสรรหาเชิงรุกคัดเลือกคนดีและเก่งเข้าทำงาน 5) การสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อประชาชน 6) การพัฒนาผู้นำที่มีสมรรถนะสูง</li> <li class="show">ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน</li> </ol> <p>&nbsp;</p> พิชามญฐ์ แซ่จั่น Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 811 827 Boosting Digital Entrepreneurial Career Intention of Higher Education Students from the BBA Perspectives https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264252 <p>There is a lot of interest in digital entrepreneurship, and digital technology is an important tool for entrepreneurial operations. In Thailand, as a result of a difficult job environment and changing labor market, fostering a digital entrepreneurial aim for business management students has received important governmental consideration. In this study, the researcher proposes a framework for understanding the antecedents of digital entrepreneurship intention among Thai BBA students. Quantitative research was conducted using a questionnaire. A total of 400 business management students participated in the study. The results were collected by the purposive sampling technique. The PLS-SEM analytical procedures were used for testing and validating the hypotheses. The findings revealed that conscientiousness through intrinsic motivation for being an entrepreneur was the most influential antecedent influencing digital entrepreneurial career intention. The study’s implications are significant for educational institutions, business incubators, and other stakeholders and highlight areas for future research.</p> Thadathibesra Phuthong Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 828 853 รูปแบบการลดต้นทุนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม กรณีศึกษา เกษตรกรสมาชิกศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดขอนแก่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/263858 <p>The objectives of this article are: 1) to study on all direct costs and hidden costs of silkworm rearing of farmers who were members; 2) study on income of farmers in sericulture of members; and 3) study on cost reduction model and compare income obtained from cost reduction activities of farmers. For analysis, costs of silkworm rearing of farmers were classified. Research methodology was mixed method. Concepts or theories Value Chain Analysis, 4 M, theories on costs and production costs were used as the research framework. The key informants were 17 sericulture farmers and experts related to sericulture. Research tools were: 1) Interview Form; 2) Observation Form and content analysis. The results were concluded in the form of descriptive results. The results revealed that:</p> <p>The results of the first objective revealed that farmers had 3 costs of sericulture including direct costs, variable costs, and hidden costs. &nbsp;</p> <p>The results of the second objective revealed that total costs could be classified as follows: Farmers had to bear variable costs caused by uncontrollable external factors followed by hidden costs in each procedure of agricultural process and direct costs caused by normal wear and tear of devices used in sericulture. Consequently, farmers had to have high total costs with lower income.&nbsp;</p> <p>The results based on the third objective revealed that there were 3 cost reduction models of silkworm rearing process including: 1) application of resources; 2) processing of excessive products; and 3) implementation of technological models in process.</p> <p>Important findings of this research on cost reduction model were: 1) application of resources; 2) processing of excessive products; and 3) implementation of technological models in process.</p> <p>Keywords:&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; cost reduction model, sericulture, direct costs, hidden costs&nbsp;&nbsp;</p> ศุภณัฐ จรพุทธานนท์ Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 854 871 การรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการ สายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/265182 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) บรรยายสภาพทั่วไปของการรับรู้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลความภักดีของผู้รับบริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนต่ำ&nbsp; จำนวน 404 คน สถิติที่ใช้ 1) สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุ</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษามีการรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการตลาดเกี่ยวกับประเด็นทางสังคมการตลาดมุ่งแก้ปัญหาสังคม ส่งเสริมการรับรู้ประเด็นปัญหาสังคม การบริจาคเพื่อการกุศล อาสาช่วยเหลือชุมชน และประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม ตามลําดับ โดยตัวแปรทุกตัวมีการกระจายตัวของข้อมูลเข้าใกล้โค้งปกติ แต่มีความโน้มเอียงไปทางค่ามาก 2) การรับรู้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการตลาดเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม การตลาดมุ่งแก้ปัญหาสังคม การบริจาคเพื่อการกุศล และอาสาช่วยเหลือชุมชน ส่งผลต่อความภักดีของผู้รับบริการสายการบินต้นทุน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัว ร่วมกันอธิบายอิทธิพลของการรับรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อต่อความภักดีของผู้รับบริการสายการบินต้นทุน ได้ร้อยละ 41</p> อาภาภรณ์ จิระกูลวัฒน์ Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 872 888 การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานตามหลักภควันตภาพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273299 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; </strong>The purposes of this research were to determine 1) the factors of the exercise of power of school administrator 2) the factors the components of the performance secondary schools of Ubiquitous Principle and 3) the exercise of power of school administrator affecting the performance of secondary school toward Ubiquitous Principle. The sample group consisted of 96 secondary schools. The respondents in each school were the school director, A head of the learning group and A committee of school commission, totaling 288 respondents, the complete returned to 81 secondary schools, totaling 246 respondents, accounting for 85.42 percent. The research tools consisted of 1) a semi-structured interview form and 2) an opinionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation exploratory factor analysis, Confirmatory Factor Analysis and Stepwise Multiple Regression Analysis.</p> <p>The research results were found as follows;</p> <ol> <li>The factors of the exercise of power of school administrator consist of 5 components; Communicating, Commanding, Goal setting, Control and monitoring and Expertise.</li> <li>The factors of the performance of secondary school toward Ubiquitous Principle.</li> <li>The factors of exercise of power by secondary school administrator affecting the performance of the secondary school toward Ubiquitous Principle consisted found 4 factors: Commanding, Goal setting, Control and monitoring and Expertise. There were predicted the performance of secondary school toward Ubiquitous Principle about 68.60 percent.</li> </ol> ขวัญนภา อุณหกานต์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 889 904 แบบจำลองของการจัดการเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ของเทศบาลเมืองหัวหิน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264335 <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการจัดการความพร้อมของการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลเมือง หัวหิน 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความพร้อมการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะกับความพร้อมการจัดการของเทศบาลเมืองหัวหิน 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองที่สามารถพยากรณ์ความพร้อมการจัดการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลเมืองหัวหิน</span></span></p> <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 1) แนวคิดสมาร์ทซิตี้ เมืองอัจฉริยะ 2) ทฤษฎีการจัดการและการจัดการเมือง 3) แนวคิดและทฤษฎีปัจจัยที่จัดการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ 4) รูปแบบการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่อัจฉริยะเปรียบเทียบการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ เริ่มจากการสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพียรสันและสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการจัดการความพร้อมเทศบาลเมืองหัวหิน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความพร้อมเทศบาลเมืองหัวหินกับปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมเทศบาลเมืองหัวหิน พบว่าในระดับปานกลางค่อนข้างสูงถึงระดับสูงมากในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การจัดการเทศบาลเมืองหัวหินไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ =.195 ค่าคงที่ +340 ปัจจัยเศรษฐกิจอัจฉริยะ +.278 ปัจจัยสี่งแวดล้อม อัจฉริยะ +.160 การจัดการภาครัฐอัจฉริยะ+ ปัจจัยพลเมืองอัจฉริยะ +.064 ปัจจัยด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ</span></span></p> ปราโมทย์ อุ่นจิตสกุล สุพัตรา ยอดสุรางค์ วรสิทธิ์ เจริญพุฒ เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 905 920 การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/270563 <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) เพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ในการผลิตและพัฒนากำลังคน ระดับฝีมือ ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ (3) เพื่อประเมินการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา&nbsp;</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 384 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ครูฝึกในสถานประกอบการ นักเรียนระบบทวิภาคีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และนักศึกษาระบบทวิภาคีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับองค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านองค์ประกอบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาประเภทช่างอุตสาหกรรมสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ &nbsp;2) ด้านการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม&nbsp; สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ และ 3) ด้านการประเมินการรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทุกองค์ประกอบมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์</p> <p><strong>คำสำคัญ: </strong>การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษา; ระบบทวิภาคี; ช่างอุตสาหกรรม</p> <p>&nbsp;</p> มนตรี สุขชุม Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 921 940 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริม มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/263976 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน&nbsp;</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1. มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 73.87 ของคะแนนเต็ม และ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 โดยคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.50 ของคะแนนเต็ม</p> กันตยา ยิ้มเทียน Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 941 955 การวิเคราะห์สถานภาพของหน่วยงานที่มีบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273638 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หน้าที่ ความรับผิดชอบ และแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีบทบาทในการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยใช้การเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก 21 หน่วยงาน แบ่งเป็น หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานภาคสังคม และองค์กรในชุมชน ผลการศึกษาพบว่า หน้าที่ และความรับผิดชอบของหน่วยงาน มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) หน่วยงานที่มีบทบาทในการปฏิบัติงานเพื่อเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ทำงานดูแลเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ร่วมจัดการศึกษา การเรียนรู้นอกเวลาเรียน และจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสต่าง ๆ ให้เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา 2) หน่วยงานที่มีบทบาทในการให้กรอบนโยบายการปฏิบัติงาน เน้นการผลักดันนโยบายในการทำงาน และประสานความร่วมมือ และ 3) หน่วยงานที่ทำงานให้การสนับสนุนการผลักดันโครงการเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา และให้ทุนสนับสนุนการทำงานแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนด้อยโอกาส รวมถึงการติดตามและประเมินผล โดยแนวการปฏิบัติที่ดีในการทำงานของหน่วยงานมี 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะชีวิตและฝึกอาชีพ 3) การดูแลสุขภาพ และ 4) การดูแลความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งข้อจำกัดในการดำเนินงานของหน่วยงาน ได้แก่ ข้อจำกัดด้านบุคลากร การทำงานส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น การทำงานในพื้นที่ และงบประมาณการดำเนินการ</p> สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล เทพสุดา จิวตระกูล ศรัญญา รณศิริ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 956 972 รูปแบบการจัดการพัฒนาสมรรถณะฝีมือแรงงานช่างเชื่อม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาแรงงาน กระทรวงแรงงาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264358 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างเชื่อมอัตโนมัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน กับพัฒนาการฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัติโนมัติที่ผ่านการฝึกอบรม 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ใช้ในการฝึกอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่เจาะจงจำนวน 17 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความจากเนี้อหาและแก่นสาระ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม รวบรวมข้อมูลจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 200รายของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออก วิเคราะห์ ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สหลัมพันธ์ เพียรสัน และ สมการถดถอยเชิงพหุ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัย &nbsp;1) ด้านการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างเชื่อมอัตโนมัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประสบความสำเร็จในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน กับพัฒนาการฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัติโนมัติที่ผ่านการฝึกอบรม พบว่า เป็นเชิงบวก ระดับ มากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) แบบจำลองการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย -256 ค่าคงที่ +.787การจัดการภายใน&nbsp; +.185 บริบทแวดล้อมภายนอก +.152 คุณสมบัติการเป็น ช่างเชื่อม ผลการวิจัยสอดคล้องกันทั้งสองวิธี</p> ประสงค์ ศิริมณฑล Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 973 984 ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับการจัดเก็บภาษี จากผู้ประกอบการค้าออนไลน์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/270668 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดทฤษฎี ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ศึกษากฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการค้าออนไลน์เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของไทยและของต่างประเทศ มีการจัดทำสนทนากลุ่ม มีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มนักวิชาการด้านกฎหมาย และกลุ่มอาจารย์ด้านกฎหมายภาษีอากร&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการค้าออนไลน์โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ประกอบการในขณะที่จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ที่ทำการจดทะเบียนเป็นจำนวนน้อยที่เข้าสู่ระบบการเสียภาษีอย่างถูกต้องนี้ และผู้ประกอบการไม่จดทะเบียน ทำให้ระบบการรายงานข้อมูลจำนวนการนับครั้งรับโอนเงินจึงนำมาใช้ เพื่อช่วยในการตรวจสอบและให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบการจดทะเบียนให้ถูกต้อง รวมถึงผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากที่ขายสินค้าและมีรายรับหรือรายจ่ายเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี ไม่ได้อยู่ในข่ายที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ผู้ประกอบการพาณิชย์ไม่ได้เข้ามาอยู่ในระบบการจัดเก็บภาษี กล่าวคือ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง คงเสนอแนะให้มีมีมาตรการบังคับใช้ในการให้จดทะเบียนให้ถูกต้องและการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อให้เหมาะสมต่อไป</p> ณัฐนันท์ ทองทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 985 1001 การศึกษาการคิดเชิงอภิปัญญาในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้วิธีการแบบเปิด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264005 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ที่ส่งเสริมการคิดเชิง&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;อภิปัญญาในระหว่างการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อศึกษาการคิดเชิง&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; อภิปัญญาในระหว่างการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด &nbsp;2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงอภิปัญญาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน&nbsp; &nbsp;ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยการใช้วิธีการแบบเปิดที่ส่งเสริมการคิดเชิงอภิปัญญา ครูควรใช้สถานการณ์ปัญหาหรือคำถามปลายเปิดที่สอดคล้องหรือเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของนักเรียน มีบริบทที่หลากหลาย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ควรเรียบเรียงการไต่ระดับของปัญหาหรือคำถามจากง่ายไปยาก และครูควรเตรียมความพร้อมให้นักเรียนคุ้นเคยกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หรือเตรียมความพร้อมในด้านความรู้ที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา รวมทั้งครูควรใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการคิดของนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอนของการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการคิดเชิงอภิปัญญาในระหว่างการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 2) การคิดเชิงอภิปัญญาในระหว่างการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 66.67 ของนักเรียนทั้งหมด</p> ธีรุตม์ พรหมมา Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 1002 1018 ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/266176 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด และแบบทดสอบก่อนเรียนกับแบบทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด (mind mapping) ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม ที่เรียนในรายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุหลังการทดสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .05 แสดงว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุมากขึ้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้นด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด</p> นิลรัตน์ ปัททุม Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 1019 1032 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/273689 <p>งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการหรือตัวแทนผู้บริหารโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย จำนวน 12 ท่าน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 20 ท่าน จากนั้นนำผลจากการวิเคราะห์แก่นสาระดำเนินการสนทนากลุ่ม ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย จำนวน 8 ท่าน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย มีปัจจัย 3 อันดับแรกที่นักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQ ให้ความสำคัญคือ 1). ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านกฎหมาย และด้านเศรษฐกิจ 2). ปัจจัยองค์ประกอบบริหารจัดการโรงแรมได้แก่ ด้านกระบวนการบริหาร&nbsp; ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านเทคโนโลยี ด้านการตลาดและด้านสถานที่ และ 3). ปัจจัยการเลือกเข้าพักโรงแรมในประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ด้านความเป็นส่วนตัว ด้านความเท่าเทียมกันและการให้เกียรติ ด้านรสนิยม ด้านคุณภาพการบริการ และด้านช่องทางการสื่อสาร ดังนั้นสำหรับให้ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับที่พักโรงแรมที่ต้องพัฒนาและการขยายตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQ ควรมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น โดยธุรกิจที่พักเน้นด้านองค์ประกอบบริหารจัดการโรงแรมการออกแบบและตกแต่งสถานที่ ความปลอดภัย ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พัก รวมไปถึงปัจจัยภายนอก การออกแบบกระบวนการให้บริการผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว และการเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบใหม่แก่นักท่องเที่ยว</p> สุรักษา พลอยศิริ Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 1033 1048 The Effective of Quizizz’s Gamified Learning among Undergraduate and Postgraduate Students’ Engagement and Perception https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/274782 <p>This study aimed to determine the effective of using Quizizz`s gamified learning among undergraduate and postgraduate students’ engagement and perception and to explore on how undergraduate and postgraduate students’ willingness to use Quizizz’s gamified learning to enhance students’ engagement and perception in Educational Psychology subjects. The researcher applied sequential mixed method study to utilized to evaluate the effective of assessing Quizizz gamified in learning on students’ engagement and perception in Educational Psychology subjects. A total of 177 undergraduate and postgraduate students were respondents in this sequential explanatory mixed method study. The quantitative study was evaluated by using descriptive statistics such as mean, standard deviation. In addition, correlation and regression analyses were analyzed to find out the research question 1 (hypothesis 1 – 2). In addition, a qualitative study evaluated by using the thematic analysis which utilized and interpret the data. The regression analysis was a statistically significant predicted that Quizizz gamified in learning on students’ engagement had a positive and significant effective (R-square = 0.339; F = 34.401; Beta (β) = 0.204; T-value = 3.339; and P-value = 0.000). Moreover, the regression analysis was a statistically significant predicted that Quizizz gamified in learning on students’ perception has a positive and significant effective (R-square = 0.339; F = 34.401; Beta (β) = 0.204; T-value = 3.339; and P-value = 0.000). &nbsp;&nbsp;Therefore, four respondents (two undergraduate and two postgraduate students) were selected to participate for interviewing. All the students agreed that Quizizz gamified in learning and teaching in Educational Psychology subjects were effective positively to perceive the experience of learning and engagement in learning.</p> Linatda Kuncharin Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 1049 1062 พิธีกรรมบวชต้นไม้: มโนทัศน์คลาดเคลื่อนของแบบเรียนสังคมศึกษาในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/264554 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมโนทัศน์คลาดเคลื่อนของแบบเรียนวิชาสังคมศึกษาในประเทศไทยผ่านการศึกษาพิธีกรรมบวชต้นไม้ ผลการศึกษา พบว่า พิธีกรรมบวชต้นไม้เกิดขึ้นเพื่อการต่อรองในมิติที่หลากหลาย คือ 1) การต่อรองความเชื่อดั้งเดิมกับหลักพุทธศาสนา 2) การต่อรองพิธีกรรมบวชต้นไม้กับหลักทางพุทธศาสนา 3) การต่อรองพิธีกรรมบวชต้นไม้กับความสัมพันธ์ทางอำนาจ และ 4) การต่อรองพิธีกรรมบวชต้นไม้ผ่านสัญศาสตร์ โดยพิธีกรรมบวชต้นไม้ สะท้อนให้เห็นถึงการเลื่อนไหลของความสัมพันธ์ภายใต้พิธีกรรมบวชต้นไม้ที่แฝงไว้ซึ่งปฏิบัติการทางสังคม สัญญะ และความสัมพันธ์เชิงอำนาจในปรากฏการณ์ ทั้งนี้การเลื่อนไหลของความสัมพันธ์ มิได้ปรากฏในลักษณะที่ตายตัว แต่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบทเงื่อนไขที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ทางสังคม ซึ่งมิได้เป็นเพียงแค่การดูแลและอนุรักษ์ธรรมชาติเท่านั้น แต่พิธีกรรมบวชต้นไม้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจและการต่อรองของความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับกลุ่มคนต่าง ๆ อาทิ กลุ่มประชาชน คณะสงฆ์ หรือหน่วยงานภาครัฐ และหากผู้สอนและสถานศึกษาสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนในมิติที่หลากหลาย ย่อมจะเป็นพื้นฐานให้แก่ผู้เรียนเกิดการรับรู้และเข้าใจต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมมากขึ้น</p> <p>&nbsp;</p> ฉัตรธิดา หยูคง Copyright (c) 2023 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 1063 1078 รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อสร้างผลผลิตและนวัตกรรม ในยุคการศึกษา 4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269207 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ยุทธศาสตร์ชาติไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) มุ่งพัฒนาและปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) และเปลี่ยนกระแสการศึกษาใหม่ให้เป็นไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลผลิตและนวัตกรรมในทางสร้างสรรค์ ดังนั้นการศึกษา 4.0 จึงเป็นยุคของการศึกษาผลิตภาพที่ต้องการผลผลิตและก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ซึ่งตรงกับแนวทางของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มุ่งสร้างผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้และตกผลึกเรื่องนั้น ๆ โดยอาศัยรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่และสามารถบูรณาการความรู้เดิมและความรู้ใหม่เข้าด้วยกันเพื่อผลิตเป็นผลงานสร้างสรรค์ของตนเองได้ การเรียนรู้นี้จะนําไปสู่ผลิตผลทางการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สอน โดยผู้สอนจะได้ทบทวนความรู้อยู่เสมอ ได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ด้านวิชาชีพเพื่อมาถ่ายทอดและนําทางให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พัฒนากระบวนการคิด ส่งเสริมการค้นหาศักยภาพและความถนัดของตนเองเพื่อให้เป้าหมายการเรียนมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ &nbsp;&nbsp;&nbsp;จนเกิดความคิดในการสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรม เป็นการก้าวทันเทคโนโลยีและก้าวพ้นปัญหาสภาวะบริโภคนิยมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพจึงเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา เศรษฐกิจและสังคมไทยได้ในอนาคต</p> ศิริศุกร์ ศิริโชคชัยตระกูล Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-30 2024-06-30 8 2 1079 1097