คำแนะนำสำหรับผู้เขียน     

       บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

        ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร  ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร   รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง  ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 20% ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

        วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน 6,500 บาท (หกพันห้าร้อยบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ  เก็บเมื่อตอบรับตีพิมพ์ (Accept) โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ 1. หากบทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 20% 2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร 3. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ 4. ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ) ผู้เขียนสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชี ธนาคารกรุงศรี หมายเลขบัญชี 467-1-91088-5 ชื่อบัญชี "สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ โดย นายพิชิต ขวัญทองยิ้ม" เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานเข้าระบบวารสารพร้อมบทความ และให้ส่งหลักฐานไปที่ [email protected] และ Add Line Id: armengineering เพื่อแจ้งรายละเอียดการส่งบทความ

การส่งบทความเข้าระบบออนไลน์ของวารสาร เพื่อได้รับการตีพิมพ์

         การส่งในระบบ (Online Submission) สามารถส่งเข้าระบบออนไลน์ได้เว็บไซต์ ของวารสาร ได้ที่ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jeir

เข้าสู่ระบบ  หรือ  สมัครสมาชิก

การจัดเตรียมต้นฉบับ

          1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 10 - 15 หน้ากระดาษ  A4  (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ภาษาไทยใช้ตัวอักษรแบบ TH Niramit AS ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนาเช่นตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

          2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง

          3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุชื่อต้นสังกัด หรือชื่อหน่วยงาน 

          4) มีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำต่อบทคัดย่อ

          5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 - 5 คำ)

          6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจาก หัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์ เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด

          7) การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บ ควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็น สากลเท่านั้น(ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centred learning) 

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ

2) บทนำ  

3) วัตถุประสงค์การวิจัย

4) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)

5) การทบทวนวรรณกรรม เขียนควรอธิบายถึงผลการสืบค้นเอกสาร บทความ การวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เห็นถึง “ช่องว่างของความรู้” (knowledge gap) ที่ยังไม่ถูกพิจารณา

6) กรอบแนวคิดการวิจัย

5) ระเบียบวิธีวิจัย ระบุแบบแผนการวิจัย การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

6) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง  เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

7) อภิปรายผล/วิจารณ์  เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

8) องค์ความรู้ใหม่ ระบุองค์ความรู้ที่ได้อันเป็นผลมาจากการวิจัย ผ่านการสังเคราะห์ ออกมาในรูปแบบของ แผนภูมิ แผนภาพ หรือ ผังมโนทัศน์ พร้อมทั้งการอธิบายที่รัดกุม เข้าใจได้ง่าย  

9) สรุป  ระบุข้อสรุปที่สำคัญ

10) ข้อเสนอแนะ

       (1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

       (2) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

11) เอกสารอ้างอิง (References) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ ทั้งในเนื้อเรื่องและเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณกะ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract)

2) บทนำ (Introduction)

3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

4) องค์ความรู้จากการศึกษา (Knowledge)

ระบุองค์ความรู้อันเป็นผลมาจากการนำเสนอ การสังเคราะห์ออกมาในลักษณะ แผนภาพ แผนภูมิ หรือผังมโนทัศน์ พร้อมคำอธิบายรูปแบบ/โครงสร้างอย่างกระชับ เข้าใจง่าย

5) บทสรุป (Conclusion)

5) เอกสารอ้างอิง (References)

ระบบการอ้างอิง

เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่การอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง สำหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้น ใช้ระบบ APA (7th Edition) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้ 

รูปแบบการอ้างอิง

1) หนังสือ

          (1) ผู้เขียน 1 คนทั้งเล่ม

Jackson, L. M. (2019). The psychology of prejudice: From attitudes to social action (2nd ed.). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/0000168-000

Sapolsky, R. M. (2017). Behave: The biology of humans at our best and worst. Penguin Books.

Svendsen, S., & Løber, L. (2020). The big picture/Academic writing: The one-hour guide (3rd digital ed.). Hans Reitzel Forlag. https://thebigpicture-academicwriting.digi.hansreitzel.dk/

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Jackson, 2019; Sapolsky, 2017; Svendsen & Løber, 2020)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Jackson (2019), Sapolsky (2017), and Svendsen and Løber (2020)

         (2) ผู้เขียน โดยบรรณาธิการ

Hygum, E., & Pedersen, P. M. (Eds.). (2010). Early childhood education: Values and practices in Denmark. Hans Reitzels Forlag. https://earlychildhoodeducation.digi.hansreitzel.dk/

Kesharwani, P. (Ed.). (2020). Nanotechnology-based approaches for tuberculosis treatment. Academic Press.

Torino, G. C., Rivera, D. P., Capodilupo, C. M., Nadal, K. L., & Sue, D. W. (Eds.). (2019). Microaggression theory: Influence and implications. John Wiley & Sons. https://doi.org/10.1002/9781119466642

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Hygum & Pedersen, 2010; Kesharwani, 2020; Torino et al., 2019)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Hygum and Pedersen (2010), Kesharwani (2020), and Torino et al. (2019)

          (3) ผู้เขียน โดยมีบรรณาธิการ

Watson, J. B., & Rayner, R. (2013). Conditioned emotional reactions: The case of Little Albert (D. Webb, Ed.). CreateSpace Independent Publishing Platform. http://a.co/06Se6Na (Original work published 1920)

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Watson & Rayner, 1920/2013)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Watson and Rayner (1920/2013)

          (4) หนังสือที่ตีพิมพ์ด้วยคำนำใหม่โดยผู้เขียนคนอื่น

Kübler-Ross, E. (with Byock, I.). (2014). On death & dying: What the dying have to teach doctors, nurses, clergy & their own families (50th anniversary ed.). Scribner. (Original work published 1969)

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Kübler-Ross, 1969/2014)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Kübler-Ross (1969/2014)

          (5) หนังสือเป็นชุด หลายเล่ม

Harris, K. R., Graham, S., & Urdan T. (Eds.). (2012). APA educational psychology handbook (Vols. 1–3). American Psychological Association.

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Harris et al., 2012)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Harris et al. (2012)

 

2) บทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก - หน้าสุดท้าย ของบทความ.

เช่น

Borwornchai, D. (2020). Knowledge management about investigative work that is the best practice of the detective 4.0 era. Journal of Arts Management4(2), 385-398.

Grady, J. S., Her, M., Moreno, G., Perez, C., & Yelinek, J. (2019). Emotions in storybooks: A comparison of storybooks that represent ethnic and racial groups in the United States. Psychology of Popular Media Culture, 8(3), 207–217. https://doi.org/10.1037/ppm0000185

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Borwornchai, 2020; Grady et al., 2019)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Borwornchai (2020) and Grady et al. (2019)

 

3) แหล่งข้อมูลจาก ดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์

Kittichayathorn, P. (2012). Styles and steps of community management movement for drug problem prevention learning center: A case of Thorraneekum, Khok Faet, Nong Chok, Bangkok[Doctoral dissertation, National Institute of Development Administration].

Marpue, S. (2013). Use mindfulness to apply to solve doing work Employees of Electricity Generating Authority of Thailand[Master’s Thesis, Mahachulalongkornrajavidyalaya University].

Kabir, J. M. (2016). Factors influencing customer satisfaction at a fast-food hamburger chain: The relationship between customer satisfaction and customer loyalty (Publication No. 10169573) [Doctoral dissertation, Wilmington University].

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Kittichayathorn, 2012; Marpue, 2013; Kabir, 2016)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Kittichayathorn (2012), Marpue (2013) and Kabir (2016)

 

4) แหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์ 

(1) เว็บไซต์ข่าว

Bologna, C. (2019, October 31). Why some people with anxiety love watching horror movies. HuffPost. https://www.huffpost.com/entry/anxiety-love-watching-horror-movies_l_5d277587e4b02a5a5d57b59e

Roberts, N. (2020, June 10). Trayvon Martin’s mother, Sybrina Fulton, qualifies to run for elected office. BET News. https://www.bet.com/news/national/2020/06/10/trayvon-martin-mother-sybrina-fulton-qualifies-for-office-florid.html

Toner, K. (2020, September 24). When Covid-19 hit, he turned his newspaper route into a lifeline for senior citizens. CNNhttps://www.cnn.com/2020/06/04/us/coronavirus-newspaper-deliveryman-groceries-senior-citizens-cnnheroes-trnd/index.html

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Bologna, 2019; Roberts, 2020; Toner, 2020)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Narrative citations: Bologna (2019), Roberts (2020), and Toner (2020)

(2) ความคิดเห็นบนเว็บไซต์ข่าว

Owens, L. (2020, October 7). I propose a bicycle race between Biden and Trump [Comment on the webpage Here’s what voters make of President Trump’s COVID-19 diagnosis]. HuffPost. https://www.spot.im/s/00QeiyApEIFa

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Owens, 2020)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Owens (2020)

(3) เว็บไซต์ที่มีผู้เขียนกลุ่มหน่วยงานราชการ

National Institute of Mental Health. (2018, July). Anxiety disorders. U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-disorders/index.shtml

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): (National Institute of Mental Health, 2018)

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): National Institute of Mental Health (2018)

(4) เว็บไซต์ที่มีผู้เขียนกลุ่มองค์กร

World Health Organization. (2018, May 24). The top 10 causes of death. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (World Health Organization, 2018)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  World Health Organization (2018)

(5) เว็บไซต์ที่มีผู้เขียนเป็นรายบุคคล

Giovanetti, F. (2019, November 16). Why we are so obsessed with personality types. Medium. https://medium.com/the-business-of-wellness/why-we-are-so-obsessed-with-personality-types-577450f9aee9

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Giovanetti, 2019)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Giovanetti (2019)

(6) บนเว็บไซต์ที่ไม่ปรากฏวันที่เรียกข้อมูล

U.S. Census Bureau. (n.d.). U.S. and world population clock. U.S. Department of Commerce. Retrieved January 9, 2020, from https://www.census.gov/popclock/

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (U.S. Census Bureau, n.d.)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): U.S. Census Bureau (n.d.)

 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง (References)

กรณีที่เป็นรายการอ้างอิงจากภาษาไทยจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษตามหลักการแปลทุกรายการ A-Z

Bologna, C. (2019, October 31). Why some people with anxiety love watching horror movies. HuffPost. https://www.huffpost.com/entry/anxiety-love-watching-horror-movies_l_5d277587e4b02a5a5d57b59e

Borwornchai, D. (2020). Knowledge management about investigative work that is the best practice of the detective 4.0 era. Journal of Arts Management4(2), 385-398.

Giovanetti, F. (2019, November 16). Why we are so obsessed with personality types. Medium. https://medium.com/the-business-of-wellness/why-we-are-so-obsessed-with-personality-types-577450f9aee9

Grady, J. S., Her, M., Moreno, G., Perez, C., & Yelinek, J. (2019). Emotions in storybooks: A comparison of storybooks that represent ethnic and racial groups in the United States. Psychology of Popular Media Culture, 8(3), 207–217. https://doi.org/10.1037/ppm0000185

Harris, K. R., Graham, S., & Urdan T. (Eds.). (2012). APA educational psychology handbook (Vols. 1–3). American Psychological Association.

Hygum, E., & Pedersen, P. M. (Eds.). (2010). Early childhood education: Values and practices in Denmark. Hans Reitzels Forlag. https://earlychildhoodeducation.digi.hansreitzel.dk/

Jackson, L. M. (2019). The psychology of prejudice: From attitudes to social action (2nd ed.). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/0000168-000

Kabir, J. M. (2016). Factors influencing customer satisfaction at a fast food hamburger chain: The relationship between customer satisfaction and customer loyalty (Publication No. 10169573) [Doctoral dissertation, Wilmington University].

Kesharwani, P. (Ed.). (2020). Nanotechnology based approaches for tuberculosis treatment. Academic Press.

Kittichayathorn, P. (2012). Styles and steps of community management movement for drug problem prevention learning center: A case of Thorraneekum, KhokFaet, Nong Chok, Bangkok[Doctoral dissertation, National Institute of Development Administration].

Kübler-Ross, E. (with Byock, I.). (2014). On death & dying: What the dying have to teach doctors, nurses, clergy & their own families (50th anniversary ed.). Scribner. (Original work published 1969)

Marpue, S. (2013). Use mindfulness to apply to solve doing work Employees of Electricity Generating Authority of Thailand[Master’s Thesis, Mahachulalongkornrajavidyalaya University].

National Institute of Mental Health. (2018, July). Anxiety disorders. U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-disorders/index.shtml

Owens, L. (2020, October 7). I propose a bicycle race between Biden and Trump [Comment on the webpage Here’s what voters make of President Trump’s COVID-19 diagnosis]. HuffPost. https://www.spot.im/s/00QeiyApEIFa

Roberts, N. (2020, June 10). Trayvon Martin’s mother, Sybrina Fulton, qualifies to run for elected office. BET News. https://www.bet.com/news/national/2020/06/10/trayvon-martin-mother-sybrina-fulton-qualifies-for-office-florid.html

Sapolsky, R. M. (2017). Behave: The biology of humans at our best and worst. Penguin Books.

Svendsen, S., & Løber, L. (2020). The big picture/Academic writing: The one-hour guide (3rd digital ed.). Hans Reitzel Forlag. https://thebigpicture-academicwriting.digi.hansreitzel.dk/

Toner, K. (2020, September 24). When Covid-19 hit, he turned his newspaper route into a lifeline for senior citizens. CNNhttps://www.cnn.com/2020/06/04/us/coronavirus-newspaper-deliveryman-groceries-senior-citizens-cnnheroes-trnd/index.html

Torino, G. C., Rivera, D. P., Capodilupo, C. M., Nadal, K. L., & Sue, D. W. (Eds.). (2019). Microaggression theory: Influence and implications. John Wiley & Sons. https://doi.org/10.1002/9781119466642

U.S. Census Bureau. (n.d.). U.S. and world population clock. U.S. Department of Commerce. Retrieved January 9, 2020, from https://www.census.gov/popclock/

Watson, J. B., & Rayner, R. (2013). Conditioned emotional reactions: The case of Little Albert (D. Webb, Ed.). CreateSpace Independent Publishing Platform. http://a.co/06Se6Na (Original work published 1920)

World Health Organization. (2018, May 24). The top 10 causes of death. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death

 

รูปแบบการนำบทความลงตีพิมพ์ลงในวารสาร 

          ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร *.docx ของ Microsoft Word Version 2010 หรือมากกว่า หากต้นฉบับประกอบด้วยภาพ ตาราง หรือสมการ ให้ส่งแยกจากไฟล์เอกสาร ในรูปแบบไฟล์ภาพ สกุล *.PDF*.JPG*.GIF หรือ *.bmp ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 15 หน้า (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) กองบรรณาธิการจะพิจารณาบทความเบื้องต้น เกี่ยวกับความถูกต้องของรูปแบบทั่วไป ถ้าไม่ผ่านการพิจารณาจะส่งกลับไปแก้ไข ถ้าผ่านจะเข้าสู่การพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิเมื่อผลการประเมินผ่านหรือไม่ผ่านหรือมีการแก้ไข จะแจ้งผลให้ผู้เขียนทราบ โดยการพิจารณาบทความเพื่อลงตีพิมพ์ได้จะคำนึงถึงความหลากหลายและความเหมาะสม

สิทธิของบรรณาธิการ

          ในกรณีที่กองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินบทความมีความเห็นว่าควรแก้ไข กองบรรณาธิการจะส่งคืนเพื่อให้เจ้าของบทความแก้ไข โดยจะยึดถือข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิผู้ตรวจประเมินเป็นเกณฑ์หลัก และหรือขอสงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาไม่ตีพิมพ์ ในกรณีที่รายงานการวิจัย บทความทางวิชาการหรือบทความวิจัยไม่ตรงกับแนวทางของวารสาร หรือไม่ผ่านการพิจารณาของกองบรรณาธิการหรือผู้เชี่ยวชาญเมื่อบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ผู้เขียนจะได้รับวารสาร ลิ้งค์ฉบับที่นำบทความลงตีพิมพ์ พร้อมกับหนังสือรับรองการตีพิมพ์บทความในวารสาร