การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานระดับมัธยมศึกษาของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ผู้แต่ง

  • วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ธานี ชูกำเนิด
  • เย็นใจ สุวานิช

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, หน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานระดับมัธยมศึกษา ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้เกี่ยวกับการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานระดับมัธยมศึกษา ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ3) เพื่อติดตามผลการนำความรู้ความสามารถไปใช้ปฏิบัติการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบสอบถาม 4) แบบทดสอบ 5) แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของเซฟเฟ (Scheffe’s)

             ผลการวิจัยพบว่า

             1) ผลการพัฒนาหลักสูตรและหาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ได้หลักสูตรที่มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) สภาพปัญหาและความต้องการ 2) หลักการและเหตุผล 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) หน่วยการฝึกอบรม 5 หน่วย 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6) สื่อประกอบการฝึกอบรม และ7) การวัดและประเมินผล

             2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ก่อนและหลังการใช้หลักสูตรฝึกอบรม ของครูกลุ่มทดลอง 1 กลุ่มทดลอง 2 และกลุ่มควบคุม พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม  

          3) ผลการติดตามการนำความรู้เรื่องการออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานไปปฏิบัติในสถานศึกษา ของครูกลุ่มทดลอง 1 พบว่า ครูได้นำความรู้ความสามารถไปใช้ปฏิบัติในสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

บรรณานุกรม
ฉรัต ไทยอุทิศ. (2546). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา
สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยหลักการ “Balanced Scorecard.”.
ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2542). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เด่นพงษ์ พลละคร. (2553). การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2560,
จาก https://www.tu.ac.th/org/ofrector/person/train/handbook/training.html.
นิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. สำนัก. (2560). แนวดำเนินการของเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อ
จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์พัฒนาระบบประกันคุณภายภายในสถานศึกษา.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
มนตรี จุฬาวัฒนฑล. (2550). นโยบายการผลิตและการพัฒนาครู. กรุงเทพฯ:
สำนักพริกหวานกราฟฟิค.
วิชัย วงศ์ใหญ่. (2543). พัฒนาหลักสูตรและการสอน: มิติใหม่. กรุงเทพฯ:
สำนำพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
สมคิด บางโม. (2544). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:
หมอชาวบ้าน.
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร.
แสงอุษา แสนสวย. (2549). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูในการจัดทำหน่วยการเรียนรู้และ
แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อาภรณ์ รัตน์มณี. (2553). ทำไมการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า. ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2560.
จาก https://schoo18education.police.go.th/technical/technical05.html
Bader and Bloom (1995). Human Characteristic and School Learning. New York :
McGraw-Hill Book Company.
Fisher, Cynthia D., Schoenfeldt, Lyle F. & Shaw, James B. (1996). Human Resource
Management. 3rd ed. Boston: Houghton Mifflin.
Oliva, Peter F. (1992). Developing The Curriculum 3 rd ed. New York : Harper Collins Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-06