วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human
<p><strong>วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS) </strong></p> <p><strong>ISSN</strong>: 3056-9834</p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์</strong> <strong>: <br /></strong>เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยด้านจิตวิทยา จิตวิทยาประยุกต์ พระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาประยุกต์กับศาสตร์ต่าง ๆ โดยรับตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> 2 ฉบับต่อปี <br /> ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ :</strong><br />1. บทความวิชาการทั่วไป (Academic Article)<br />2. บทความวิจัย (Research Article)</p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ<br /></strong>บทความที่ส่งมารับการตีพิมพ์จะถูกพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อตรวจความตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสารและตรวจรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนด เมื่อผู้เขียนปรับแก้ตามคำแนะนำเบื้องต้นของกองบรรณาธิการแล้ว จะถูกส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) ที่มีคุณวุฒิ ความรู้และความเชี่ยวชาญตรงกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อ นามสกุล หน่วยงาน หรือข้อมูลระหว่างกัน (Double-Blinded Peer review) ผ่านระบบ ThaiJO</p> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</h3> <p class="whitespace-pre-wrap break-words">วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ดังนี้</p> <ol class="-mt-1 [li>&]:mt-2 list-decimal space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไป 2,500 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิจัย ระดับปริญญาโท 3,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิจัย ระดับปริญญาเอก 4,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไปหรือบทความวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย 4,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไปหรือบทความวิจัยที่ใช้ประกอบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 5,000 บาท</li> </ol> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">เงื่อนไขการชำระค่าธรรมเนียม</h3> <ol class="-mt-1 [li>&]:mt-2 list-decimal space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words">วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อบทความได้รับการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการให้เข้าสู่กระบวนการส่งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ</li> <li class="whitespace-normal break-words">วารสารขอสงวนสิทธิ์คืนเงินเฉพาะกรณีที่บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ จำนวน 2 ใน 3 ท่าน</li> </ol> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">ช่องทางการชำระเงิน</h3> <p class="whitespace-pre-wrap break-words"><em><strong>หมายเหตุสำคัญ</strong></em> รับชำระผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีเท่านั้น ไม่รับชำระเป็นเงินสดทุกกรณี</p> <h2 class="font-600 text-base font-bold">รายละเอียดบัญชีธนาคาร</h2> <ul class="-mt-1 [li>&]:mt-2 list-disc space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>ธนาคาร:</strong> ธนาคารกรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสบางปะอิน</li> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>ชื่อบัญชี:</strong> วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์</li> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>เลขที่บัญชี:</strong> 934-0-21833-9</li> </ul> <hr /> <p class="whitespace-pre-wrap break-words"><strong>สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม</strong> กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS)</p>
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
th-TH
วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
3056-9834
-
การสวดมนต์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสวดพระพุทธมนต์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/275076
<p> พุทธจิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของปัญญาทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจและพัฒนาจิตใจของมนุษย์ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้มนุษย์ทำความเข้าใจถึงความทรงจำใจของสิ่งต่าง ๆ และเรียนรู้วิธีที่จะพัฒนาศักยภาพในการเติบโตและสร้างคุณธรรมในชีวิตประจำวัน พุทธจิตวิทยามุ่งเน้นที่การพัฒนาจิตใจและเสริมสร้างความสงบและปัญญาและพัฒนาการที่มีต่อสังคมทั่วไปของบุคคล การสวดมนต์เป็นกิจกรรมทางศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนา สามารถช่วยให้คนที่ฝึกฝนมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ให้ดีขึ้น เช่น บรรเทาจากการเจ็บป่วย หรือโรคภัยไม่เบียดเบียน ทำให้ร่างกายของแข็งแรง ทำให้มีการพัฒนาจิตใจและความมีสติปัญญา ทำให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม ทำให้เกิดสังคมคุณธรรม ด้วยหลักธรรมต่าง ๆ เช่น สังคหวัตถุ 4 มีการบำเพ็ญตนให้เป็นคนมีประโยชน์ต่อผู้อื่น และการสร้างความตั้งใจในทุก ๆ ช่วงเวลาของชีวิต มนุษย์สามารถใช้การสวดมนต์เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และความสงบในใจ ซึ่งสามารถช่วยให้พัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตลอดเวลา และยังสามารถเสริมสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจด้านลึกของตัวเองและโลกที่เราอยู่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาชีวิตในทิศทางบวก ด้วยทั้งสองนี้พุทธจิตวิทยาและการสวดมนต์มีศักยภาพในการช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความสงบใจและความสุขในชีวิตของบุคคล</p>
พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ ผล สมณะ
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
355
372
-
ไตรสิกขากับการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281055
<p>การประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาเพื่อจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล มีประสิทธิภาพมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้งทางวิชาการและคุณธรรม โดยผู้สอนที่กระตือรือร้นและสามารถปรับตัวให้ทันกับความรู้ใหม่ ๆ จะสามารถให้คำปรึกษาและควบคุมชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและกิจกรรมต่าง ๆ ในการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและมีความหมาย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของกระบวนการสอนที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคดิจิทัล</p> <p> หลักไตรสิกขาในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา หมายถึง หลักการหรือข้อที่จะต้องศึกษา 3 อย่าง หรือข้อปฏิบัติที่เป็นหลักศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจและปัญญา ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีบทบาทสำคัญในการฝึกฝนและพัฒนาคุณธรรมและปัญญาของผู้ที่นำไปปรับประยุกต์ใช้ การนำหลักไตรสิกขามาปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะช่วยปลูกฝังคุณธรรมและสติปัญญาแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมในอนาคตอีกด้วย</p>
พระมหาโกศล ธีรปญฺโญ (มาดี)
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
373
392
-
ข้าราชการครูกับวัยเกษียณที่ภาคภูมิตามแนวพุทธจิตวิทยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/278735
<p> บทความเรื่อง “ข้าราชการครูกับวัยเกษียณที่ภาคภูมิตามแนวพุทธจิตวิทยา” เป็นการนำเสนอถึงทัศนคติ พฤติกรรมและการเตรียมตัวสู่วัยเกษียณอายุมีการเตรียมตัวที่สำคัญ ดังนี้ เตรียมกาย ยอมรับการเสื่อมโทรมของร่างกายที่เป็นไปตามวัย เตรียมใจ ยอมรับว่าเมื่อเกษียณอายุราชการแล้วบทบาท หน้าที่ต่าง ๆ ในชีวิตลดลง การเตรียมทางด้านสังคม ช่วยเหลือและเป็นแบบอย่างให้กับสังคม มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและมีการวางแผนด้านการเงิน การใช้จ่ายให้คุ้มค่าและเกิดผลประโยชน์มากที่สุด</p> <p> ในวัยหลังเกษียณ เรื่องการปรับตัว ปรับอารมณ์ ทั้งเชิงบวก เชิงลบและการวางแผนการใช้ชีวิตที่ดี จะช่วยให้ปัญหาต่าง ๆ ลดน้อยลง การลดอัตตาสู่สัมมาทิฎฐิ คือความเห็นชอบจะเติมอุดมปัญญาตามหลักไตรสิกขา ด้วยการรักษาศีล การเจริญสมาธิ ส่งผลให้คุณครูสู่วัยเกษียณที่ภาคภูมิ เกิดอุดมปัญญานำพาชีวิต พร้อมรับสถานการณ์ในการใช้ชีวิตประจำวันจากเดิมมาเป็นการเปลี่ยนวิธีคิด ทำความเข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง อยู่กับตนเองและปัจจุบันมากขึ้น เป็นคุณครูดีหลังวัยเกษียณได้อย่างมีความสุข</p>
สายันต์ ขันธนิยม
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
393
410
-
กุศลจากความกตัญญู
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281596
<p> บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการสร้างกุศลจากความกตัญญูบนพื้นฐานของความเข้าใจเพื่อนมนุษย์และสายสัมพันธ์ของการพึ่งพากัน ความกตัญญูกตเวทีไม่ได้หมายถึงเฉพาะการตอบแทนด้วยการมอบให้ ทดแทนให้ ด้วยวัตถุสิ่งของเงินทองเพื่อคืนคุณกลับให้พ่อแม่และผู้อุปการะเลี้ยงดูเท่านั้น กตัญญูมีความหมายที่ลึกซึ้งในการสนองคุณหรือตอบแทนบุญคุณที่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนหลักความคิดพิจารณาที่ถูกต้อง มีความเหมาะสมในความเป็นผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้และเป็นผู้รู้คุณท่าน กุศลจากความความกตัญญูส่งผลให้ตนเป็นผู้ให้ รู้จักการให้ ความมีน้ำใจ ความมีเมตตา ผู้ให้ส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งทางจิตใจ และสร้างภูมิคุ้มกันทางใจที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสุขภาพจิตในการช่วยลดอาการวิตกกังวล เพิ่มความนับถือตนเอง ทำให้อารมณ์ความคิดจิตใจมีความมั่นคง ส่งผลให้ร่างกายได้พักผ่อนทำให้สุขภาพกายดีขึ้น การตอบแทนความกตัญญูเป็นกุศล คุณธรรมและทัศนคติสากล เป็นพฤติกรรมที่ไม่เพียงเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในครอบครัว พี่น้อง เพื่อน ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ผู้คนในสังคม รวมถึงสรรพสัตว์ สรรพสิ่งต่าง ๆ ในโลกที่เราอยู่เท่านั้น หากมนุษย์เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ ธรรมชาติของความเชื่อมโยงในสังคมและสภาพแวดล้อม นอกเหนือจากความกตัญญูที่แสดงต่อบุพการีและเพื่อนมนุษย์แล้ว สรรพสัตว์และสรรพสิ่งต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีคุณและสามารถทดแทนสนองคุณได้ การแสดงความกตัญญูกตเวทีคือการสร้างกุศลจากพื้นฐานความเข้าใจ เห็นความจริงของการเกื้อกูลตามธรรมชาติ การปลูกฝังคุณงามความดีและคุณธรรมให้ตนเอง ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีให้ครอบครัว ให้สังคมและแผ่ขยายไปยังสังคมโลก</p>
กฤศ แก้วสนั่น
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
411
422
-
พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักปัจจัย 4
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279893
<p> บทความนี้ นำเสนอการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองของพระสงฆ์ตามหลักปัจจัย 4 โดยพบว่ าปัจจุบันพระสงฆ์ไทยกำลังเผชิญปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน (10.4%) ความดันโลหิตสูง (45.2%) และภาวะไขมันในเลือดสูง (40.2%) โรคระบบทางเดินอาหาร (35.8%) และโรคข้อเข่าเสื่อม (27.4%) ในสมัยพุทธกาล การดูแลสุขภาพพระสงฆ์มีระบบที่ชัดเจน ประกอบด้วยการใช้ยารักษาโรคจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งเภสัช 5 ยาจากพืช สัตว์และธรรมชาติ รวมถึง การใช้ธรรมโอสถ โดยเฉพาะหลักโพชฌงค์ 7 และการสวดโพชฌังคปริตร สำหรับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ในปัจจุบัน มีการผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมกับการแพทย์สมัยใหม่ โดยยึดหลักปัจจัย 4 เป็นพื้นฐาน มีการส่งเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ ได้แก่ การออกกำลังกาย, การกินอาหาร, การจัดการสิ่งแวดล้อม และ 2ส ได้แก่ การจัดการความเครียด และการเลิกสูบบุหรี่ รวมถึง มีการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติเพื่อเป็นกรอบในการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาวะของชุมชน และพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของพระสงฆ์</p>
พระมหากวีพัฒน์ ฐิตโสภโณ
พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม
สมชัย ศรีนอก
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
423
435
-
การสร้างความสำเร็จในการขายอย่างมีพุทธจริยธรรม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281463
<p> บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำเสนอการสร้างความสำเร็จในการขายอย่างมีพุทธจริยธรรม เนื่องด้วยในปัจจุบันที่เศรษฐกิจเติบโตต่ำและธุรกิจมีการแข่งขันสูง ความสำเร็จในการขายมักถูกวัดด้วยตัวชี้วัดทางธุรกิจ เช่น ยอดขาย ส่วนแบ่งการตลาดและผลกำไร ซึ่งอาจทำให้มาตรฐานทางจริยธรรมถูกละเลย บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวทางในการสร้างความสำเร็จในการขายโดยใช้หลักพุทธศาสนา หลักจริยธรรม โดยอาศัยหลักหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ (หลักหัวใจเศรษฐี อุ อา กะ สะ) หลักอิทธิบาท 4 ทางแห่งความสำเร็จมีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เมื่อพนักงานขายมีใจรักในงานขาย มีความเพียรพยายามอย่างมุ่งมั่น มีกัลยาณมิตรทีดี มีความเอาใจใส่ในงานและลูกค้า มีความคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง ปรับปรุงแผนงานขายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะประสบความสำเร็จในการทำงาน สามารถสร้างยอดขายได้ตามเป้าหมาย ได้รับรายได้ที่ดีและมีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง นอกจากนี้ความสำเร็จในการขายจะยั่งยืนได้ หากพนักงานขายมีความซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติตามหลักจริยธรรม การที่จะกำกับตัวเองให้มีสติตระหนักรู้ถึงจริยธรรม จึงควรมีการฝึกสมาธิเพื่อสร้างสติ (การมีสติรู้ตัว) มีหิริ (ความละอายใจในทางที่ผิด) และ โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อผลกระทบทางศีลธรรม) เพื่อให้ไม่หลงผิด ฉะนั้นการบูรณาการทั้งหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ หลักอิทธิบาท 4 เพื่อสร้างความสำเร็จ การมีสติและใช้หลักหิริโอตัปปะนี้ จะช่วยให้ผู้ขายสามารถรักษาความสำเร็จทางธุรกิจควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม การขายอย่างมีพุทธจริยธรรมช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าและสามารถรักษาฐานลูกค้าให้องค์กรได้ดีและทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน ทั้งในด้านธุรกิจและสังคม อีกทั้งยังส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจริยธรรมและการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด</p>
สุชาดา ธนาวิบูลเศรษฐ
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
437
455
-
การอนุรักษ์เสือโคร่งป่าห้วยขาแข้งตามหลักพระพุทธศาสนา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277639
<p> การอนุรักษ์เสือโคร่งป่าห้วยขาแข้งตามหลักพระพุทธศาสนาด้วยการนำเอาหลัก อิทัปปัจจยตาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของปัจจัยทุกของสรรพสิ่งบนโลกนี้ที่ต้องมีการเกื้อกูลสนับสนุนกันและกันอย่างมีระบบว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมต้องมีปัจจัยมาเกื้อหนุนให้เกิดและสิ่งใดสิ่งหนึ่งดับไป ย่อมมีปัจจัยมาเกื้อหนุนให้ดับไปเช่นกัน และหลักพรหมวิหาร 4 เป็นแนวทางสำคัญในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนเมื่อเรามีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา ย่อมเกิดความรักความห่วงใยและความรับผิดชอบต่อธรรมชาติร่วมกันดูแลปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ของตนเอง ผู้อื่นและสรรพสัตว์ทั้งหลายมาประยุกต์ใช้เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งแห่งป่าห้วยขาแข้งที่ในปัจจุบันต้องเผชิญกับวิกฤตการใกล้สูญพันธุ์จากภัยคุกคามจากมนุษย์ เช่น การรุกล้ำป่า การล่าสัตว์ป่า การค้าสัตว์ป่า ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมต่อสัตว์ป่า โดยเฉพาะเสือโคร่งอินโดจีนที่มีถิ่นอาศัยอยู่ ณ ป่าแห่งนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 80 - 100 ตัว อันแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ ความสมดุลของระบบนิเวศทางธรรมชาติ การอนุรักษ์เสือโคร่งแห่งป่าห้วยขาแข้งจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน แต่ก็ต้องคำนึงถึงสัตว์ป่าอื่น ๆ ในระบบนิเวศทางธรรมชาติด้วย เพราะต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น เสือโคร่งจำเป็นต้องมีเหยื่อที่เป็นสัตว์กินพืช สัตว์กินพืชก็จำเป็นต้องมี พืชพรรณต้นไม้ไว้เป็นอาหาร พืชพรรณต้นไม้ต้องอาศัยน้ำและแร่ธาตุโดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง ดังนั้น การอนุรักษ์เสือโคร่งป่าห้วยขาแข้งตามหลักพระพุทธศาสนาให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยการใช้แนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรมมาปรับใช้เป็นแนวทางให้กับชุมชนในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เพื่อปกป้องเสือโคร่งอินโดจีนอันเป็นห่วงโซ่อาหารอันดับหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งผืนป่าห้วยขาแข้งที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นมรดกอันล้ำค่าทางธรรมชาติให้ดำรงคงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป เพราะหากว่าเสือโคร่งหายไปจากป่าเมื่อใด ความสมดุลของระบบนิเวศก็จะค่อย ๆ หายไปเช่นกัน</p>
พระครูอุทิตปริยัติสุนทร -
พระครูอุทิศธรรมพินัย -
ชลิต วงษ์สกุล
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
457
469
-
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในโลกยุค AI
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/283602
<p> ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญอย่างมากในโลกยุคปัจจุบันที่ถูกเรียกว่าโลกยุค AI (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์) เนื่องจากความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตน การรู้จักเห็นใจผู้อื่น รวมถึง ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม จึงทำให้สามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดันจากการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกปัจจุบัน ทั้งทางด้านระบบสื่อสาร สังคม เศรษฐกิจและการเมือง และการเกิดขึ้นของ AI นั้นมีบทบาทอย่างมากในทุกมิติของชีวิต ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การสื่อสารและการตัดสินใจต่าง ๆ แต่ยังได้เปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลและระหว่างบุคคล รวมถึงรูปแบบการทำงานภายในองค์กร แต่ทุกสิ่งในโลกนี้มีทั้งคุณและโทษไม่เว้นแม้นแต่ AI จากการแข่งขันที่รุนแรงและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้คนในยุคสมัยนี้เกิดสภาวะทางอารมณ์ที่แปรปรวน สุขยาก ทุกข์ง่าย รวมทั้ง ทำให้ปัญหาสุขภาพจิตในสังคมไทยมีความซับซ้อนมากขึ้น และยังครอบคลุมในทุกช่วงวัย</p> <p> การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ เป็นการพัฒนาความสามารถในการรับรู้ เข้าใจ จัดการ บริหารและใช้อารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น รวมถึง สามารถเลือกใช้อารมณ์เมื่อปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีขึ้นใน 5 ด้านได้แก่ 1) ตระหนักรู้อารมณ์ของตน 2) ควบคุมตน 3) สร้างแรงจูงใจ 4) เห็นอกเห็นใจ และ 5) เพิ่มทักษะทางสังคม</p> <p> การประยุกต์ใช้การฝึกสมาธิและฝึกสติ ในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เป็นวิธีที่หนึ่งที่ง่าย และทำได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย การฝึกสมาธิและฝึกสติเป็นการพัฒนาในด้านจิตใจซึ่งเป็นฐานของพฤติกรรม เมื่อพฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นจากความตั้งใจ และแรงจูงใจที่ถูกที่ควร ปัญญาก็จะถูกพัฒนา ซึ่งสติและปัญญาที่ถูกพัฒนานี้เองจะเป็นส่วนในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นการเสริมสร้างการรับรู้ตนเอง ควบคุมและจัดการอารมณ์ รวมถึงมีวิจารณญาณในการตัดสินใจ ทำให้ดำรงชีวิตในยุคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คลุมเครือและผันผวน ที่เรียกว่า ยุค “AI” ได้อย่างมีสุข</p>
สรรเสริญ จงผดุงสัตย์
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
471
483
-
แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/280479
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา 2. เพื่อศึกษาวิธีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างชนชาติชาวมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย จำนวน 485 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 3 สนทนากลุ่มเพื่อนำเสนอผลวิจัยแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วยหลักพุทธธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 ประการ ทฤษฎีแรงจูงใจ ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ และหลักคุณภาพชีวิตขององค์กร WHOQOL 2. วิธีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาชองชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทยในเชิงคุณภาพ คือ 1) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านกายภาพ 2) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัย 3) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม 4) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจริยธรรม 5) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านคุณธรรม วิธีการสร้างแรงจูงใจในเชิงปริมาณที่ค่าสถิติมากที่สุด คือ ด้านรายได้และความมั่นคงในงาน รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานตามลำดับ 3. การนำเสนอแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย คือ การส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาทักษะ อาชีพและการสร้างระบบสนับสนุนที่เหมาะสมในการยกระดับแรงจูงใจและคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวมอญในประเทศไทยและชนชาติอื่นที่มาทำงานในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
พระปัญญา นันทะ
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-18
2024-12-18
10 2
1
16
-
ผลการพัฒนาความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งด้วยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/278546
<p> การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม 2. เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบของโรงเรียน ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จำนวน 148 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 16 คน วัดจากการตอบแบบประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียน และคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการให้การปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.96 และการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบใช้ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test</p> <p> พบผลการวิจัยดังนี้ 1. ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมนักเรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนด้านด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายามสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หากพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับความรับผิดชอบในการเรียน มีความมุ่งมั่นและเพียรพยายาม ด้านความตรงต่อเวลา ด้านความเคารพในระเบียบ กฎเกณฑ์และด้านการยอมรับการกระทำของตน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีความรับผิดชอบในการเรียนด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายามสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปกติของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม สามารถพัฒนาความรับผิดชอบในตนเองได้ โดยมีแนวคิดและเทคนิคของการให้การปรึกษากลุ่ม เช่น การเผชิญหน้า การเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ มุมมองความคิดและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของกลุ่มเพื่อนเกิดความปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มรวมถึงพฤติกรรมและการแสดงออก สามารถพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น หากพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับความรับผิดชอบในการเรียน มีดังนี้ ด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายาม ด้านความตรงต่อเวลา และด้านการยอมรับการกระทำของตน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ส่วนด้านความเคารพในระเบียบ กฎเกณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01</p>
อรทัย สิทธิจารย์
ชลพร กองคำ
กาญจนา สุทธิเนียม
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-18
2024-12-18
10 2
17
33
-
ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279109
<p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก 1. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม และวัตถุประสงค์รอง 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือดภายในกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติของสถานบริการทางสาธารณสุข 3. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติของสถานบริการทางสาธารณสุข การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษา 2 กลุ่ม แบบวัดก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลวิจัยคือแบบสอบถาม และโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิงใช้ Paired-Sample t-test และ Independent t-test</p> <p> จากผลการศึกษาพบว่า 1. ผลของโปรแกรมฯ มีประสิทธิผลต่อกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ สูงกว่า และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการวิจัยมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน 3. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ สูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ</p>
ปานทิพย์ มีสัตย์
ธริสรา จิรเสถียรพร
ธีรพล ผังดี
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-18
2024-12-18
10 2
35
49
-
รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281249
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนตามแนวทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา 2. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนตามแนวทางพุทธจิตวิทยา 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนด้วยพุทธจิตวิทยา การวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองพุทธจิตวิทยาสำหรับการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำในภาคธุรกิจเอกชน กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเครื่องมือและวิธีการวิจัยหลากหลาย ได้แก่ 1. การวิจัยเอกสาร (Document Research) 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 3. การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำในองค์กรภาคธุรกิจเอกชนด้วยพุทธจิตวิทยา 4. การสนทนากลุ่ม (Focus Group) 5.การประชุมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Connoisseurship) เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้</p> <p> ผลการวิจัยนำไปสู่การสร้างรูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนที่เรียกว่า " Buddhist Psychology Power Mindset Model” ใช้ชื่อย่อว่า “B2P2M + 5A” หรือ “พุทธจิตวิทยานุภาพวิสัย” " รูปแบบนี้มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ 1. พลังสติแห่งพุทธจิตวิทยาวิสัย 2. บุคลิกภาพภายใน (จริต 6) 3. บุคลิกภาพภายนอก (DISC) 4. ชุดความคิด (Mindset) 5. ชุดทักษะ (Skillset) 6. ชุดเครื่องมือ (Toolset) 7. กระบวนการพัฒนา (Development Process) 8. มีความเป็นสัตบุรุษ ด้วยหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 เมื่อกระบวนการพัฒนาผู้นำโดยบูรณาการองค์ประกอบทั้ง 7 ประการอย่างสมบูรณ์ จะส่งผลให้เกิดภาวะผู้นำที่มีลักษณะ "สัตบุรุษ" ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของผู้นำที่มีประสิทธิภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี โดย "รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชน" นี้ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำทั้งภายในและภายนอก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจิตใจและพฤติกรรมของผู้นำ นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของผู้นำให้สามารถนำพาองค์กรและสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน</p>
อานุภาพ พันชำนาญ
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-18
2024-12-18
10 2
51
70
-
ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281590
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาแนวคิดปัจจัยพุทธจิตวิทยาส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3. เพื่อนำเสนอปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods research) ประกอบด้วย วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เพื่อสร้างเครื่องมือแบบสอบถามและการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 204 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ หลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา กับ หลักทางจิตวิทยาเชิงบวก คือ การรับรู้ศักยภาพของตนเอง การมีความหวัง มองโลกในแง่ดีและมีความยืดหยุ่น ได้ศึกษาด้านองค์ประกอบ ปัจจัย หลักธรรม หลักจิตวิทยา การบูรณาการหลักเชิงพุทธจิตวิทยาและผู้บริหารองค์กรกับบทบาทส่งเสริมความสำเร็จบุคลากร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยามีความเกี่ยวข้องเป็นแนวทางส่งเสริมประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. ผลการศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า ภาพรวมประสิทธิภาพของบุคลากร อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.44) พิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านเวลางาน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.48, S.D.= 0.48) รองลงมา คือ ด้านด้านคุณภาพงาน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.47, S.D.= 0.44) และ ด้านปริมาณงาน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.38, S.D.= 0.54) ผลการเปรียบเทียบ ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยภาพรวมมากที่สุด คือ หลักอิทธิบาท 4 อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.30, S.D. = 0.69) รองลงมา คือ จิตวิทยาเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.21, S.D. = 0.72) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 3. ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า หลักอิทธิบาท 4 มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด R2 = 0.5 นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และจิตวิทยาเชิงบวกมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด R2 = 0.6 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากผลสถิติยืนยันได้ว่าสามารถสร้างความสัมพันธ์กับตัวแปรต้นและตัวแปรตามได้</p>
ปทิตตา วิเศษบุปผากุล
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
10 2
71
88
-
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279531
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ใช้วิธีการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ผู้สอนวิปัสสนา และนักวิชาการในมหาวิทยาลัย จำนวน 25 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูล (content analysis) ที่ได้จากการศึกษาในภาคสนาม</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. กรรมฐานในพระพุทธศาสนามีแนวปฏิบัติที่เรียกว่ากรรมฐาน 40 วิธีโดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทุกระดับชั้น ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกจัดให้มีการเรียนการสอนในทุกหลักสูตร โดยในแต่ละหลักสูตรใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่าสติปัฎฐาน 4 ในการสอนใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่ายุบหนอ พองหนอเป็นกลไกในการศึกษาและพัฒนาบุคคลโดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ให้มีลักษณะทางกายภาพที่ตื่นรู้และมีสติ 2. พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ พระพุทธศาสนาเชื่อมประสานเข้าได้อย่างมีประสิทธิผลในทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ซึ่งสัมพันธ์กับวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา เช่น วิปัสสนากรรมฐานกับสุขภาวะ วิปัสสนากับการพัฒนาสมรรถนะในการทำงานของบุคคล หรือ ศักยภาพทางการบริหารกับวิปัสสนาหรือพระพุทธศาสนา เป็นต้น และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ มีงานการศึกษาที่เกี่ยวกับวิปัสสนากับกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านจิตบำบัด ดังงานศึกษา "The Use of Acceptance and Commitment Therapy to Prevent the Rehospitalization of Psychotic Patients: A Randomized Controlled Trial," และงานเรื่อง "The Benefits of Being Present: Mindfulness and Its Role in Psychological Well-Being," โดยทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนาหรือวิปัสสนากรรมฐานกับจิตวิทยา วิปัสสนากรรมฐานกับกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สันติภาพ การรักษาสุขภาพและสุขภาวะทางจิต เป็นต้น</p>
พระธรรมวชิรมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร)
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
10 2
89
103
-
ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279527
<p> การวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิต ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวสติปัฎฐานในพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้วิธีการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา พระวิปัสสนาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูล (content analysis) ที่ได้จากการศึกษาในภาคสนาม</p> <p> ผลการวิจัย 1. กรรมฐานในพระพุทธศาสนามีแนวปฏิบัติ 40 วิธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทุกระดับชั้นใช้แนวปฏิบัติสติปัฎฐาน 4 ในการสอนที่เรียกว่า พองหนอ ยุบหนอ 2. การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 1) เป็นรายวิชาที่ต้องมีการเรียนการสอน 2) การปฏิบัติธรรม 30 วัน สำหรับหลักสูตรปริญญาโท และ 45 วัน สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 3) กิจกรรมที่เนื่องด้วยการปฏิบัติธรรม เช่น การเดินธุดงค์ธรรมยาตรา การปฏิบัติธรรมจาริกแสวงบุญในประเทศอินเดีย เป็นต้น 3. ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิต ศึกษา จำแนกได้ 4 คือ 1) ประสิทธิผลทางกาย (กายานุปัสสนา) ใช้กระบวนการทางกายเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ ผ่านอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน 2) ประสิทธิผลทางศีล (เวทนานุปัสสนา/สังคม) การเรียนรู้พระพุทธศาสนาผ่านการรับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบ รับผิดชอบต่อสังคมและสมาชิกของคนรอบข้างมากขึ้น 3) ประสิทธิผลทางจิต (จิตตานุปัสสนา) เกิดกระบวนการยับยั้งชั่งใจได้มากขึ้น รวมถึง จิตมีพลังในการทำงาน ในการศึกษาเรียนหนังสือ กำลังความคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลมากขึ้น 4) ประสิทธิผลทางปัญญา (ธัมมานุปัสสนา) การใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลมีผลและเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง</p>
พระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนฺโต)
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
10 2
105
118
-
การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279455
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2. เพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีอ่างทอง จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 119 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เสริมสมรรถนะการอ่านในชีวิตประจำวัน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบเพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความฉลาดรู้ด้านการอ่านที่สูงขึ้น โดยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่ชัดเจน และเป็นลำดับขั้น ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้อย่างเป็นระบบตามขั้นตอนต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีความฉลาดรู้ด้านการอ่านในการทำความเข้าใจบทอ่านด้วยการตีความ จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ วิจารณ์ สะท้อนความคิดเห็น พิจารณาคุณค่าบทอ่าน และนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปใช้อย่างเหมาะสม และ 2. ผลการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านของนักเรียนแต่ละห้องเรียนมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ในระดับที่แตกต่างกัน โดยนักเรียนส่วนมากมีผลการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80</p>
พรทิพย์ รุ่งสว่าง
ศุภฤกษ์ ทานาค
นาตยา ปิลันธนานนท์
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
10 2
119
136
-
ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/283425
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ประชากรได้แก่ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 41 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1.โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุด้านต่างๆ กิจกรรมที่ 2 ด้านสุขสบาย กิจกรรมที่ 3 ด้านสุขสนุก กิจกรรมที่ 4 ด้านสุขสง่า กิจกรรมที่ 5 ด้านสุขสว่าง และกิจกรรมที่ 6 ด้านสุขสงบ 2.แบบประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยข้อคำถามจำนวน 25 ข้อ ประกอบด้วยคำถาม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ด้านสังคมและด้านความมั่นคง แบบประเมินก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังสิ้นสุดโปรแกรมคะแนน และ 3.แบบบันทึกความสุขรายบุคคล วิเคราะห์ด้วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความมีชีวิตชีวาของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test หลังเข้าโปรแกรมผู้สูงอายุความมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นโดยค่าผลการทดสอบมีค่าคะแนนที่ 80.37 (M=80.37, SD=3.21) มากกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมซึ่งมีค่าคะแนนที่ 66.12 (M=66.12, SD=3.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -17.66, p<.001) 2. ผลการประเมินคะแนนภาพรวมแบ่งระดับความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ พบว่าหลังเข้าโปรแกรมผลการประเมินระดับความมีชีวิตชีวาอยู่ระดับ 4 หมายถึงระดับมาก ซึ่งสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมประเมินอยู่ระดับ 3 หมายถึงระดับค่อนข้างมาก องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย ได้แก่เกิดการเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ การเพิ่มความมีชีวิตชีวาผู้สูงอายุ และการเพิ่มสัมพันธภาพในชุมชนทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ</p>
กนกรัชต์ สุดลาภา
ณฤดี ชลชาติบดี
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
10 2
137
149
-
ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279991
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามหลักพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา และ 3. นำเสนอปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านและผู้มีประสบการณ์ตรงโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อมูลแบบอุปนัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow และทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวกของ Seligman 2. การวิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1) ความคิดบวก ความผูกพันกับหน่วยงาน บุคลิกภาพที่ส่งผลต่อจิตใจบริการในงาน ขยัน ยืดหยุ่นสูง การจัดการในความแตกต่างหลากหลาย ความคิดสิ่งใหม่ การสื่อสารและร่วมมือกันทำงาน 2) ใช้หลักพุทธจิตวิทยาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3) ผู้บริหารและบุคลากรเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการพัฒนาบุคลากร และ 3. นำเสนอปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทเอส ดี ซี เซ็นทัล เซ็นเตอร์ จำกัด ได้แก่ บุคลากรมีจิตใจในงานบริการ ทำงานรวดเร็ว มีความยืดหยุ่น เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ มีการสื่อสารที่ชัดเจน และมีความร่วมมือในการทำงาน</p>
จิรชฎา เชียงกูล
กัลยาณี ประดับพงษา
ณญาน นลินขวัญ
ตระกูล พุ่มงาม
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
10 2
151
168
-
การพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยการประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277956
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับคุณภาพการให้บริการ สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 9 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทนําเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง แจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.56) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.84) รองลงมา ด้านสุขอนามัย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.76) ด้านศาสนาและวัฒนธรรม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.74) ด้านเศรษฐกิจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.38) และด้านสังคมและการศึกษา (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.08) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 กับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน (R=.521**) โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน 3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลัก สาราณียธรรมในการการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ด้านเมตตากายกรรม คือ ควรมีความกระตือรือร้นและทุ่มเทต่อการปฏิบัติงาน ด้านเมตตาวจีกรรม คือ ให้มีเมตตา ด้วยการพูด พูดในสิ่งที่เกิดประโยชน์ พูดจาไพเราะ ด้านเมตตามโนกรรม คือ ต้องคิดดีต่อเพื่อนร่วมงานและต่อประชาชน ด้านสาธารณโภคี คือ ใช้วัสดุอุปกรณ์ด้วยความประหยัด ด้านสีลสามัญญตา คือ ดำรงตนเป็นผู้มีคุณธรรมศีลธรรมและตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้องตีงาม ด้านทิฏฐิสามัญญตา คือ ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและประพฤติตนเป็นกลาง</p>
วชิระ ยะถา
พระครูปลัดวัชพงษ์ วชิรปญฺโญ
เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-19
2024-12-19
10 2
169
182
-
การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277958
<p> การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการให้บริการ 3. เสนอแนวทางพัฒนาการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม การวิจัยใช้วิธีผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 375 คน ซึ่งคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น 0.955 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผาอยู่ในระดับดี โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนด้านหลักพุทธธรรม (สังคหวัตถุ 4) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.37, S.D. = 0.60) 2. มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการให้บริการ (R = 0.850, p < 0.01) และ 3. แนวทางการพัฒนาการให้บริการโดยการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรม ได้แก่ การส่งเสริมความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ความกระตือรือร้นในการทำงาน และการมีจิตอาสา การพัฒนาทักษะการให้บริการควรรวมถึงการยึดมั่นในจริยธรรม โปร่งใส และการให้บริการด้วยใจรัก เพื่อให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผาสามารถให้บริการน้ำประปาที่มีคุณภาพและเพียงพอแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p>
วัชรพงษ์ ธนูสนธิ์
ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล
เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-20
2024-12-20
10 2
183
196
-
การพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279265
<p> การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน โรงเรียนสตรีศรีน่าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) แบบวัดความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.64/80.42 2. นักเรียนมีความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
กมลลักษณ์ ทนันไชย
ทรงภพ ขุนมธุรส
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
10 2
197
213
-
การพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกันโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO – 5 STEPs) ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279245
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย และ 4. เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกันหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบสุ่มกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 6 ห้องเรียน รวม 217 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนที่ใช้ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นสุโขทัย 2) แบบวัดความสามารถการเขียนเรียงความและเกณฑ์การให้คะแนน 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ และ 4) แบบวัดความยึดมั่นผูกพันกับการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.06/81.67 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนมีความสามารถการเขียนเรียงความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4. นักเรียนที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกัน หลังเรียนมีความสามารถการเขียนเรียงความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
สมชาย ทุนมาก
ทรงภพ ขุนมธุรส
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-21
2024-12-21
10 2
215
238
-
การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/280252
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้ข้อมูลมาโดยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทียมนครวิทยา อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 24 คน โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองด้วยวิธีการคำนวณด้วยอัตราส่วนประชากร (Sampling Proportion) และได้กลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster or Area random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความด้วยเทคนิค SQ4R จำนวน 5 แผน รวม 10 ชั่วโมง โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ที่ 4.46 ระดับความเห็น เหมาะสมมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านจับใจความเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ที่ 0.89 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R โดยใช้นิทาน มีดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบความพึงพอใจ อยู่ที่ระดับ 1 ทุกข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D), และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถด้านการอ่านจับใจความหลังเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สูงกว่าความสามารถด้านการอ่านจับใจความก่อนเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R โดยใช้นิทาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.65 โดยด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.76 รองลงมาคือ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.71 และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.42 ตามลำดับ</p>
เกียรติศักดิ์ ปุ่มแม้น
วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-22
2024-12-22
10 2
239
254
-
ผลกระทบของการใช้เทคนิคพี่เลี้ยงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 จังหวัดพะเยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/282058
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์พฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษหลังจากใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยง และ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังจากที่ครูภาษาอังกฤษใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยงโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Methods) และเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียง คำศัพท์ และแต่งประโยคของนักเรียน 2) แบบสังเกตการสอน และ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการสนทนากลุ่มของครู คณะนักวิจัยคัดเลือกครูต้นแบบจำนวน 2 คนให้เป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษแก่ครูภาษาอังกฤษจำนวน 2 คน ข้อมูลเชิงปริมาณ (ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ฯ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ pre-post test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า เทคนิคพี่เลี้ยงทำให้ครูภาษาอังกฤษสามารถใช้นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนด้านพฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษนั้นเป็นไปตามทฤษฎีและกรอบแนวคิดการวิจัยที่ใช้ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงถึง 3 ระดับ คือ 1) สื่อ 2) พฤติกรรม และ 3) ความเชื่อ หลักการ และวิธีการสอน ส่วนผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า นักเรียนของครูภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นในด้านการอ่านออกเสียงและสะกดคำ ยกเว้นด้านการแต่งประโยคเนื่องจากข้อจำกัดด้านระยะเวลาการวิจัย งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการขยายผลการใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยงให้แพร่หลายผ่านกระบวนการ PLC หากครูภาษาอังกฤษได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ อาจทำให้องค์ความรู้ด้านการใช้นวัตกรรมแพร่หลายมากขึ้น</p>
ดารินทร อินทับทิม
นริศา ไพเจริญ
เกริก เจษฎานุวัฒน์
พิชญ์สินี เสถียรธราดล
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-22
2024-12-22
10 2
255
270
-
รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281279
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมและทฤษฎีจิตวิทยาในการส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย 2. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย 3. เพื่อประเมินและนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย การเก็บข้อมูลเริ่มจากการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎก ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 คน การจัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ 12 คน และการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน เครื่องมือทุกชิ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัย มีการประเมินรูปแบบครอบคลุม 4 ด้าน คือ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Triangulation Technic, Logical Matrix Technic และ 6'C Technic</p> <p> ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วิเคราะห์หลักธรรมและทฤษฎีจิตวิทยาในการส่งเสริมภาวะผู้นำ พบว่า มีการผสมผสานระหว่างหลักพุทธธรรมและทฤษฎีจิตวิทยา โดยหลักพุทธธรรมประกอบด้วยหลักไตรสิกขาและหลักพละ 5 ส่วนทฤษฎีจิตวิทยาประกอบด้วยทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์และแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก PERMA Model ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องและเหมาะสมกับการพัฒนาภาวะผู้นำในด้านคุณธรรม การสร้างสุขและการเป็นต้นแบบ เพื่อสร้างความเชื่อ แรงจูงใจ ความสุขในองค์กร ตลอดจนการพัฒนาธุรกิจเครือข่ายและระบบการสื่อสารในยุคดิจิทัล 2. การสังเคราะห์รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำนำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย ได้บูรณาการศาสตร์ 3 ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ พุทธธรรม จิตวิทยาและแนวคิดคุณสมบัติผู้นำสร้างสรรค์สุข จนเกิดเป็นโมเดล "พุทธจิตภาวะผู้นำสร้างสุข 2MCSV" ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ การใช้สติในการดำเนินชีวิตและธุรกิจ การเป็นผู้นำต้นแบบ การสร้างสรรค์สุขในองค์กร การสร้างความยั่งยืน และการเพิ่มคุณค่า โมเดลนี้มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำให้สามารถสร้างสุขภาวะองค์รวมที่ดีทั้ง 6 ด้าน ครอบคลุมทั้งสุขภายนอก สุขภายใน สุขในตนเอง สุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสุขในการทำงาน เพื่อสร้างความเชื่อ แรงจูงใจและความสำเร็จในธุรกิจเครือข่ายอย่างยั่งยืน 3. การประเมินรูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านระบบการประเมินมาตรฐาน 4 มิติ คือ ความถูกต้องครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และความมีประโยชน์ ผลการประเมินพบว่ารูปแบบนี้ได้คะแนนระดับมากที่สุดในทุกด้าน จึงสรุปได้ว่ามีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง</p>
วิไล ถาวรสุวรรณ
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-22
2024-12-22
10 2
271
284
-
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรแห่งนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281231
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรแห่งนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ 2. ศึกษากระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา 3. เสนอตัวแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรตามแนวพุทธจิตวิทยา การวิจัยเป็นแบบคุณภาพ ใช้สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 21 คน, สนทนากลุ่มย่อย 12 คน, และประชุมสัมมนากับผู้เชี่ยวชาญ 11 คน เพื่อรับรองรูปแบบที่เสนอและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรมี 8 ประการ ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม, ความสัมพันธ์เชิงบวก, การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ, การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาวะ, การชื่นชมและรางวัล, การเป็นแบบอย่างที่ดี, การสร้างแรงบันดาลใจ, และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2. กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาภาวะผู้นำจากภายใน, การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี, การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมสุขภาวะ, การนำเทคโนโลยีมาใช้, และการประยุกต์ใช้การเรียนรู้ออนไลน์ และ 3. รูปแบบ ANAT 25 Model ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะผู้นำสร้างเสริมสุข 4 ประการ 2) สุขภาวะในตัวบุคคลและในองค์กร และ 3) การใช้หลักพุทธธรรม (พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 และไตรสิกขา) และแนวคิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Bernard M. Bass ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่ให้มีระบบดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรม</p>
อณัทร เบ็ญจวรโชติ
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-22
2024-12-22
10 2
285
298
-
โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281418
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุด้าน สุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง 2 เพื่อสร้างโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการทดลองในรูปแบบ One Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนทุ่งมหาเจริญ จำนวน 51 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 15 คน เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) รู้เท่าทัน 2) มุ่งมั่นปฏิบัติดี 3) ปรับท่าทีเป็นกิจวัตร 4) ปฏิบัติด้วยปัญญา 5) เป็นกัลยาณมิตร และ 6) พัฒนาจิตปล่อยวาง โดยมีการฝึกปฏิบัติครั้งละ 120 นาที ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังก่อนฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมเท่ากับ 42.33 คะแนน และหลังจากการฝึกปฏิบัติเพิ่มขึ้นเป็น 46.00 คะแนน ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การปรับท่าทีและการมองโลกในแง่ดี ส่งผลให้มีสุขภาพจิตและมีความสัมพันธ์ทางสังคมดีขึ้น</p>
ริญญารัตน์ วรจินตนาลักษณ์
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-22
2024-12-22
10 2
299
309
-
พุทธจิตวิทยานวัตกรรมเพื่อยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.)
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/282560
<p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.) 2. เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมพุทธจิตวิทยานวัตกรรมเพื่อยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.) 3. เพื่อนำเสนอผลการพัฒนาพุทธจิตวิทยานวัตกรรมเพื่อยกระดับใจของกลุ่มคนทำงานในชุมชน (อสม.) รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยใช้วิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดฝึกอบรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.56-1.00 2) แบบวัด มีค่าความเที่ยง 0.95 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ คนวัยทำงานในชุมชน (อสม.) จำนวน 400 คน ที่มีประสบการณ์มากกว่า 2 ปี กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มทดลอง 60 คน จากการคำนวณด้วย G Power (effect size = 0.8, ค่าแอลฟ่า = 0.05) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและทดลองกลุ่มละ 30 คน คัดเลือกโดยจับคู่รายบุคคลและสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองได้รับการอบรมด้วยชุดกิจกรรมพุทธจิตวิทยานวัตกรรม ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการอบรม</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. อสม. มีการยกระดับใจโดยรวมในระดับปกติ ด้านความเข้มแข็งทางใจและความงอกงามทางจิตวิญญาณเชิงพุทธอยู่ในระดับสูง 2. ชุดฝึกอบรมพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิดความเข้มแข็งทางใจ ความฉลาดทางจิตวิญญาณเชิงพุทธ หลักสติ เมตตาภาวนา โยนิโสมนสิการ และการเรียนรู้จากประสบการณ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การรับรู้ปัญหา การสะท้อนความคิด การสร้างความรู้ใหม่ และการลงมือปฏิบัติ 3. กลุ่มทดลองมีผลการยกระดับใจหลังทดลองและติดตามผลสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และ 4. การสนทนากลุ่มพบว่า กลุ่มทดลองพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรม เนื่องจากช่วยให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นชัดเจนขึ้น มีแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนจนเกิดการยกระดับใจ</p>
พุทธชาติ แผนสมบุญ
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
สุวัฒสัน รักขันโท
โกศล จึงเสถียรทรัพย์
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
311
331
-
Psychological Experience of Buddhist Counselors when Encountered with Clients of Conflicting Value
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/282531
<p> This study employs qualitative research. The aim of this study is to explore the psychological experience of Buddhist counselors when encountered with conflicting value. The objective of this research is to understand the psychological experience of Buddhist counselors when dealing with conflicting value through conducting semi-structured interviews using Interpretative Phenomenological Analysis (IPA) research style as a tool for qualitative research to capture the details and experience of six experienced Buddhist counselors. Data collected were transcribed, coded and arranged into themes, which got translated from Thai to English. The six informants were chosen in relation to their experience in using core approach of Buddhist counseling along with prior experience in dealing with conflicting value. The recruitment employed purposive sampling through a gatekeeper that qualifies the inclusion criteria. The research instruments are semi-structured interview questions that have been crafted to highlight the informants’ answer on their experiences in conflicting value.</p> <p> The result of this study shows three stages: Initial, Process, and Integration. Initial stage is the reaction and response of informants when first encountering with conflicting value and consists of three themes (Interaction with conflicting value, effects to performance, and consequence) with seven subthemes. Process stage illustrates the awareness and development of informants in accordance with conflicting value, which consist of five themes (Initial awareness, internal process, Post-awareness, Post: effects to performance, and Post: consequence) with eleven subthemes. Lastly, integration stage portrays the learnings and knowledge as informants gain experience in dealing with conflicting value, which consists of personal implication as theme with four subthemes. Informants who undergo the process of encountering and overcoming conflicting value expressed deep learning in Buddhist counseling and Buddhist teachings along with various understanding of self and attachments.</p> <p> The result of going through conflicting value enhances self-awareness in working process of Buddhist counseling and further develop deeper understandings in Buddhist teachings that increases the ability of informants to perceive attachments to self and move towards the practice of impermanence, suffering, and non-self in Three marks of existence along with four noble truths through this experience.</p>
Kannop Kashemsant
Poonsub Areekit
Nattasuda Taephant
Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-24
2024-12-24
10 2
333
354