คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ
 
1. สำนักงาน วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
    ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    (อาคารเรียนรวม โซน A ชั้น 3 ห้อง A303)
    79 หมู่ 1 ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 13170
    เว็บไซต์: https://www.tci-thaijo.org/index.php/human/index
    อีเมล์: allhjournal@gmail.com
    โทรศัพท์:   035-248-000 ต่อ 8400 หรือ 06 4745 6253, 06 2514 1564
 
2. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบทความ
     1) วัตถุประสงค์วารสาร
        เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย จิตวิทยา พุทธจิตวิทยา ชีวิตและความตาย และพระพุทธศาสนาเชิงประยุกต์กับศาสตร์ต่าง ๆ  แก่นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจทั่วไป โดยเปิดรับบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
 
     2) ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์
          วารสาร  มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ รับตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้
          1.1) บทความวิจัย (Research Article)ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ และไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน
          1.2) บทความวิชาการ (Academic Article) ได้แก่ บทความที่่นำเสนอเนื้อหาความรู้ทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ และไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน
 
     3) เนื้อหาบทความที่รับตีพิมพ์
        วารสารรับตีพิมพ์บทความที่มีเนื้อหาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย จิตวิทยา พุทธจิตวิทยา ชีวิตและความตาย และพระพุทธศาสนาเชิงประยุกต์กับศาสตร์ต่าง โดยเปิดรับบทความวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 
 
     4) การส่งบทความ
          บทความที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ ต้องส่งเข้าระบบวารสารออนไลน์ (OJS) ของ ThaiJo ที่เว็บไซต์ของวารสาร https://www.tci-thaijo.org/index.php/human/index 
          บทความที่ส่งตีพิมพ์ ต้องมีรูปแบบที่ถูกต้องตามที่วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์กำหนด และผู้เขียนต้องหมั่นตรวจสอบความคืบหน้าในการดำเนินการบทความตามขั้นตอนของวารสาร และต้องปรับแก้ (ถ้ามี) ตามที่กองบรรณาธิการแจ้งให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป
 
     5) รูปแบบบทความและการพิสูจน์อักษร
         ผู้นิพนธ์บทความควรตระหนักถึงความสำคัญในการเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ กำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องและพิสูจน์อักษรก่อนส่งบทความมายังวารสาร ซึ่งการเขียนบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความ จนกว่าบทความนั้นได้ถูกแก้ไขให้ถูกต้องตามที่วารสารกำหนดแล้วและหรือตามที่กองบรรณาธิการแนะนำแล้ว
 
     6) คำแนะนำการเขียนบทความ
          - การเขียนบทความ
          - การตั้งค่าหน้ากระดาษ
          - การเขียนรายการอ้างอิงแบบ APA V.6
 
      7) การส่งบทความตีพิมพ์
          ผู้เขียนต้องส่งไฟล์บทความในรูปแบบไฟล์เวิร์ด  1  ไฟล์ที่เว็บไซต์ของวารสาร https://www.tci-thaijo.org/index.php/human/index 
                         - แม่แบบ (Template) การเขียนบทความวิจัย
                         - แม่แบบ (Template) การเขียนบทความวิชาการ
 
      8) ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ
           8.1) อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
                  1. บทความวิชาการทั่วไป                                2,500     บาท
                  2. บทความวิจัย ระดับปริญญาโท                    3,000     บาท
                  3. บทความวิจัย ระดับปริญญาเอก                   4,000     บาท
                  4. บทความวิจัยทั่วไป หรือ     
                      บทความวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย    4,000    บาท
          8.2) การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ 
                  หากบทความผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ ทางวารสารฯ จะแจ้งให้ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพบทความ
                  (ให้ผู้เขียนชำระเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ทุกรายการ หลังจากได้รับแจ้งจากวารสารฯ เท่านั้น)
          8.3) ช่องทางการชำระค่าธรรมเนียม
                  กำหนดช่องทางการชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ผ่านบัญชีธนาคารเพียงช่องทางเดียว คือ 
                  ชื่อบัญชี        วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
                  ธนาคาร         กรุงเทพ  สาขาเทสโก้โลตัสบางปะอิน
                  เลขที่บัญชี    934 - 0 - 21833 - 9
 
      9) การพิจารณาบทความ 
           วารสารดำเนินการพิจารณาบทความตามขั้นตอน ดังนี้
                   9.1 กองบรรณาธิการพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหา และพิจารณาความตรงตามวัตถุประสงค์การรับตีพิมพ์ และรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนด รวมทั้ง บทความไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเองไม่เกิน 25%
                   9.2 ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านและตรวจประเมินคุณภาพบทความ (Peer Review) จำนวน 2 ท่าน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญตรงกับเนื้อหาของบทความและตรงกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
            วารสารใช้การพิจารณาบทความแบบ Double – Blind Peer Review คือ ผู้เขียนจะไม่ทราบว่าบทความได้รับการอ่านและตรวจประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิคนใด และผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบว่าอ่านและตรวจประเมินคุณภาพบทความของผู้เขียนคนใด
 
      10) ระยะเวลาในการพิจารณาบทความ
             ระยะเวลาในกระบวนการพิจารณาบทความ ใช้เวลา ประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเวลาในเตรียมบทความและการปรับแก้บทความของผู้เขียนด้วย
             * ทางวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ไม่รับบทความที่ต้องการลัดคิวหรือเร่งกระบวนการพิจารณาให้สั้นลงกว่านี้ จนทำให้ส่งผลต่อคุณภาพบทความ