วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human <p><strong>วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS) </strong></p> <p><strong>ISSN</strong>: 3056-9834</p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์</strong> วารสารมีวัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์บทความวิชาการทั่วไปและบทความวิจัยด้านจิตวิทยาประยุกต์และพระพุทธศาสนาประยุกต์กับศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ </strong><br />1. บทความวิชาการทั่วไป (Academic Article)<br />2. บทความวิจัย (Research Article)</p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ<br /></strong>บทความที่ส่งมารับการตีพิมพ์จะถูกพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อตรวจความตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสารและตรวจรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนด เมื่อผู้เขียนปรับแก้ตามคำแนะนำเบื้องต้นของกองบรรณาธิการแล้ว จะถูกส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) ที่มีคุณวุฒิ ความรู้และความเชี่ยวชาญตรงกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อ นามสกุล หน่วยงาน หรือข้อมูลระหว่างกัน (Double-Blinded Peer review) ผ่านระบบ ThaiJO</p> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</h3> <p class="whitespace-pre-wrap break-words">วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ดังนี้</p> <ol class="-mt-1 [li&gt;&amp;]:mt-2 list-decimal space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไป 2,500 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิจัย ระดับปริญญาโท 3,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิจัย ระดับปริญญาเอก 4,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไปหรือบทความวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย 4,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไปหรือบทความวิจัยที่ใช้ประกอบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 5,000 บาท</li> </ol> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">เงื่อนไขการชำระค่าธรรมเนียม</h3> <ol class="-mt-1 [li&gt;&amp;]:mt-2 list-decimal space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words">วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อบทความได้รับการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการให้เข้าสู่กระบวนการส่งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ</li> <li class="whitespace-normal break-words">วารสารขอสงวนสิทธิ์คืนเงินเฉพาะกรณีที่บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ จำนวน 2 ใน 3 ท่าน</li> </ol> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">ช่องทางการชำระเงิน</h3> <p class="whitespace-pre-wrap break-words"><em><strong>หมายเหตุสำคัญ</strong></em> รับชำระผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีเท่านั้น ไม่รับชำระเป็นเงินสดทุกกรณี</p> <h2 class="font-600 text-base font-bold">รายละเอียดบัญชีธนาคาร</h2> <ul class="-mt-1 [li&gt;&amp;]:mt-2 list-disc space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>ธนาคาร:</strong> ธนาคารกรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสบางปะอิน</li> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>ชื่อบัญชี:</strong> วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์</li> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>เลขที่บัญชี:</strong> 934-0-21833-9</li> </ul> <hr /> <p class="whitespace-pre-wrap break-words"><strong>สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม</strong> กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS)</p> th-TH siriwatmcu@gmail.com (Assoc. Prof. Dr. Siriwat Srikhruedong) noonsuwat@gmail.com (Asst. Prof. Dr. Suwatsan Rakkanto) Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/280479 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา 2. เพื่อศึกษาวิธีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างชนชาติชาวมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย จำนวน 485 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 3 สนทนากลุ่มเพื่อนำเสนอผลวิจัยแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วยหลักพุทธธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 ประการ ทฤษฎีแรงจูงใจ ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ และหลักคุณภาพชีวิตขององค์กร WHOQOL 2. วิธีการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาชองชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทยในเชิงคุณภาพ คือ 1) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านกายภาพ 2) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านความปลอดภัย 3) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสังคม 4) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านจริยธรรม 5) แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านคุณธรรม วิธีการสร้างแรงจูงใจในเชิงปริมาณที่ค่าสถิติมากที่สุด คือ ด้านรายได้และความมั่นคงในงาน รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานตามลำดับ 3. การนำเสนอแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยาของชนชาติมอญผู้มาทำงานในประเทศไทย คือ การส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาทักษะ อาชีพและการสร้างระบบสนับสนุนที่เหมาะสมในการยกระดับแรงจูงใจและคุณภาพชีวิตของแรงงานชาวมอญในประเทศไทยและชนชาติอื่นที่มาทำงานในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> พระปัญญา นันทะ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/280479 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลการพัฒนาความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งด้วยการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/278546 <p> การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม 2. เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบของโรงเรียน ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จำนวน 148 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 16 คน วัดจากการตอบแบบประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียน และคะแนนพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการให้การปรึกษากลุ่มและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามระบบของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.96 และการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบใช้ Wilcoxon signed rank test และ Mann-Whitney U test</p> <p> พบผลการวิจัยดังนี้ 1. ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมนักเรียนมีพฤติกรรมความรับผิดชอบในการเรียนด้านด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายามสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการปรึกษากลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หากพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับความรับผิดชอบในการเรียน มีความมุ่งมั่นและเพียรพยายาม ด้านความตรงต่อเวลา ด้านความเคารพในระเบียบ กฎเกณฑ์และด้านการยอมรับการกระทำของตน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. ความรับผิดชอบในการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม มีความรับผิดชอบในการเรียนด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายามสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามปกติของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากการให้การปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม สามารถพัฒนาความรับผิดชอบในตนเองได้ โดยมีแนวคิดและเทคนิคของการให้การปรึกษากลุ่ม เช่น การเผชิญหน้า การเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ มุมมองความคิดและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของกลุ่มเพื่อนเกิดความปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มรวมถึงพฤติกรรมและการแสดงออก สามารถพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น หากพิจารณาเป็นรายด้านตามลำดับความรับผิดชอบในการเรียน มีดังนี้ ด้านความมุ่งมั่นและเพียรพยายาม ด้านความตรงต่อเวลา และด้านการยอมรับการกระทำของตน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 ส่วนด้านความเคารพในระเบียบ กฎเกณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01</p> อรทัย สิทธิจารย์, ชลพร กองคำ, กาญจนา สุทธิเนียม Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/278546 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279109 <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก 1. เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม และวัตถุประสงค์รอง 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือดภายในกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติของสถานบริการทางสาธารณสุข 3. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติของสถานบริการทางสาธารณสุข การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ชนิดศึกษา 2 กลุ่ม แบบวัดก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลวิจัยคือแบบสอบถาม และโปรแกรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิงใช้ Paired-Sample t-test และ Independent t-test</p> <p> จากผลการศึกษาพบว่า 1. ผลของโปรแกรมฯ มีประสิทธิผลต่อกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 2. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ สูงกว่า และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการวิจัยมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ และระดับน้ำตาลในเลือดไม่แตกต่างกัน 3. กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารฯ สูงกว่ากลุ่มควบคุม และมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ</p> ปานทิพย์ มีสัตย์, ธริสรา จิรเสถียรพร, ธีรพล ผังดี Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279109 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281249 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนตามแนวทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา 2. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนตามแนวทางพุทธจิตวิทยา 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนด้วยพุทธจิตวิทยา การวิจัยนี้ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อศึกษาและพัฒนาแบบจำลองพุทธจิตวิทยาสำหรับการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำในภาคธุรกิจเอกชน กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเครื่องมือและวิธีการวิจัยหลากหลาย ได้แก่ 1. การวิจัยเอกสาร (Document Research) 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 3. การสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำในองค์กรภาคธุรกิจเอกชนด้วยพุทธจิตวิทยา 4. การสนทนากลุ่ม (Focus Group) 5.การประชุมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Connoisseurship) เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้</p> <p> ผลการวิจัยนำไปสู่การสร้างรูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนที่เรียกว่า " Buddhist Psychology Power Mindset Model” ใช้ชื่อย่อว่า “B2P2M + 5A” หรือ “พุทธจิตวิทยานุภาพวิสัย” " รูปแบบนี้มีองค์ประกอบ 8 ประการ ได้แก่ 1. พลังสติแห่งพุทธจิตวิทยาวิสัย 2. บุคลิกภาพภายใน (จริต 6) 3. บุคลิกภาพภายนอก (DISC) 4. ชุดความคิด (Mindset) 5. ชุดทักษะ (Skillset) 6. ชุดเครื่องมือ (Toolset) 7. กระบวนการพัฒนา (Development Process) 8. มีความเป็นสัตบุรุษ ด้วยหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 เมื่อกระบวนการพัฒนาผู้นำโดยบูรณาการองค์ประกอบทั้ง 7 ประการอย่างสมบูรณ์ จะส่งผลให้เกิดภาวะผู้นำที่มีลักษณะ "สัตบุรุษ" ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันพึงประสงค์ของผู้นำที่มีประสิทธิภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี โดย "รูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำองค์กรในภาคธุรกิจเอกชน" นี้ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำทั้งภายในและภายนอก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจิตใจและพฤติกรรมของผู้นำ นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของผู้นำให้สามารถนำพาองค์กรและสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน</p> อานุภาพ พันชำนาญ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281249 Wed, 18 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281590 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย 1. เพื่อศึกษาแนวคิดปัจจัยพุทธจิตวิทยาส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 3. เพื่อนำเสนอปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed methods research) ประกอบด้วย วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน เพื่อสร้างเครื่องมือแบบสอบถามและการสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 204 คน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด คือ หลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา กับ หลักทางจิตวิทยาเชิงบวก คือ การรับรู้ศักยภาพของตนเอง การมีความหวัง มองโลกในแง่ดีและมีความยืดหยุ่น ได้ศึกษาด้านองค์ประกอบ ปัจจัย หลักธรรม หลักจิตวิทยา การบูรณาการหลักเชิงพุทธจิตวิทยาและผู้บริหารองค์กรกับบทบาทส่งเสริมความสำเร็จบุคลากร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยามีความเกี่ยวข้องเป็นแนวทางส่งเสริมประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. ผลการศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด พบว่า ภาพรวมประสิทธิภาพของบุคลากร อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.44) พิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านเวลางาน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.48, S.D.= 0.48) รองลงมา คือ ด้านด้านคุณภาพงาน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.47, S.D.= 0.44) และ ด้านปริมาณงาน (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.38, S.D.= 0.54) ผลการเปรียบเทียบ ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยภาพรวมมากที่สุด คือ หลักอิทธิบาท 4 อยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.30, S.D. = 0.69) รองลงมา คือ จิตวิทยาเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.21, S.D. = 0.72) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 3. ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า หลักอิทธิบาท 4 มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด R2 = 0.5 นัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และจิตวิทยาเชิงบวกมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัด R2 = 0.6 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จากผลสถิติยืนยันได้ว่าสามารถสร้างความสัมพันธ์กับตัวแปรต้นและตัวแปรตามได้</p> ปทิตตา วิเศษบุปผากุล Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281590 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279531 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ใช้วิธีการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ผู้สอนวิปัสสนา และนักวิชาการในมหาวิทยาลัย จำนวน 25 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูล (content analysis) ที่ได้จากการศึกษาในภาคสนาม</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. กรรมฐานในพระพุทธศาสนามีแนวปฏิบัติที่เรียกว่ากรรมฐาน 40 วิธีโดยมหาวิทยาลัยสงฆ์ในทุกระดับชั้น ทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกจัดให้มีการเรียนการสอนในทุกหลักสูตร โดยในแต่ละหลักสูตรใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่าสติปัฎฐาน 4 ในการสอนใช้แนวปฏิบัติที่เรียกว่ายุบหนอ พองหนอเป็นกลไกในการศึกษาและพัฒนาบุคคลโดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ให้มีลักษณะทางกายภาพที่ตื่นรู้และมีสติ 2. พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ พระพุทธศาสนาเชื่อมประสานเข้าได้อย่างมีประสิทธิผลในทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ซึ่งสัมพันธ์กับวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา เช่น วิปัสสนากรรมฐานกับสุขภาวะ วิปัสสนากับการพัฒนาสมรรถนะในการทำงานของบุคคล หรือ ศักยภาพทางการบริหารกับวิปัสสนาหรือพระพุทธศาสนา เป็นต้น และ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามนัยแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ มีงานการศึกษาที่เกี่ยวกับวิปัสสนากับกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านจิตบำบัด ดังงานศึกษา "The Use of Acceptance and Commitment Therapy to Prevent the Rehospitalization of Psychotic Patients: A Randomized Controlled Trial," และงานเรื่อง "The Benefits of Being Present: Mindfulness and Its Role in Psychological Well-Being," โดยทั้งหมดสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างพระพุทธศาสนาหรือวิปัสสนากรรมฐานกับจิตวิทยา วิปัสสนากรรมฐานกับกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สันติภาพ การรักษาสุขภาพและสุขภาวะทางจิต เป็นต้น</p> พระธรรมวชิรมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร) Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279531 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279527 <p> การวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิต ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวสติปัฎฐานในพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 3. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ใช้วิธีการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารหลักสูตรบัณฑิตศึกษา พระวิปัสสนาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูล (content analysis) ที่ได้จากการศึกษาในภาคสนาม</p> <p> ผลการวิจัย 1. กรรมฐานในพระพุทธศาสนามีแนวปฏิบัติ 40 วิธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทุกระดับชั้นใช้แนวปฏิบัติสติปัฎฐาน 4 ในการสอนที่เรียกว่า พองหนอ ยุบหนอ 2. การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 1) เป็นรายวิชาที่ต้องมีการเรียนการสอน 2) การปฏิบัติธรรม 30 วัน สำหรับหลักสูตรปริญญาโท และ 45 วัน สำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 3) กิจกรรมที่เนื่องด้วยการปฏิบัติธรรม เช่น การเดินธุดงค์ธรรมยาตรา การปฏิบัติธรรมจาริกแสวงบุญในประเทศอินเดีย เป็นต้น 3. ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของนิสิตระดับบัณฑิต ศึกษา จำแนกได้ 4 คือ 1) ประสิทธิผลทางกาย (กายานุปัสสนา) ใช้กระบวนการทางกายเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ ผ่านอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน 2) ประสิทธิผลทางศีล (เวทนานุปัสสนา/สังคม) การเรียนรู้พระพุทธศาสนาผ่านการรับรู้สิ่งที่เข้ามากระทบ รับผิดชอบต่อสังคมและสมาชิกของคนรอบข้างมากขึ้น 3) ประสิทธิผลทางจิต (จิตตานุปัสสนา) เกิดกระบวนการยับยั้งชั่งใจได้มากขึ้น รวมถึง จิตมีพลังในการทำงาน ในการศึกษาเรียนหนังสือ กำลังความคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผลมากขึ้น 4) ประสิทธิผลทางปัญญา (ธัมมานุปัสสนา) การใช้ดุลพินิจอย่างมีเหตุผลมีผลและเข้าใจตามสภาพความเป็นจริง</p> พระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนฺโต) Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279527 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านภาษาไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279455 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2. เพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีอ่างทอง จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 119 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เสริมสมรรถนะการอ่านในชีวิตประจำวัน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หน่วยการเรียนรู้ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบทดสอบเพื่อประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และร้อยละ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความฉลาดรู้ด้านการอ่านที่สูงขึ้น โดยกลยุทธ์การสอนอ่านจากต่างประเทศมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่ชัดเจน และเป็นลำดับขั้น ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้อย่างเป็นระบบตามขั้นตอนต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีความฉลาดรู้ด้านการอ่านในการทำความเข้าใจบทอ่านด้วยการตีความ จับใจความสำคัญ วิเคราะห์ วิจารณ์ สะท้อนความคิดเห็น พิจารณาคุณค่าบทอ่าน และนำสิ่งที่ได้รับจากการอ่านไปใช้อย่างเหมาะสม และ 2. ผลการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านของนักเรียนแต่ละห้องเรียนมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ในระดับที่แตกต่างกัน โดยนักเรียนส่วนมากมีผลการประเมินความฉลาดรู้ด้านการอ่านผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80</p> พรทิพย์ รุ่งสว่าง, ศุภฤกษ์ ทานาค, นาตยา ปิลันธนานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279455 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/283425 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง ประชากรได้แก่ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเชียงรากน้อย อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 41 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1.โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมีชีวิตชีวาระยะเวลาทดลอง 12 สัปดาห์ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่1 ให้ความรู้เรื่องเปลี่ยนแปลงในวัยผู้สูงอายุด้านต่างๆ กิจกรรมที่ 2 ด้านสุขสบาย กิจกรรมที่ 3 ด้านสุขสนุก กิจกรรมที่ 4 ด้านสุขสง่า กิจกรรมที่ 5 ด้านสุขสว่าง และกิจกรรมที่ 6 ด้านสุขสงบ 2.แบบประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยข้อคำถามจำนวน 25 ข้อ ประกอบด้วยคำถาม 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ ด้านสังคมและด้านความมั่นคง แบบประเมินก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังสิ้นสุดโปรแกรมคะแนน และ 3.แบบบันทึกความสุขรายบุคคล วิเคราะห์ด้วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความมีชีวิตชีวาของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test หลังเข้าโปรแกรมผู้สูงอายุความมีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นโดยค่าผลการทดสอบมีค่าคะแนนที่ 80.37 (M=80.37, SD=3.21) มากกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมซึ่งมีค่าคะแนนที่ 66.12 (M=66.12, SD=3.87) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -17.66, p&lt;.001) 2. ผลการประเมินคะแนนภาพรวมแบ่งระดับความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ พบว่าหลังเข้าโปรแกรมผลการประเมินระดับความมีชีวิตชีวาอยู่ระดับ 4 หมายถึงระดับมาก ซึ่งสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมประเมินอยู่ระดับ 3 หมายถึงระดับค่อนข้างมาก องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย ได้แก่เกิดการเพิ่มศักยภาพผู้สูงอายุ การเพิ่มความมีชีวิตชีวาผู้สูงอายุ และการเพิ่มสัมพันธภาพในชุมชนทำให้เกิดสุขภาวะที่ดีขึ้นของผู้สูงอายุ</p> กนกรัชต์ สุดลาภา, ณฤดี ชลชาติบดี Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/283425 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279991 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามหลักพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา และ 3. นำเสนอปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรตามแนวพุทธจิตวิทยา ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านและผู้มีประสบการณ์ตรงโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัย และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อมูลแบบอุปนัย</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ตามหลักพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow และทฤษฎีจิตวิทยาเชิงบวกของ Seligman 2. การวิเคราะห์ปัจจัยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร ตามแนวพุทธจิตวิทยา ประกอบด้วย 1) ความคิดบวก ความผูกพันกับหน่วยงาน บุคลิกภาพที่ส่งผลต่อจิตใจบริการในงาน ขยัน ยืดหยุ่นสูง การจัดการในความแตกต่างหลากหลาย ความคิดสิ่งใหม่ การสื่อสารและร่วมมือกันทำงาน 2) ใช้หลักพุทธจิตวิทยาสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3) ผู้บริหารและบุคลากรเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการพัฒนาบุคลากร และ 3. นำเสนอปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของบริษัทเอส ดี ซี เซ็นทัล เซ็นเตอร์ จำกัด ได้แก่ บุคลากรมีจิตใจในงานบริการ ทำงานรวดเร็ว มีความยืดหยุ่น เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง มีความคิดสร้างสรรค์ มีการสื่อสารที่ชัดเจน และมีความร่วมมือในการทำงาน</p> จิรชฎา เชียงกูล, กัลยาณี ประดับพงษา, ณญาน นลินขวัญ, ตระกูล พุ่มงาม Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279991 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยการประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277956 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับคุณภาพการให้บริการ สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 9 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทนําเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง แจกแจงความถี่ของผู้ให้ข้อมูลสําคัญ เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยประยุกต์ตามหลักสาราณียธรรม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.56) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.84) รองลงมา ด้านสุขอนามัย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.76) ด้านศาสนาและวัฒนธรรม (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.74) ด้านเศรษฐกิจ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.38) และด้านสังคมและการศึกษา (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 3.08) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 กับการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน (R=.521**) โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐาน 3. แนวทางการประยุกต์ใช้หลัก สาราณียธรรมในการการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ด้านเมตตากายกรรม คือ ควรมีความกระตือรือร้นและทุ่มเทต่อการปฏิบัติงาน ด้านเมตตาวจีกรรม คือ ให้มีเมตตา ด้วยการพูด พูดในสิ่งที่เกิดประโยชน์ พูดจาไพเราะ ด้านเมตตามโนกรรม คือ ต้องคิดดีต่อเพื่อนร่วมงานและต่อประชาชน ด้านสาธารณโภคี คือ ใช้วัสดุอุปกรณ์ด้วยความประหยัด ด้านสีลสามัญญตา คือ ดำรงตนเป็นผู้มีคุณธรรมศีลธรรมและตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้องตีงาม ด้านทิฏฐิสามัญญตา คือ ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและประพฤติตนเป็นกลาง</p> วชิระ ยะถา, พระครูปลัดวัชพงษ์ วชิรปญฺโญ, เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277956 Thu, 19 Dec 2024 00:00:00 +0700 การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277958 <p> การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการให้บริการ 3. เสนอแนวทางพัฒนาการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุธรรม การวิจัยใช้วิธีผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 375 คน ซึ่งคำนวณจากสูตรทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น 0.955 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. การให้บริการของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผาอยู่ในระดับดี โดยความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนด้านหลักพุทธธรรม (สังคหวัตถุ 4) โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.37, S.D. = 0.60) 2. มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงระหว่างหลักสังคหวัตถุธรรมกับการให้บริการ (R = 0.850, p &lt; 0.01) และ 3. แนวทางการพัฒนาการให้บริการโดยการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรม ได้แก่ การส่งเสริมความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์ ความกระตือรือร้นในการทำงาน และการมีจิตอาสา การพัฒนาทักษะการให้บริการควรรวมถึงการยึดมั่นในจริยธรรม โปร่งใส และการให้บริการด้วยใจรัก เพื่อให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขาท่าวังผาสามารถให้บริการน้ำประปาที่มีคุณภาพและเพียงพอแก่ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> วัชรพงษ์ ธนูสนธิ์, ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล, เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277958 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279265 <p> การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน โรงเรียนสตรีศรีน่าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) แบบวัดความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.64/80.42 2. นักเรียนมีความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> กมลลักษณ์ ทนันไชย, ทรงภพ ขุนมธุรส, กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279265 Sat, 21 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกันโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน (CO – 5 STEPs) ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279245 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย และ 4. เปรียบเทียบความสามารถการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกันหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบสุ่มกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองเชลียง จังหวัดสุโขทัย ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 6 ห้องเรียน รวม 217 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 จำนวน 36 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอนที่ใช้ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นสุโขทัย 2) แบบวัดความสามารถการเขียนเรียงความและเกณฑ์การให้คะแนน 3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ และ 4) แบบวัดความยึดมั่นผูกพันกับการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.06/81.67 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2. นักเรียนมีความสามารถการเขียนเรียงความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนเรียงความโดยใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ร่วมกับแบบฝึกทักษะที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4. นักเรียนที่มีความยึดมั่นผูกพันกับการเรียนต่างกัน หลังเรียนมีความสามารถการเขียนเรียงความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สมชาย ทุนมาก, ทรงภพ ขุนมธุรส, กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279245 Sat, 21 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/280252 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้ข้อมูลมาโดยวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทียมนครวิทยา อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 24 คน โดยคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองด้วยวิธีการคำนวณด้วยอัตราส่วนประชากร (Sampling Proportion) และได้กลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster or Area random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านจับใจความด้วยเทคนิค SQ4R จำนวน 5 แผน รวม 10 ชั่วโมง โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ที่ 4.46 ระดับความเห็น เหมาะสมมาก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ความสามารถด้านการอ่านจับใจความเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ที่ 0.89 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R โดยใช้นิทาน มีดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบความพึงพอใจ อยู่ที่ระดับ 1 ทุกข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D), และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถด้านการอ่านจับใจความหลังเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทาน สูงกว่าความสามารถด้านการอ่านจับใจความก่อนเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้นิทานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค SQ4R โดยใช้นิทาน ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.66 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.65 โดยด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.76 รองลงมาคือ ด้านบรรยากาศในชั้นเรียน มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.71 และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />) = 4.42 ตามลำดับ</p> เกียรติศักดิ์ ปุ่มแม้น, วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/280252 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลกระทบของการใช้เทคนิคพี่เลี้ยงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่การศึกษาเขต 2 จังหวัดพะเยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/282058 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์พฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษหลังจากใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยง และ 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังจากที่ครูภาษาอังกฤษใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยงโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Methods) และเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียง คำศัพท์ และแต่งประโยคของนักเรียน 2) แบบสังเกตการสอน และ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการสนทนากลุ่มของครู คณะนักวิจัยคัดเลือกครูต้นแบบจำนวน 2 คนให้เป็นพี่เลี้ยงในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมบูรณาการภาษาศาสตร์กับการสอนภาษาอังกฤษแก่ครูภาษาอังกฤษจำนวน 2 คน ข้อมูลเชิงปริมาณ (ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ฯ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ pre-post test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบว่า เทคนิคพี่เลี้ยงทำให้ครูภาษาอังกฤษสามารถใช้นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนด้านพฤติกรรมและความเชื่อของครูภาษาอังกฤษนั้นเป็นไปตามทฤษฎีและกรอบแนวคิดการวิจัยที่ใช้ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงถึง 3 ระดับ คือ 1) สื่อ 2) พฤติกรรม และ 3) ความเชื่อ หลักการ และวิธีการสอน ส่วนผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบว่า นักเรียนของครูภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นในด้านการอ่านออกเสียงและสะกดคำ ยกเว้นด้านการแต่งประโยคเนื่องจากข้อจำกัดด้านระยะเวลาการวิจัย งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการขยายผลการใช้นวัตกรรมผ่านเทคนิคพี่เลี้ยงให้แพร่หลายผ่านกระบวนการ PLC หากครูภาษาอังกฤษได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ อาจทำให้องค์ความรู้ด้านการใช้นวัตกรรมแพร่หลายมากขึ้น</p> ดารินทร อินทับทิม, นริศา ไพเจริญ, เกริก เจษฎานุวัฒน์, พิชญ์สินี เสถียรธราดล Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/282058 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281279 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์หลักธรรมและทฤษฎีจิตวิทยาในการส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย 2. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย 3. เพื่อประเมินและนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย การเก็บข้อมูลเริ่มจากการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎก ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 คน การจัดสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ 12 คน และการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 9 คน เครื่องมือทุกชิ้นผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัย มีการประเมินรูปแบบครอบคลุม 4 ด้าน คือ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Triangulation Technic, Logical Matrix Technic และ 6'C Technic</p> <p> ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. วิเคราะห์หลักธรรมและทฤษฎีจิตวิทยาในการส่งเสริมภาวะผู้นำ พบว่า มีการผสมผสานระหว่างหลักพุทธธรรมและทฤษฎีจิตวิทยา โดยหลักพุทธธรรมประกอบด้วยหลักไตรสิกขาและหลักพละ 5 ส่วนทฤษฎีจิตวิทยาประกอบด้วยทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์และแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก PERMA Model ซึ่งทั้งหมดนี้สอดคล้องและเหมาะสมกับการพัฒนาภาวะผู้นำในด้านคุณธรรม การสร้างสุขและการเป็นต้นแบบ เพื่อสร้างความเชื่อ แรงจูงใจ ความสุขในองค์กร ตลอดจนการพัฒนาธุรกิจเครือข่ายและระบบการสื่อสารในยุคดิจิทัล 2. การสังเคราะห์รูปแบบพุทธจิตวิทยาส่งเสริมภาวะผู้นำนำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย ได้บูรณาการศาสตร์ 3 ด้านเข้าด้วยกัน ได้แก่ พุทธธรรม จิตวิทยาและแนวคิดคุณสมบัติผู้นำสร้างสรรค์สุข จนเกิดเป็นโมเดล "พุทธจิตภาวะผู้นำสร้างสุข 2MCSV" ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ การใช้สติในการดำเนินชีวิตและธุรกิจ การเป็นผู้นำต้นแบบ การสร้างสรรค์สุขในองค์กร การสร้างความยั่งยืน และการเพิ่มคุณค่า โมเดลนี้มุ่งเน้นการพัฒนาผู้นำให้สามารถสร้างสุขภาวะองค์รวมที่ดีทั้ง 6 ด้าน ครอบคลุมทั้งสุขภายนอก สุขภายใน สุขในตนเอง สุขในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและสุขในการทำงาน เพื่อสร้างความเชื่อ แรงจูงใจและความสำเร็จในธุรกิจเครือข่ายอย่างยั่งยืน 3. การประเมินรูปแบบพุทธจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำสร้างสรรค์สุขในองค์กรธุรกิจเครือข่าย ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านระบบการประเมินมาตรฐาน 4 มิติ คือ ความถูกต้องครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ และความมีประโยชน์ ผลการประเมินพบว่ารูปแบบนี้ได้คะแนนระดับมากที่สุดในทุกด้าน จึงสรุปได้ว่ามีประสิทธิภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง</p> วิไล ถาวรสุวรรณ, เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281279 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรแห่งนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281231 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรแห่งนวัตกรรมการจัดการสมัยใหม่ 2. ศึกษากระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา 3. เสนอตัวแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรตามแนวพุทธจิตวิทยา การวิจัยเป็นแบบคุณภาพ ใช้สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 21 คน, สนทนากลุ่มย่อย 12 คน, และประชุมสัมมนากับผู้เชี่ยวชาญ 11 คน เพื่อรับรองรูปแบบที่เสนอและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขในองค์กรมี 8 ประการ ได้แก่ วิสัยทัศน์ร่วม, ความสัมพันธ์เชิงบวก, การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ, การสร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อสุขภาวะ, การชื่นชมและรางวัล, การเป็นแบบอย่างที่ดี, การสร้างแรงบันดาลใจ, และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 2. กระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างเสริมสุขตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาภาวะผู้นำจากภายใน, การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี, การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมสุขภาวะ, การนำเทคโนโลยีมาใช้, และการประยุกต์ใช้การเรียนรู้ออนไลน์ และ 3. รูปแบบ ANAT 25 Model ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะผู้นำสร้างเสริมสุข 4 ประการ 2) สุขภาวะในตัวบุคคลและในองค์กร และ 3) การใช้หลักพุทธธรรม (พรหมวิหาร 4 อิทธิบาท 4 และไตรสิกขา) และแนวคิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Bernard M. Bass ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่ให้มีระบบดิจิทัลที่เป็นนวัตกรรม</p> อณัทร เบ็ญจวรโชติ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281231 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700 โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281418 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา สาเหตุด้าน สุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง 2 เพื่อสร้างโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังตามหลักพุทธจิตวิทยา การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) โดยใช้การอบรมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการทดลองในรูปแบบ One Group Pre-test Post-test Design กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนทุ่งมหาเจริญ จำนวน 51 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 15 คน เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) รู้เท่าทัน 2) มุ่งมั่นปฏิบัติดี 3) ปรับท่าทีเป็นกิจวัตร 4) ปฏิบัติด้วยปัญญา 5) เป็นกัลยาณมิตร และ 6) พัฒนาจิตปล่อยวาง โดยมีการฝึกปฏิบัติครั้งละ 120 นาที ในระยะเวลา 2 วัน 1 คืน</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังก่อนฝึกปฏิบัติตามโปรแกรมเท่ากับ 42.33 คะแนน และหลังจากการฝึกปฏิบัติเพิ่มขึ้นเป็น 46.00 คะแนน ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโปรแกรมยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การปรับท่าทีและการมองโลกในแง่ดี ส่งผลให้มีสุขภาพจิตและมีความสัมพันธ์ทางสังคมดีขึ้น</p> ริญญารัตน์ วรจินตนาลักษณ์ Copyright (c) 2024 วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/281418 Sun, 22 Dec 2024 00:00:00 +0700