https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/issue/feed
วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม
2024-06-12T00:00:00+07:00
Assoc. Prof. Dr. Siriwat Srikhruedong
siriwatmcu@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS) </strong></p> <p><strong>ISSN</strong>: 3056-9834</p> <p><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์</strong> : วารสารมีวัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์บทความวิชาการทั่วไปและบทความวิจัยด้านจิตวิทยาประยุกต์และพระพุทธศาสนาประยุกต์กับศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก</strong> : 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม</p> <p><strong>ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ : </strong><br />1. บทความวิชาการทั่วไป (Academic Article)<br />2. บทความวิจัย (Research Article)</p> <p><strong>การพิจารณาและคัดเลือกบทความ:<br /></strong>บทความที่ส่งมารับการตีพิมพ์จะถูกพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อตรวจความตรงตามวัตถุประสงค์ของวารสารและตรวจรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนด เมื่อผู้เขียนปรับแก้ตามคำแนะนำเบื้องต้นของกองบรรณาธิการแล้ว จะถูกส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความ (Peer Review) ที่มีคุณวุฒิ ความรู้และความเชี่ยวชาญตรงกับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน โดยผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อ นามสกุล หน่วยงาน หรือข้อมูลระหว่างกัน (Double-Blinded Peer review) ผ่านระบบ ThaiJO</p> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ</h3> <p class="whitespace-pre-wrap break-words">วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ ดังนี้</p> <ol class="-mt-1 [li>&]:mt-2 list-decimal space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไป 2,500 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิจัย ระดับปริญญาโท 3,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิจัย ระดับปริญญาเอก 4,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไปหรือบทความวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย 4,000 บาท</li> <li class="whitespace-normal break-words">บทความวิชาการทั่วไปหรือบทความวิจัยที่ใช้ประกอบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ 5,000 บาท</li> </ol> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">เงื่อนไขการชำระค่าธรรมเนียม</h3> <ol class="-mt-1 [li>&]:mt-2 list-decimal space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words">วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเมื่อบทความได้รับการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการให้เข้าสู่กระบวนการส่งผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ</li> <li class="whitespace-normal break-words">วารสารขอสงวนสิทธิ์คืนเงินเฉพาะกรณีที่บทความถูกปฏิเสธการตีพิมพ์จากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ จำนวน 2 ใน 3 ท่าน</li> </ol> <h3 class="font-600 text-lg font-bold">ช่องทางการชำระเงิน</h3> <p class="whitespace-pre-wrap break-words"><strong>หมายเหตุสำคัญ:</strong> รับชำระผ่านการโอนเงินเข้าบัญชีเท่านั้น ไม่รับชำระเป็นเงินสดทุกกรณี</p> <h2 class="font-600 text-base font-bold">รายละเอียดบัญชีธนาคาร</h2> <ul class="-mt-1 [li>&]:mt-2 list-disc space-y-2 pl-8" style="font-style: normal; font-variant-caps: normal; font-weight: 400; letter-spacing: normal; orphans: auto; text-align: start; text-indent: 0px; text-transform: none; white-space: normal; widows: auto; word-spacing: 0px; -webkit-text-stroke-width: 0px; text-decoration: none; caret-color: #000000; color: #000000;"> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>ธนาคาร:</strong> ธนาคารกรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสบางปะอิน</li> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>ชื่อบัญชี:</strong> วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์</li> <li class="whitespace-normal break-words"><strong>เลขที่บัญชี:</strong> 934-0-21833-9</li> </ul> <hr /> <p class="whitespace-pre-wrap break-words">สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: กองบรรณาธิการวารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม (JPBS)</p>
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/269239
การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมอย่างมีความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยา
2023-06-13T14:19:14+07:00
จิรชฎา เชียงกูล
jirachada.c@gmail.com
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
laocup@gmail.com
<p> สุขภาวะองค์รวมของมนุษย์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต ปัญหาสุขภาวะของคนไทยมีความซับซ้อนเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศที่พัฒนา มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญและมีค่าอย่างยิ่ง มีความรู้สึกนึกคิด รวมทั้งมนุษย์มีความปารถนาที่จะมีความสุขในชีวิต และสามารถแก้ไขปัญหาในทางโลกได้ มีความจำเป็นต้องพัฒนาสุขภาวะองค์รวมให้มีความสุขในทุก ๆ ด้าน ที่ประกอบด้วยสุขภาวะทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านปัญญาและด้านสังคมของมนุษย์ ดังนั้น การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมอย่างมีความสุข ตามแนวพุทธจิตวิทยา ให้กับทุกช่วงวัยของมนุษย์จนถึงวัยสูงอายุอันเป็นวัยสุดท้ายของชีวิตเป็นเรื่องที่ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะองค์รวมอย่างมีความสุข เป็นการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมทุกด้านอย่างสมดุล พัฒนาจิตใจและปัญญาโดยการเจริญสติเพื่อเห็นคุณค่าแท้ของปัจจัยต่างๆ และพุทธจิตวิทยาสามารถพัฒนาให้มนุษย์มีสุขภาวะองค์รวมอย่างมีความสุขได้ เป็นการใช้ทั้งหลักพระพุทธศาสนาที่สำคัญและหลักพรหมวิหาร 4 บูรณาการกับหลักจิตวิทยาหรือศาสตร์ตะวันตก ที่คำนึงถึงลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์และพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้ง องค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดสุขภาวะองค์รวมอย่างมีความสุข เพื่อสร้างความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล การใช้พุทธจิตวิทยาพัฒนาสุขภาวะองค์รวมอย่างมีความสุข มนุษย์ควรมีการรู้ตนเองและสามารถพัฒนาศักยภาพแห่งตนได้ ทั้งหมดนี้เพื่อให้เข้าถึงความรู้สึก จิตใจของมนุษย์ ที่ทำให้มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีความสุข เพื่อให้มนุษย์สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมและสร้างความสุขในการดำเนินชีวิตให้กับตนเองและผู้คนรอบข้างได้ทั้งชีวิตครอบครัว สังคมวัยทำงาน และสังคมผู้สูงอายุ ให้สามารถนำไปพัฒนาตนเองให้เกิดความสุขตามแนวพุทธจิตวิทยาได้</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/271501
มุมมอง : คุณลักษณะผู้นำองค์กรธุรกิจตามแนวพุทธจิตวิทยา ในยุคท้าทายหลังโควิด-19
2023-10-04T11:08:03+07:00
อณัทร เบ็ญจวรโชติ
anatara28@gmail.com
<p> บทความนี้ผู้เขียนเสนอมุมมองเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำองค์กรธุรกิจตามแนวพุทธจิตวิทยาในยุคท้าทายหลังโควิด-19 ในประเทศไทยการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของผู้คนมากมาย ผู้นำองค์กรธุรกิจในยุคสมัยปัจจุบันจำเป็นต้องมีภาวะแห่งการนำที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับภาวะผู้นําที่ประยุกต์ใช้หลักพุทธจิตวิทยาที่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้เป็นผู้ที่มีความสามารถในการปกครองตน ปกครองคน และปกครองงานได้แก่หลักธรรมพรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 ซึ่งถือว่าเป็นหลักธรรมที่จําเป็นที่ผู้นำองค์กรจำต้องนำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรนั้น เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมซึ่งเป็นหลักธรรมในการทำงานร่วมกันในองค์กร และอยู่ร่วมกันในสังคม การสร้างกระบวนการทำงาน มุมมองด้านการบริหารจัดการ มุมมองด้านการติดตามและประเมินผล ต้องมีการปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบบริหารงาน เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ ผู้บริหารต้อง มีความรู้รอบด้าน มีการสร้างระบบในการทำงาน มีกระบวนการทำงาน และมีการติดตามประเมินผลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งจำต้องเพิ่มพูนความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง มุ่งสร้างผลงานให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลและเหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน องค์กรธุรกิจของตนซึ่งมีความท้าทายในโลกธุรกิจเกิดขึ้นอยู่เสมอผู้นำในแต่ละองค์กรธุรกิจจะต้องหาวิธีและแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมในแต่ละมิติ เพื่อให้ตอบโจทย์ขององค์กรและผู้บริโภคและสามารถดำเนินไปพร้อมกับกระแสโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนของความสำเร็จในอนาคตที่จะเกิดขึ้นหลังสถานการณ์แห่งความท้ายทายของโรคร้ายโควิด-19 ที่จางหายไปพร้อมกับการปรับตัวขององค์กรธุรกิจที่จำต้องเกิดขึ้นอีกมากมายต่อไป</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/275918
การสอนสังคมตามแนวพุทธศาสต์ด้วยเทคนิค PSLDC MODEL 5 ขั้น
2024-03-17T16:43:26+07:00
พระครูอุทิตปริยัติสุนทร -
ed.uthai@mcu.ac.th
สมบุญ ทิพรังศรี
ed.uthai@mcu.ac.th
พระชัยวัฒน์ จินดาพาณิชย์
ed.uthai@mcu.ac.th
<p> การปฏิบัติการสำหรับการสอนสังคมศึกษา คือ กระบวนการหรือกิจกรรมที่ครูใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในวิชาสังคมศึกษา โดยเน้นที่ให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนและสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นได้อย่างยั่งยืนด้วยเทคนิค PSLDC Model 5 ขั้น สู่ความสำเร็จ เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและกลุ่มเป้าหมายของการเรียนรู้ ที่ผู้เขียนออกแบบขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 P : Plan วางแผน เป็นขั้นตอนที่ครูกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 S : Structure โครงสร้าง เป็นขั้นตอนที่ครูออกแบบโครงสร้างการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ และกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 L : Link เชื่อมโยง เป็นขั้นตอนที่ครูเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ โดยพิจารณาจากเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 4 D : Design ออกแบบ เป็นขั้นตอนที่ครูออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระ โครงสร้างการเรียนรู้ และความรู้เดิมของนักเรียน และ ขั้นตอนที่ 5 C : Conclusion สรุปผล เป็นขั้นตอนที่ครูสรุปผลการเรียนรู้ โดยพิจารณาจากกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผลการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ตามแบบ PSLDC 5 ขั้น สู่ความสำเร็จ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้สอนจะต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้อย่างรอบคอบออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่และสรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/265392
สูงวัยกับความสุขอย่างยั่งยืนด้วยลดสุขเทียมเพื่อเพิ่มสุขแท้ ในยุควิถีชีวิตใหม่
2023-08-21T15:06:12+07:00
สุภีมวัจน์ สุริโย
suphimawatt@gmail.com
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
loacup@gmail.com
<p> ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนมีความต้องการ ไม่ว่าจะอยู่ในเพศภาวะอะไร เพราะความสุขเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตทั้งร่างกายและจิตใจโดยเฉพาะผู้สูงอายุซึ่งเป็นวัยที่ต้องมีความสะดวกทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกว่า ความสุขบั้นปลายชีวิต ในบทความวิชาการฉบับนี้เน้นถึงความสุขที่ยั่งยืนและลดความสุขเทียมของผู้สูงอายุ ความสุขที่ยั่งยืนเป็นความสุขที่เกิดจากสภาพจิตใจที่ดีงาม มีความอบอุ่นและเข้มแข็ง สามารถปรับอารมณ์เข้าสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางสังคมโดยการยอมรับความเป็นจริงตามสัจจธรรม คือความเกิด ความแก่ การเจ็บป่วยและความตายเป็นเรื่องธรรมดา คุณภาพของจิตใจดังกล่าว ต้องอาศัยการฝึกตนด้วยหลักธรรทางพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ เรียกว่า “บำเพ็ญบารมี”</p> <p> ส่วนการดำรงชีวิตตามแนวปกติใหม่ (New Normal) เป็นการดำรงชีวิตที่มีความพร้อม ยอมรับต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีสติ ท้ามกลางค่านิยมในความสุขที่แสวงหาวัตถุเป็นตัวกำหนดซึ่งเป็นความสุขที่เกิดได้ไม่เท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับโอกาสและศักยภาพของบุคคล ส่งผลต่อความสะดวกหรือความสุขจากวัตถุแตกต่างกัน ในความสุขที่เกิดจากวัตถุนั้นมักจะขึ้น ๆ ลง ๆ ตามสภาพเศรษฐกิจและโอกาส ไม่มีความมั่นคง จึงเรียกได้ว่าเป็นความสุขที่ไม่ยั้งยืนแตกต่างจากความสุขที่เกิดจากจิตใจอันงดงาม เข้มแข็ง มั่งคง มองโลกเป็นสัจจธรรม รู้เท่าทันต่อสภาพการณ์ต่าง ๆ อย่างผู้มีปัญญา เป็นความสุขที่มั่นคงกว่าความสุขอื่นใดในโลก</p>
2024-06-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/274486
สุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยาของบุคคลในองค์กรธุรกิจเครือข่าย
2024-02-13T15:50:51+07:00
วิไล ถาวรสุวรรณ
vilai.nui1959@gmail.com
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
laocup@gmail.com
<p> บทความนี้นําเสนอเกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยาของบุคคลในองค์กรธุรกิจเครือข่ายซึ่งประกอบด้วย นักธุรกิจอิสระ (Independent) สมาชิก (Member) และลูกค้า (Customer) จากกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและ ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตของสุขภาวะส่วนบุคคล ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ สาเหตุจากภาวะความเครียด ความวิตกกังวล ความกดดันด้านเป้าหมายธุรกิจทั้งส่วนตัว ครอบครัวและเครือข่ายองค์กร นำไปสู่ภาวะโรคทางด้านร่างกาย และจิตใจ การจัดการสุขภาวะองค์รวมด้วยหลักพุทธจิตวิทยาและหลักจิตวิทยาเชิงบวก บูรณาการกับแนวคิดธุรกิจเครือข่าย พัฒนาศักยภาพตนเองให้รู้สติ มีปัญญา จัดการปัญหาด้วยความเข้าใจ โดยนําหลักธรรม ส่งเสริมการพัฒนา กาย วาจา ใจ เพื่อการจัดการสุขภาวะองค์รวมของรูปแบบการดำเนินชีวิตส่วนบุคคลอย่างมีคุณภาพ สร้างภูมิคุ้มกันทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านปัญญา ด้านอารมณ์ เป็นต้นแบบของการสร้างสุขภาวะองค์รวมตามแนวพุทธจิตวิทยาของบุคคลในองค์กรธุรกิจเครือข่าย ขยายสู่สังคมประเทศ</p>
2024-06-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/276398
วัตถุนิยม : ความจริงเชิงเปรียบระหว่างคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม
2024-03-24T11:39:13+07:00
กฤศ แก้วสนั่น
imgrit@gmail.com
<p> วัตถุนิยมเป็นมุมมองทางปรัชญาที่เจาะลึกถึงความสัมพันธ์อย่างซับซ้อนระหว่างวัตถุที่สามารถมองเห็น จับต้องได้และความหมายเชิงนามธรรมของวัตถุนั้นภายใต้โครงสร้างสังคมของการดำรงอยู่ของมนุษย์ ความเชื่อมโยงดังกล่าวมีรากฐานมาจากความคิดที่ว่าโลกทางกายภาพหรือโลกของวัตถุ คือ ความเป็นจริงที่มีรูปร่าง เห็น จับต้องได้และทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมโยงคุณลักษณะด้านรูปธรรม ทำให้เกิดความต้องการครอบครองวัตถุนั้นและใช้วัตถุนั้นแสดงความหมายเชิงสัญลักษณ์ตามที่สังคมได้กำหนดและให้มูลค่า ในยุคที่คนในสังคมหลงไหล ให้ราคาวัตถุสิ่งของมากกว่าประโยชน์แท้และเพิ่มมูลค่าเชิงนามธรรมเพื่อโน้มน้าวให้เกิดความต้องการ อยากได้ กระทั่งต้องดิ้นรนแสวงหาและแย่งชิงมาครอบครองด้วยการการเบียดเบียนและสร้างความขัดแย้ง ดังนั้นความคิด ความเข้าใจคุณค่าแท้ คุณค่าเทียมของวัตถุจึงมีความสำคัญและสามารถนำไปสู่การแสวงหาคำตอบด้านคุณค่าแท้ตามธรรมชาติ เพื่อการครอบครองวัตถุตามความจำเป็นและสมควร ไม่ใช่ดิ้นรนเพื่อครอบครองวัตถุตามกระแสความนิยมทางสังคมที่มักจะมีวัตถุประสงค์แฝงอยู่ หรือมีเป้าหมายการครอบครองเกินประโยชน์เดิมของวัตถุดังกล่าว วิธีคิดแบบคุณค่าแท้หรือคุณค่าเทียมจะเป็นหนึ่งหนทางที่ทำให้เห็นถึงเนื้อแท้ ความสำคัญ รู้ความจำเป็นในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาวัตถุสิ่งของต่าง ๆ บนฐานความคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล เห็นประโยชน์แท้หรือคุณค่าแท้ของวัตถุที่ตนต้องการ หรือเห็นคุณค่าตามความจำเป็นอย่างแท้จริง ความเห็นนั้นจะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอย่างเหมาะสมของบุคคล สร้างสมดุลคุณค่าแก่ตนเอง เข้าใจกระแสสังคมและช่วยสร้างทิศทางสังคม</p>
2024-06-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/275693
การสูบบุหรี่กับจริยธรรมความรับผิดชอบ
2024-03-13T11:21:36+07:00
ณัฐรดา แฮคำ
natrada.pho@gmail.com
<p> การสูบบุหรี่เป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ยาเพื่อความบันเทิงที่พบบ่อยที่สุด ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยผู้คนมากกว่าพันล้านคนทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา การสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เป็นสาเหตุสำคัญของโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น มะเร็งปอด หัวใจวาย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและความพิการแต่กำเนิดและโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ เป็นต้น การสูบบุหรี่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าห้าล้านคนต่อปี แสดงให้เห็นว่าสามารถคร่าชีวิตผู้สูบบุหรี่ระยะยาวเทียบได้กับอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ไม่สูบบุหรี่ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ไม่สูบบุหรี่อีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านสุขภาพเพราะผลกระทบจากการสูบบุหรี่ทั้งของผู้สูบบุหรี่เองและผู้ไม่สูบเนื่องจากบุหรี่มือสอง มือสามด้วย หน่วยงานของไทยที่รับผิดชอบเรื่องสุขภาพรวมถึงองค์กรของพระพุทธศาสนาได้รณรงค์ทุกรูปแบบ เพื่อให้สังคมได้ตระหนักรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ บทความนี้มุ่งนำเสนอ ผลกระทบของการสูบบุหรี่ในสังคมไทยในหลากหลายมิติและจริยธรรมความรับผิดชอบของผู้สูบบุหรี่ที่พึงมีต่อสังคมโดยประยุกต์ใชหลักศีลห้าและหลักเมตตาธรรมโดยเน้นผู้สูบเข้าใจความจริง คือ ตัวเองเป็นผู้สูบที่พยายามเลิกหรือกำลังสูบก็ยังรักตัวเอง ไม่อยากให้ตัวเองเกิดโรคภัย คนอื่นสังคมรอบข้างก็รักสุขภาพ เกลียดโรคภัยเช่นกัน</p>
2024-06-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/274567
จิตวิทยาบุคลิกภาพสำหรับผู้นำ
2024-02-19T11:05:49+07:00
อนุภาพ พันชำนาญ
anuphap.phanchamnan@gmail.com
<p> บุคลิกภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ปรากฏต่อสายตาของบุคคลอื่นเมื่อพบเห็น เป็นลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลในด้านต่าง ๆ ทั้งส่วนภายนอกและภายใน ส่วนภายนอก คือส่วนที่มองเห็นได้ชัดเช่นรูปร่างหน้าตา กริยามารยาท ส่วนภายใน คือ สติปัญญา ความถนัด ลักษณะอารมณ์ประจำตัว เป็นคุณลักษณะพิเศษที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเหมือนกัน เป็นคุณลักษณะที่เป็นอิสระจากสังคม วัฒนธรรมและการอบรมสั่งสอน โดยเฉพาะเรื่องของบุคลิกภาพของผู้นำ จะมีผลต่อความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก จึงถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพราะจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้นำที่มีบุคลิกภาพที่ดี เพิ่มความความน่าศรัทธาแก่ผู้ตาม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ตาม และการที่มีผู้นำต้นแบบที่มีบุคลิกภาพที่ดี จะเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของผู้ตามไปในตัว ทำให้องค์กรมีบุคลากรที่มีบุคลิกภาพที่ดีกันทั่วทั้งองค์กร ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ซึ่งก็มีผลกระทบต่อทัศนคติที่ของคนในองค์กรกลับมาอีกด้วย เพราะองค์กรที่มีภาพลักษณ์ที่ดีจะทำให้พนักงานในองค์กรมีความภาคภูมิใจและทำให้มีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น ท้ายที่สุดผลประกอบการขององค์กรก็จะดีขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพที่ดีของผู้นำนั้นเป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อทั้งทีมและองค์กรในทางที่ดีและมีอิทธิพลที่สำคัญต่อสถานการณ์และบรรยากาศภายในองค์กร ที่มีความสุขทั้งผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรก็เพราะได้มีการพัฒนาบุคลิกภาพของผู้นำไปในทิศทางที่ดีให้การทำให้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จ</p>
2024-06-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277934
การเดิน (จงกรม) ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างไร ?
2024-05-23T10:00:18+07:00
สรรเสริญ จงผดุงสัตย์
sansern44@gmail.com
<p> จากสภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาแทนแรงงานคน ทำให้ผู้คนในสังคมปัจจุบันบันรวมถึงเด็กและเยาวชนเกิดความเครียดและความกังวลใจเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงานบริษัทฯ และทุกคนก็มีการพยายามหาวิธีที่จะลดความเครียดของตนด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีหลายวิธีการที่ผิดและแก้ปัญหาได้ชั่วคราวเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วทุกคนสามารถแก้ปัญหาความเครียดและความกังวลใจได้ด้วยตนเอง เพียงแค่เปลี่ยนวิธีการที่เป็นไปตามธรรมชาติและสามารถทำได้ด้วยตนเอง</p> <p> การฝึกสติและสมาธิเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียดและความกังวลใจได้ และการฝึกที่ง่ายและสามารถทำได้ตลอดเวลา คือ การเดินอย่างมีสติและเป็นสมาธิหรือเรียกว่า “การเดินจงกรม” จากงานวิจัย และบทความที่แสดงไว้ที่รายการอ้างอิง พบว่าการเดินจงกรมมีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพกาย เช่น สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้น พัฒนาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนัก สร้างความยืดหยุ่นของข้อต่อและความแข็งแรงของกระดูก และยังสามารถกระตุ้นการไหลเวียนและเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพของประสาทส่วนปลาย ในส่วนของสุขภาพจิต การเดินจงกรมยังช่วยในการพัฒนาสติ ลดความเครียดและความวิตกกังวล การควบคุมอารมณ์ เป็นต้น</p> <p> การเดินจงกรมมีหลายวิธีซึ่งอาจสรุปได้เป็น การเดินจงกรมโดยแบ่งก้าวเท้าเป็นระยะ การเดินจงกรมโดยการกำหนดบริกรรม และการเดินทั่วไปแต่กำหนดจิตอยู่ที่กายขณะเดิน แต่ละวิธีมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ ให้เกิดการจดจ่อ เกิดสติ หรือเกิดสมาธิระหว่างที่เดิน จึงถือว่าเป็นการฝึกและพัฒนาสติ สติทำหน้าที่เป็นเหมือนกับผู้เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของจิตใจ และกระบวนการที่เกิดขึ้นในจิตใจ สติจึงเป็นส่วนสำคัญที่คอยกำกับพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกให้ถูกต้องเหมาะสม จิตและกายมีการสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เมื่อจิตใจสบาย ก็ทำให้ร่างกายแข็งแรง นอกจากนั้น การเดินยังถือเป็นการออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ แต่มีคนส่วนน้อยที่เห็นประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ของการฝึกสติด้วยการเดินอย่างมีสติ หรือการเดินจงกรม เพราะ “จิตที่ฝึกดีแล้ว นำสุขมาให้ (จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ)”</p>
2024-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/275012
ชีวิตสู่ความสำเร็จด้วยการคิดบวก
2024-01-30T14:00:25+07:00
พระอธิการเทวินทร์ เทวญาโณ (ใจแก้ว)
jaikaew2000@gmail.com
ธนศักดิ์ พรทัพพสาร
pthana8911@gmail.com
<p><strong> </strong>การคิดเชิงบวกเป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงการมีสุขภาพกายและจิตที่ดีของบุคคล เป็นกระบวนการทางจิตที่เกิดการรับรู้และแปลความหมายในทางที่ดี การคิดแต่เรื่องดีเพื่อเพิ่มคุณค่าของชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการคิดที่ประกอบด้วยปัญญา การคิดเชิงบวกเป็นทักษะสำคัญของมนุษย์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตและสร้างสรรค์ชีวิตให้ดีขึ้น โดยยอมรับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตตามความเป็นจริง มองปัญหาทุกอย่างให้เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาตนเอง รู้จักแยกแยะตัวความคิด รู้จักพิจารณาถึงประโยชน์และโทษของความคิด รวมถึง รู้จักใช้เป็นแนวทางในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิต รวมถึง การมองวิกฤตเป็นโอกาสสู่ความสำเร็จ ซึ่งการสร้างความสำเร็จของชีวิตด้วยจิตคิดบวก คือ การหามุมมองที่เป็นบวก มีแง่คิดที่ดีที่ทำให้มีกำลังใจในการดำรงชีวิต มีความทุกข์น้อยลง มีความสุขมากขึ้น มีแรงจูงใจที่จะต่อสู้กับชีวิตและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยบุคคลต้องเพียรพยายามน้อมจิตให้คิดดีอยู่เสมอ มีสมาธิในการมุ่งมั่นที่ดี มีพลังแห่งปัญญาเพื่อจัดการกับปัญหาและอุปสรรคของชีวิตให้หมดไป การคิดเชิงบวกตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นกระบวนการคิดไตร่ตรองอันแยบคาย หรือการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ที่ประกอบด้วยหลักธรรม “พละ 5” ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา ที่จะช่วยให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาและเข้าถึงเป้าหมายความสำเร็จของชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตลอดไป</p>
2024-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/273448
-
2023-11-28T14:50:42+07:00
Apsorn Tiewcharoenkij
apsorn.tie@mcu.ac.th
Chantana Teesong Tiewcharoenkij
noonsuwat@gmail.com
<p>-</p>
2024-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/273176
-
2024-02-13T16:28:17+07:00
Sujan Maharjan (Sujano)
sujanbhante@gmail.com
Methaphan Phothiteerarot
sujanbhante@gmail.com
<p>-</p>
2024-06-14T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/267606
พุทธจิตวิถีและแนวโน้มของโหราศาสตร์ไทยในการให้การปรึกษาแห่งทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2565-2574)
2023-05-17T10:30:09+07:00
ธนชนันณ์ สุระบัญชาการ
thanachanan9@gmail.com
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
siriwatmcu@gmail.com
มั่น เสือสูงเนิน
ansuesongnoen@gmail.com
<p> งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยอนาคตแบบผสานวิธีเชิง EDFR ซึ่งเป็นการผสานระหว่างเทคนิค EFR และ Delphi มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาวิเคราะห์หลักการพุทธจิตวิทยา และชุดความรู้โหราศาสตร์ไทยแห่งอนาคตในการให้การปรึกษาแนะนำ 2) สังเคราะห์ข้อมูล และทิศทางพุทธจิตวิถีกับแนวโน้มโหราศาสตร์ไทยแห่งอนาคตในการให้การปรึกษาแนะนำ 3) นำเสนอฉากภาพพุทธจิตวิถีกับแนวโน้มโหราศาสตร์ไทยในการให้การปรึกษาแนะนำอย่างสร้างสรรค์ในทศวรรษหน้า การวิจัยครี้งนี้มีเครื่องมือวิจัย 4 ประเภท คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญ 21 รูป/ท่าน 2) แบบสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดียวกัน 3) การสนทนากลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญ 13 รูป/ท่าน 4) การเสวนาภูมิปัญญาผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ 12 รูป/ท่าน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในขั้นตอนของการสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพระภิกษุสงฆ์ 2) กลุ่มนักจิตวิทยา 3) กลุ่มนักโหราศาสตร์ โดยจะทำการสัมภาษณ์ใน 3 มิติ คือ ด้านบวก ด้านตรงข้าม และด้านที่เป็นไปได้มากที่สุด ข้อมูลคุณภาพทำการวิเคราะห์โดยใช้ QDAT Knowledge หรือ 6’C เทคนิค เทคนิคสามเส้า และข้อมูลอิ่มตัว ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ค่าสถิติโดยการหาค่ามัธยฐาน (Md), ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (IR), ค่าเฉลี่ย , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดความรู้โหราศาสตร์การให้การปรึกษาแห่งอนาคตจะต้องมี องค์ประกอบของหลักธรรม และหลักจิตวิทยาการให้การปรึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญในการให้การ ปรึกษา และต้องมีการใช้เทคโนโลยี และนวตกรรมเพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การสร้างเครื่องมือการพยากรณ์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคโลกาวิวัฒน์ 2) การพัฒนาศักยภาพคุณธรรมจริยธรรมของนักโหราศาสตร์จะมีมากขึ้น รวมทั้งเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการให้การปรึกษาภายใต้ความรักความสามัคคี และความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้เป็นศาสตร์แห่งปัญญาที่มีคุณธรรมนำความรู้ และเผยแพร่สู่ความเป็นสังคมพุทธศรัทธาโหราศาสตร์การให้การปรึกษาอย่างสร้างสรรค์ตามแนวทางอริยสัจสี่ 3) ฉากภาพอนาคตมีองค์ประกอบสำคัญ 12 ประการ คือ 3.1) การประกอบการเพื่อสังคม 3.2) ภาพลักษณ์ของโหราศาสตร์ 3.3) ศูนย์รวมองค์ความรู้ 3.4) องค์กรพัฒนาโหราจารย์ 3.5) หลักสูตร BPAC 3.6) การศึกษาชั้นสูง 3.7) อริยสัจวิถีการให้การปรึกษา 3.8) AI การให้การปรึกษา 3.9) การจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติ 3.10) องค์กรวิชาชีพโหราศาสตร์ 3.11) ศูนย์สร้างพลังบวก และ3.12) ทางเลือกในการทำงาน</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/270160
รูปแบบพุทธจิตวิสัยเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของเครือข่ายเสริมสร้างวัคซีนใจ ในชุมชนภายใต้สถานการณ์วิกฤติ
2023-10-08T16:44:01+07:00
กนกรัชต์ สุดลาภา
kanokratsudiapa@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและคุณลักษณะของรูปแบบพุทธจิตวิสัยเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของเครือข่ายเสริมสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์วิกฤติ 2. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบพุทธจิตวิสัยเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของเครือข่ายเสริมสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์วิกฤติ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธจิตวิสัยเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของเครือข่ายเสริมสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์วิกฤติ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เครือข่ายในชุมชนที่สังกัดเขตบริการสุขภาพอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 244 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Observation participant) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบ และการประชุมเสวนาผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Connoisseurship ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิควิจัยแบบสามเส้า, Data Saturated และเทคนิค 6’ C Technic Analysis)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>รูปแบบพุทธจิตวิสัยเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของเครือข่ายเสริมสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์วิกฤติ ประกอบด้วย 1) แนวคิดและคุณลักษณะด้านแรงจูงใจใฝ่อาสาสมัคร 2) สภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดี 3) จิตอาสาสาธารณะจิตกุศล 4) หลักพรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4 5) ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ 6) กระบวนความคิด 2 แนวทางปรับความคิดและเจตคติด้วยใจไม่ต้องการสิ่งตอบแทน 7) มองเห็นคุณค่าในตนเอง ในงานและในชุมชน</li> <li>การสังเคราะห์รูปแบบงานพุทธจิตวิสัยเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของเครือข่ายเสริมสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์วิกฤติ ขั้นตอนที่ 1 การบูรณาการหลักจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์และหลักจิตวิทยากระบวนความคิด 2 แนวทาง กับหลักพรหมวิหาร 4 และสังคหวัตถุ 4 เพื่อสร้างคุณลักษณะจิตอาสา 3 ด้าน คือ 1) ด้านจิตสาธารณะสร้างสรรค์ที่เป็นกุศล 2) ด้านจิตคิดบวก และ 3) ด้านจิตสำนึกดีมีศีลธรรม ขั้นตอนที่ 2 พัฒนากิจกรรมสร้างคุณลักษณะพุทธจิตวิสัยภายใต้ 4 โมดูล คือ 1) คุณลักษณะพุทธจิตวิสัย 6 ส 2) คุณสมบัติเครือข่าย 6 มี 3) มิติการพัฒนาสมดุลชีวิต 4 มิติ และ 4) ปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดทางปัญญา 5 ปรับ และขั้นตอนที่ 3 ปฏิบัติการสร้างคุณลักษณะพุทธจิตวิสัย</li> <li>รูปแบบพุทธจิตวิสัยเพื่อส่งเสริมจิตอาสาของเครือข่ายเสริมสร้างวัคซีนใจในชุมชนภายใต้สถานการณ์วิกฤติ เป็นแบบจำลองของขั้นตอนการพัฒนาคุณลักษณะพุทธจิตวิสัย 3 ขั้นตอน โดยใช้โมดูลกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะพุทธจิตวิสัย 4 โมดูล</li> </ol>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/276818
การพัฒนาตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทย
2024-04-05T10:14:03+07:00
พุทธชาติ แผนสมบุญ
phumngam9999@gmail.com
สุวัฒสัน รักขันโท
noonsuwat@gmail.com
โกศล จึงเสถียรทรัพย์
phumngam9999@gmail.com
เชน นคร
phumngam9999@gmail.com
<p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทย 2. เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทย 3. เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้วิธีวิจัยผสานวิธี (Mixed Methods) 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 17 คน ระยะที่ 3 การวิจัยเชิงปริมาณโดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 538 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบวัดภูมิคุ้มกันทางใจและทักษะชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคสามเส้า (Triangulation) และ QDAT Knowledge (6’C : Quality Data Analysis Technic) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและการตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (Lisrel)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะของเยาวชนที่มีทักษะชีวิตมี 5 ประการคือ มีทักษะการคิด มีทักษะการจัดการอารมณ์ มีทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร มีทักษะการแก้ปัญหา และตระหนักรู้และเห็นคุณค่าของตนและผู้อื่น 2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทย มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยสำคัญและมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลที่จะนําไปสู่การมีทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทย ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะของเยาวชนที่มีภูมิคุ้มกันทางใจ 2) ปัจจัยภายใน และ 3) ปัจจัยโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาตัวบ่งชี้ภูมิคุ้มกันทางใจเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 104.06, df = 84, p = .068, GFI = .978, AGFI =.959, RMR =.2783) อธิบายความแปรปรวนของการมีทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทย ได้ร้อยละ 88.00 และปัจจัยภายใน ได้ร้อยละ 50.00 แสดงว่า คุณลักษณะของวัยรุ่นที่มีภูมิคุ้มกันทางใจและปัจจัยภายใน สามารถส่งเสริมให้เกิดการมีทักษะชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพุทธจิตวิทยาสำหรับเยาวชนในสังคมไทย</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/273644
โปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน
2023-12-23T23:25:37+07:00
พระมหาญาณภัทร อติพโล
areepoy2@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องและนิเวศภาวนาเพื่อสังเคราะห์แนวคิดพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนา 2. เพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะและปัจจัยของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน 3. เพื่อพัฒนาและประเมินโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีและการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขยายผลวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ เยาวชนโรงเรียนมัธยมวัดสำนักคร้อ กําหนดตัวอย่างโดยใช้โปรแกรม G*Power ได้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดเจตคติและความตระหนักรู้สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าไม้ของเยาวชนและโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนาเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนสำหรับเยาวชน วิเคราะหข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (two – way repeated measures ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>แนวคิดพุทธจิตวิทยาวิถีนิเวศภาวนา คือ แนวคิดบูรณาการหลักพุทธธรรมไตรสิกขาและหลักพุทธธรรมปรโตโฆสะร่วมกับทฤษฎีจิตวิทยาและแนวคิดนิเวศภาวนา 2. คุณลักษณะและปัจจัยของโปรแกรมพุทธจิตวิทยาวิถีวิถีนิเวศภาวนา คือ 1.การเห็นความงาม 2. การเห็นคุณค่า 3. การเกิดความกลัวว่าป่าไม้จะหมดไป 4. การเกิดความตั้งใจจะอนุรักษ์ 3. ผลการทดลองโปรแกรมเกิดพฤติกรรมสิ่งแวดล้อมคือ เจตคติและความตระหนัก 4 ด้าน พบว่า เยาวชนลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ ผลวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้เกิดพฤติกกรรมสิ่งแวดล้อมในการอนุรักษ์ป่าไม้ซึ่งนำไปสู่การอนุรักษ์ป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อไป</li> </ol>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/270217
ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของนักศึกษาพยาบาลของสถาบันพระบรมราชชนก
2023-07-19T16:15:06+07:00
ทิพภา ปุณสีห์
tippa.ting@gmail.com
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
laocup@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความเข้มแข็งทางใจของนักศึกษาพยาบาล 2. เพื่อศึกษาปัจจัยบุคคล ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย เงินที่ได้ต่อเดือนและปัจจัยพุทธจิตวิทยา ได้แก่ ขันติ โสรัจจะ การเห็นคุณค่าในตัวเอง กับความเข้มแข็งทางใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 3 แห่ง ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลบุคคล แบบสอบถามความเข้มแข็งทางใจ แบบสอบถามขันติ โสรัจจะ แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ อัลฟาครอนบาค ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.864 จำแนกเป็น 1) ความเข้มแข็งทางใจ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.94 2) ขันติ โสรัจจะ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.801 3) การเห็นคุณค่าในตนเอง ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.843 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1. ความเข้มแข็งทางใจ ขันติ โสรัจจะ และการเห็นคุณค่าในตนเอง อยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.90, S.D. = 0.74; <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.77, S.D. = 0.84; <img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.67, S.D. = 0.81) ตามลำดับ 2. ปัจจัยบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย เงินที่ได้รับต่อเดือน ไม่สัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( P = 0.004, 0.001, 0.000 และ 0.000) ตามลำดับ ปัจจัยพุทธจิตวิทยา ได้แก่ ขันติ โสรัจจะ การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจในระดับปานกลาง-ระดับมาก (P =0.570, 0.498 และ 0.649) ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/272330
ปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่เป็นตัวทำนายภูมิคุ้มกันทางใจ ของบุคลากรโรงพยาบาล
2023-10-12T14:06:50+07:00
อดิศวร สุขพันธ์ุถาวร
adisuan@gmail.com
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
kamalas2013@gmail.com
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
maytawee_udo@dusit.ac.th
<p> </p> <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยพุทธจิตวิทยาที่มีอิทธิพลในการทำนายภูมิคุ้มกันทางใจ 2. เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพุทธจิตวิทยากับภูมิคุ้มกันทางใจ 3. เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันทางใจ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูกจาก กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงพยาบาลไทรน้อย จำนวน 144 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ปัจจัยทางพุทธจิตวิทยามีอิทธิพลในการทำนายระดับภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีด้วยกัน 3 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการทำนายมากที่สุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ความยืดหยุ่น การรับรู้ตามความเป็นจริง และการมองโลกในแง่ดี โดยปัจจัยทั้ง 3 นี้ สามารถร่วมกันทำนายภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรโรงพยาบาล ได้ร้อยละ 43.9</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพุทธจิตวิทยากับภูมิคุ้มกันทางใจของบุคลากรโรงพยาบาล พบว่า ปัจจัยพุทธจิตวิทยา ได้แก่ สติและจิตวิทยาเชิงบวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภูมิคุ้มกันทางใจในระดับน้อยถึงปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>บุคลากรโรงพยาบาล มีระดับภูมิคุ้มกันทางใจโดยรวม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.63, S.D. = .338) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเข้มแข็งทางใจ (อึด) (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.76, S.D. = .394) อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านสามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค (สู้) (<img title="{\bar{x}}''" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?{\bar{x}}''" /> = 3.66, S.D. = .446) อยู่ในระดับมาก และด้านศรัทธาและกำลังใจที่ดี (อึด) (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.33, S.D. = .437) อยู่ในระดับปานกลาง</li> </ol>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/276849
การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกมเพื่อเสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา
2024-04-07T12:41:54+07:00
ชนกานต์ ขาวสำลี
mk2616@outlook.co.th
สุมน ไวยบุญญา
sumon@aru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกมเพื่อเสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา 2. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้ และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Method) โดยนำข้อมูลที่ได้จากปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิมาวิเคราะห์ในประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา </p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเกมเพื่อเสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า เกมที่ควรนำมาใช้กับเด็กประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหว ควรเป็นเกมที่ส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวไปพร้อมกับการฝึกทักษะการคิด และนำไปสู่ทักษะกีฬาเบื้องต้นของเด็กประถมศึกษา รูปแบบมีทั้งการแข่งขันเป็นแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม ควรเป็นเกมที่มีกฎ กติกา และเงื่อนไขในการเล่นง่าย ไม่ซับซ้อน เกมต้องให้เด็กมีความสนุกสนาน 2. เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการ พัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษา ควรประกอบด้วยปัจจัย ดังนี้ 1) เพิ่มทักษะความรู้ของครู 2) ศึกษารายละเอียดของเกมประเภทต่าง ๆ 3) ทำการสร้างเกม 4) กำหนดระยะเวลาในการเล่นเกม 5) การประเมินผล 3. เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาเกมที่เสริมสร้างสมาธิในการเรียนรู้ และส่งเสริมสมรรถนะทางการเคลื่อนไหวของเด็กประถมศึกษาผลการวิจัยพบว่า ประเภทของเกมที่นำมาใช้สำหรับเด็กประถมศึกษา มีดังนี้ คือ 1) เกมการเล่น 2) เกมกีฬา 3) เกมแบบกลุ่ม ครูผู้สอนควรเลือกใช้เกมให้เหมาะสมกับวัย, ความปลอดภัย เกมควรมีลักษณะการฝึกสมาธิให้กับเด็กเพื่อพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/276868
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึก
2024-04-08T22:30:00+07:00
กมลลักษณ์ นิกรฐา
ketwadi.ked@gmail.com
ประภาส เพ็งพุ่ม
brapaasp@nu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึก เรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึก และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึก รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและสอบหลัง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกเรื่อง คำยืมภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง คำยืมภาษาต่างประเทศด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบฝึก 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่อง คำยืมภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแบบฝึก เรื่อง คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และหาประสิทธิภาพของของแบบฝึก เรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า </p> <ol> <li>การสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึก เรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) พบว่า มีค่า ประสิทธิภาพ (E1 /E2) เท่ากับ 81.95/82.92 แสดงให้เห็นว่าการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเรื่องคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80</li> <li>ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึก พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 14.58 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.88 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ</li> <li>ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับแบบฝึก ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด </li> </ol>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277107
การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD
2024-04-22T22:19:44+07:00
ธีรพงษ์ มั่นศรี
theerapongm.tms@gmail.com
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์
kritthayakarn@nu.ac.th
<p> การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. เปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD 2. เปรียบเทียบทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านวังศาล จำนวน 12 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การทดสอบหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 23.08 คิดเป็นร้อยละ 76.93 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ 4MAT ร่วมกับ STAD พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.63 S.D. = 0.67)</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277417
ผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยา ต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง
2024-05-08T15:16:35+07:00
สุพรรษา กุลวรรณ
supansakunlawan@gmail.com
กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์
kamalas2013@gmail.com
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
Supansakunlawan@gmail.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง เป็นวิธีวิจัยแบบผสมผสานใช้รูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียว (One-group pretest -posttest design) วัดผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการให้การปรึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสงฆ์ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งระยะที่ 1-2 มีอายุระหว่าง 40-70 ปี การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 10 ราย โดยให้การปรึกษา คนละจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 45-60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาครั้งนี้ คือ แบบบันทึกการให้การปรึกษารายบุคคล และแบบประเมินการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบเครื่องหมายของวิลคอกซัน เพื่อทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยของการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาต่อการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็ง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า ผลคะแนนการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งหลังการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยามากกว่าก่อนการให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อวิเคราะห์ค่าคะแนนรายด้าน พบว่า ด้านความต้องการด้านร่างกาย ด้านความต้องการด้านอัตมโนทัศน์ ด้านความต้องการด้านบทบาทหน้าที่ และด้านความต้องการด้านการพึ่งพาอาศัย หลังการทดลองมีมากกว่าก่อนการทดลองในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า การให้การปรึกษารายบุคคลตามแนวพุทธจิตวิทยาช่วยส่งเสริมการปรับตัวในผู้ป่วยมะเร็งให้เข้าใจตนเองและเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277448
การพัฒนาแบบทดสอบออนไลน์วัดบุคลิกภาพด้านจริต 6 ตามแนวพุทธศาสนา
2024-05-08T15:42:50+07:00
ณัฐธนนท์ หงส์วริทธิ์ธร
nuttanon@tu.ac.th
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
zoon_wkm@hotmail.com
พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ
jbp.mcu@gmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างแบบทดสอบออนไลน์บุคลิกภาพด้านจริต 6 และ 2. เพื่อพัฒนาหาคุณภาพของแบบทดสอบที่สร้างขึ้นและสร้างตะแนนมาตรฐาน T สำหรับจำแนกจริต 6 พัฒนาแบบทดสอบจากลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของแต่ละจริต สร้างเป็นข้อคำถาม ผ่านการตรวจสอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่านเพื่อคำนวณหาค่าความถูกต้องตามเนื้อหาด้วยค่าดัชนีค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องและวัดความคงที่ภายในด้วยวิธีการหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เครื่องมือแบบประเมินบุคลิกภาพจริต 6 มีจำนวน 64 ข้อ นำเครื่องมือที่ได้ทำเป็นออนไลน์ ประชากรของงานวิจัยนี้ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีสามารถอ่านภาษาไทยได้และสามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลผู้ที่มีความสนใจที่จะรู้จักตนเองและสามารถเข้าถึงอินเทอร์เนตได้ในเขตกรุงเทพ ปริมณฑล และเขตเมือง เครื่องมือแบบทดสอบออนไลน์วัดบุคลิกภาพจริต 6 ที่ได้ไปสำรวจด้วยวิธีการที่ผู้วิจัยกระจายให้กับผู้รู้จักเพื่อให้นำไปกระจายต่อใปในเครือข่ายผ่านสื่อออนไลน์ (Virtua snowball sampling) ได้กลุ่มผู้ตอบแบบทดสอบทั้งหมด 654 คนจากสูตรคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน โปรแกรม Excel และ PSPP นำมาใช่ในการคำนวณทางสถิติ คำนวณหาสถิติพรรณนา คำนวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐาน Z (Z score) และคะแนนมาตรฐาน T (T score) ใช้คะแนนมาตรฐาน (T-score) สูงสุดจากคะแนนจริตทั้ง 6 ด้านเป็นตัวระบุจริตของบุคคลนำเสนอออกมาในรูปแผนภูมิแท่งตามคะแนนมาตรฐานที ผลการดำเนินการวิจัยบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้เครื่องมือเป็นแบบทดสอบออนไลน์วัดบุคลิกภาพจริต 6 ที่สามารถระบุจริตเด่นของบุคคลและจริตทั้ง 6 ด้านโดยแสดงออกมาในรูปของกราฟแท่ง</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/276865
การพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
2024-04-08T13:05:58+07:00
ชนาภา กันทะวัง
chanaphabb@gmail.com
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์
chanaphak65@nu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 5 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 172 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" />) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบ t-test dependent</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.50/76.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75</li> <li>ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</li> <li>ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาการการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากขึ้นไป</li> </ol>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/277477
ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับคุณลักษณะนักขาย ที่ประสบความสำเร็จตามแนวพุทธจิตวิทยา
2024-05-19T07:15:56+07:00
นันทพร จงสุขกิจพานิช
nattch_u@hotmail.com
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์กับคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยา 2. เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความฉลาดทางอารมณ์และคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยา การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นกลุ่มนักขายในองค์กรเอกชน จำนวน 385 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Cochran (1977) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test การทดสอบค่า F-test และค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร</p> <p> ผลการวิจัยพบว่า</p> <ol> <li>นักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยามีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.02) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการตระหนักรู้ตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.10) รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจ (<img style="font-size: 0.875rem;" title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.09) ด้านความสามารถทางสังคมหรือทักษะทางสังคม (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.05) ด้านการควบคุมตนเอง (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 4.01) และด้านการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (<img title="\bar{x}" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\bar{x}" /> = 3.85) ตามลำดับ</li> <li>ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่านักขายที่มี เพศ การศึกษา ตำแหน่งงาน อายุการทำงาน มีคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยาในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ในส่วนของอายุนักขาย การเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า มีคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยา ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</li> <li>ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ความฉลาดทางอารมณ์และคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยา พบว่า ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ การศึกษา อายุงานและความฉลาดทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 โดยพบว่า คุณลักษณะนักขายที่ประสบความสำเร็จตามหลักพุทธจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์มากที่สุด (<em>r </em>= .875) รองลงมาได้แก่ ระดับการศึกษา (<em>r </em>= .302) อายุการทำงาน (<em>r </em>= .202) และอายุ (<em>r </em>= .116) ตามลำดับ</li> </ol>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/270213
หลักการสอนสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ โดยสมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เพื่อพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา
2023-08-03T17:07:59+07:00
ชลัฐธร อุไรพงษ์ ณ อยุธยา
chaladtornouripong@gmail.com
เมธาวี อุดมธรรมานุภาพ
maytawee_udo@dusit.ac.th
วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา
chaladtornouripong@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาหลักการสอนสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ โดย สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) และศึกษาพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธศาสตร์และจิตวิทยา 2. เพื่อสังเคราะห์หลักการสอนสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ โดย สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เพื่อพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา 3. เพื่อนำเสนอหลักการสอนสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ โดย สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร) เพื่อพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงมาให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 17 รูป/ท่าน เครื่องมือที่นำมาใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างปลายเปิด มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดค่าความตรงตามเนื้อหา (CVI ) และหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามรายข้อกับวัตถุประสงค์ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย ด้านจิตวิทยา ด้านพุทธศาสตร์ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค 6’C ยืนยัน 3 เส้า (Triangulation) และทำการสนทนากลุ่ม (Focus Group) นักศึกษาสมาธิของสถาบัน ฯ ในสาขาที่ 92 จำนวน 24 ท่าน</p> <p> ผลการศึกษาสังเคราะห์ พบว่า 1.หลักการสอนสมาธิส่งผลให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติสมาธิได้ด้วยตนเองตามแนวทางของสถาบัน ฯ 2. จากการศึกษาสังเคราะห์หลักการสอนสมาธิเป็นการพัฒนาจิตปัญญาอันเป็นเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง 3. นักศึกษาในหลักสูตรมีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความสงบภายใน มีสติ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาหลักการสอนสมาธิที่เป็นการพัฒนากาย พัฒนาใจ พัฒนาอารมณ์ สังคม ความคิดและสติปัญญาเพื่อพัฒนาชีวิตตามแนวพุทธจิตวิทยา</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/275384
-
2024-02-19T10:47:09+07:00
Kraiwitch Chinayos
virujchinayos@gmail.com
<p>-</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/269032
-
2023-07-19T14:30:12+07:00
- -
utejaniya2009@gmail.com
- -
utejaniya2009@gmail.com
- -
utejaniya2009@gmail.com
<p>-</p>
2024-06-12T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์