การพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย

ผู้แต่ง

  • กมลลักษณ์ ทนันไชย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • ทรงภพ ขุนมธุรส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การอ่านวิเคราะห์, การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอคิตะ, สื่อมัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย ตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนก่อนและหลังจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน โรงเรียนสตรีศรีน่าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย 2) แบบวัดความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

            ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.64/80.42 2. นักเรียนมีความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

จิราพร ขวัญธนเจริญ, อภิชาต พยัคฆิน และ ธัชทฤต เทียมธรรม. (2565). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวอะคิตะที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 13(2), 38-48.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ณัฐกร สงคราม. (2557). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา พืชเพียร, สุนิตย์ตา เย็นทั่ว และ ปวริศา จรดล. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค SQ4R กับเทคนิค KWL PLUS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2), 183-192.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์, เฉลิมชัย มนูเสวต และวาสนา วิสฤตาภา. (2562). ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้การสอนเชิงรุกอาคีตะโมเดลในประเทศไทย. วารสารบัณฑิต ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 92-106.

เพ็ญศิริ ซื่อสัตย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยประยุกต์ใช้แนวการสอนของจังหวัดอะคิตะ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

รัตน์ติกานต์ เพนเทศ. (2558). ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปาที่มีต่อการเรียนรู้ และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ภาษาถิ่นเมืองเพชรบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2553). คู่มือการอ่านคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : นวสาส์นการพิมพ์.

สถาพร ปุ่มเป้า. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดี เรื่องนิราศภูเขาทอง โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

สุชาติ คุ้มสิทธิ์. (2561). Akita Model : การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. จุลสารคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 6(10), 19-20.

สุภาพร พิมพ์บุษผา. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยประยุกต์ใช้วิธีการสอนเชิงรุกของจังหวัด อะคิตะ (Akita Action) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคําแหง. กรุงเทพฯ.

สุวิทย์ มูลคำ. (2553). กลยุทธ์...การสอนคิดวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-21

How to Cite

ทนันไชย ก., ขุนมธุรส ท., & โตพิทักษ์ ก. (2024). การพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีเรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกแบบอะคิตะร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย . วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 197–213. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/279265

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่