ข้าราชการครูกับวัยเกษียณที่ภาคภูมิตามแนวพุทธจิตวิทยา

ผู้แต่ง

  • สายันต์ ขันธนิยม หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจิตวิทยา, วัยเกษียณ, อัตตา, สัมมาทิฏฐิ

บทคัดย่อ

            บทความเรื่อง “ข้าราชการครูกับวัยเกษียณที่ภาคภูมิตามแนวพุทธจิตวิทยา” เป็นการนำเสนอถึงทัศนคติ พฤติกรรมและการเตรียมตัวสู่วัยเกษียณอายุมีการเตรียมตัวที่สำคัญ ดังนี้ เตรียมกาย ยอมรับการเสื่อมโทรมของร่างกายที่เป็นไปตามวัย เตรียมใจ ยอมรับว่าเมื่อเกษียณอายุราชการแล้วบทบาท หน้าที่ต่าง ๆ ในชีวิตลดลง การเตรียมทางด้านสังคม ช่วยเหลือและเป็นแบบอย่างให้กับสังคม มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและมีการวางแผนด้านการเงิน การใช้จ่ายให้คุ้มค่าและเกิดผลประโยชน์มากที่สุด

            ในวัยหลังเกษียณ เรื่องการปรับตัว ปรับอารมณ์ ทั้งเชิงบวก เชิงลบและการวางแผนการใช้ชีวิตที่ดี จะช่วยให้ปัญหาต่าง ๆ ลดน้อยลง การลดอัตตาสู่สัมมาทิฎฐิ คือความเห็นชอบจะเติมอุดมปัญญาตามหลักไตรสิกขา ด้วยการรักษาศีล การเจริญสมาธิ ส่งผลให้คุณครูสู่วัยเกษียณที่ภาคภูมิ เกิดอุดมปัญญานำพาชีวิต พร้อมรับสถานการณ์ในการใช้ชีวิตประจำวันจากเดิมมาเป็นการเปลี่ยนวิธีคิด ทำความเข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง อยู่กับตนเองและปัจจุบันมากขึ้น เป็นคุณครูดีหลังวัยเกษียณได้อย่างมีความสุข

References

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. (2559). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร สูงวัยในศตวรรรษที่ 21: การเฉลิมฉลองและความท้าทาย. กรุงเทพฯ: กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติและองค์การเฮล์พเอจ อินเตอร์เนชั่นแนล.

ครูเชียงรายดอทเน็ต. (2563). ลักษณะของครูที่ดีที่เป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียน และสังคมไทย. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก ttps://shorturl.asia/g7vPz

จารุนันท์ สมบูรณ์สิทธิ์. (2535). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร กิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็ก). มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.

ไทยรัฐออนไลน์. (2567). 3 เรื่องต้องเตรียมพร้อม ก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2773673

บุญเทือง โพธิ์เจริญ. (2551). ความสุขที่คุณสร้างได้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฐานบุ๊ค.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัทรพร อ่อนไสว. (2544). แนวทางการพัฒนาบริการสังคมเพื่อเตรียมการให้กับสตรีโสดก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ยนต์ ชุ่มจิต. (2553). ความเป็นครู (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิไลลักษณ์ ลังกา. (2560). อนาคตภาพของคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560-2569). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11(1), 36-50.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). คู่มือ เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://shorturl.asia/0MKvJ

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ. (2565). การเตรียมตัวของครูสู่วัยเกษียณอายุ. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.oic.go.th/INFOCENTER5/587/

อธิวัฒน์ อุต้น. (2566). เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด. สืบค้น 31 พฤษภาคม 2567, จาก https://urbancreature.co/aged-society/

Burnside, I.M. (1988). Nursing and Ages. New York: McGraw-Hill Book.

Maria Orlando. (2566). คุณลักษณะ 9 ประการของครูที่ดี. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.ost.co.th/article/11/teachers

World Health Organization. (2567). Global Age-Friendly Cities: A Guide. สืบค้น 21 พฤษภาคม 2567, จาก https://shorturl.asia/CAbzO

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ขันธนิยม ส. . (2024). ข้าราชการครูกับวัยเกษียณที่ภาคภูมิตามแนวพุทธจิตวิทยา. วารสารจิตวิทยาพุทธศาสตร์ประยุกต์เพื่อสังคม, 10(2), 393–410. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/278735