การพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ

ผู้แต่ง

  • ชนาภา กันทะวัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การอ่าน, วิจารณญาณ, การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL), แบบฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ตามเกณฑ์ 75/75 2. เปรียบเทียบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ 3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 5 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 172 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนประชาสงเคราะห์วิทยา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะพัฒนาความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบ t-test dependent

             ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.50/76.67 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
  2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาการการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากขึ้นไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

แขไข จันทร์บวร. (2562). การพัฒนาความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(2), 179-186.

จุฑาธิป เปลาเล. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning PBL) (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

ถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล. (2561). การอ่านให้เก่ง (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ภาพพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. 2563. ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวันรัตน์ ศรีพรหม. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์เรื่อง พันธะเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร .พิษณุโลก.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการงการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: สํานักพิมพ์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2018. สืบค้น 28 สิงหาคม2566, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/.

อนุสรา พุ่มพิกุล (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่เน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่มีต่อสมรรถนะการออกแบบวิธีการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย

หมวดหมู่