การพัฒนาแบบฝึกการจดจำคำศัพท์ด้วยกลยุทธ์ช่วยจำภาษาอังกฤษ ระดับ A2 ตามกรอบ CEFR สำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • วัชรีพร เวียงสมุทร หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความจำ, คำศัพท์, กลยุทธ์, ความรู้, ภาษาอังกฤษ, ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาแบบฝึกการจดจำคำศัพท์ด้วยกลยุทธ์ช่วยจำ ภาษาอังกฤษระดับ A2 ตามเกณฑ์ Common European Framework of Reference (CEFR) 2. ศึกษาการพัฒนาการจดจำคำศัพท์ของผู้เรียนโดยใช้แบบฝึกการจดจำคำศัพท์ด้วยกลยุทธ์ช่วยจำ และ 3. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนในกิจกรรมฝึกจดจำคำศัพท์ด้วยกลยุทธ์ช่วยจำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีเครื่องมือวิจัยเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพได้แก่ 1) แบบฝึกการจดจำคำศัพท์ด้วยกลยุทธ์ช่วยจำภาษาอังกฤษระดับ A2 จำนวน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ช่วยจำแบบร่างกาย แบบคำสำคัญ แบบโลไซ และแบบเรื่องราว 2) แบบทดสอบการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษในระดับ A2 และ 3) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและค่าประสิทธิภาพ E1/E2  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

             ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกการจดจำคำศัพท์ด้วยกลยุทธ์ช่วยจำภาษาอังกฤษระดับ A2 ตามเกณฑ์ Common European Framework of Reference (CEFR) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.52/80.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) การจดจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังได้รับการสอนโดยแบบฝึกการจดจำคำศัพท์ด้วยกลยุทธ์ช่วยจำ ภาษาอังกฤษระดับ A2 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 ของนักเรียนทั้งหมด และนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75 ของนักเรียนทั้งหมด และในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 81.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 3) ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยกลยุทธ์ช่วยจำแบบต่าง ๆ โดยผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน รู้สึกเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อการจดจำ รู้สึกมีความสุข และรู้สึกเป็นสิ่งแปลกใหม่ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถนำกลยุทธ์ช่วยจำแบบต่าง ๆ ประยุกต์ใช้ในการจดจำคำศัพท์และเนื้อหาในรายวิชาอื่น คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา คอมพิวเตอร์ และประวัติศาสตร์ และสุดท้ายผู้เรียนได้เรียนรู้ทักษะเพิ่มเติมคือ ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการพูด

References

กนกวรรณ ดอนกวน และ อภิราดี จันทร์แสง. (2565). การพัฒนาทักษะการพูดและการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิดีโอยูทูบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 477-494.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือแนวทางทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามความเข้มข้น 3 ระดับสากล. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กิตติพิชญ์ คำแผ่นจิรโรจน์ และ สิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงและการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Mnemonics. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 175-192.

ณัฐนนท์ ภู่ตระกูล, ทัศนีย์ จันติยะ, สุภิญญา ปัญญาสีห์, จิราภรณ์ กาแก้ว, โชคชัย เตโช, และ ศศิธร ศรีพรหม. (2564). การพัฒนาการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเกมประกอบการสอนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University, 11(3), 91-97.

ดิสพงษ์ อัมภาผล. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้ แบบเน้นภาระงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 16(75), 150-156.

ตลับเพ็ชร์ หทัยพล. (2559). ประสิทธิผลของกลยุทธ์ช่วยจำในการสอนคำศัพท์ที่พบบ่อย: กรณีศึกษาของรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทน โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ธีร์วรา ปลาตะเพียนทอง และ ภัทร์ธีรา เทียนเพิ่มพูล. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านคำศัพท์และความคงทน โดยใช้เทคนิคช่วยจำร่วมกับสมุดภาพคำศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 533-547.

นฤมล แว่วสอน (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ปัญจลักษณ์ ถวาย (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่เรียนโดยใช้แบบฝึกกิจกรรมเพิ่มพูนคำศัพท์ร่วมกับการอ่าน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ปรียารัตน์ ศรีชัยวงศ์. (2564). วัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจในยุค ศตวรรษที่ 21: มองผ่านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2679-2689.

พระหน่อแสง อคฺคเสโน. (2564). อิทธิพลของคำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย. วารสาร มจร อุบล ปริทรรศน์, 6(2), 791-800.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น, อภินันต์ อันทวีสิน และวรนุช ตรีวิจิตรเกษม. (2563). การบริหารหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานของสหภาพยุโรปของนักเรียนระดับประถมศึกษาสังกัด โรงเรียนเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. Journal of Arts Management, 5(1), 118-133.

ศุภนิช มั่งมีศรี, นภาทรัพย์ เลิศปรีดากร และวรวุฒิ ตัถย์วิสุทธิ์ (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยนิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ (หน้า 808). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สอนประจันทร์ เสียงเย็น. (2564). ผลของการใช้การเสริมแรงทางบวกเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนอุดม (เนยอุปถัมภ์). วารสาร มจรบาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(3), 15-26.

อัณณ์ชญาณ์ อินต๊ะเทพ. (2557). ผลการใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Akpan, J., Notar, C. E. & Beard, L. (2021). The Impact of Mnemonics as Instructional Tool. Journal of Education and Human Development, 10(3), 20-28.

Costuchen, A. L. & Dimitrova, D. (2022). Roman Palace: A Videogame for Foreign-Language Vocabulary Retention. IJET, 17(05), 87-102.

Fasih, P., Izadpanah, S. & Shahnavaz, A. (2018). The effect of mnemonic vocabulary instruction on reading comprehension of students. International Journal of Applied Linguistics and English Literature, 7(3), 49-59.

Honeyfield, J. (1977). Word frequency and the importance of context in vocabulary learning. RELC journal, 8(2), 35-42.

Lado, R. (1988). Language Teaching: Teaching English Across Cultures. New York: McGraw.

Lubis, B. N. A., & Syahputri, D. (2022). Mnemonic Device Technique Increase Students’ Vocabulary Mastery. Indonesian Journal of Education, Social Sciences and Research (IJESSR), 3(1), 28-33.

Mukhtoraliyevna, Z. S., & Madaminkhonqizi, S. M. (2022). Methods of mnemonics in pedagogical work with elementary school students. International Journal of Culture and Modernity, 13, 44-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27